ราคาพลังงานเริ่มสร้างความกังวลเศรษฐกิจชะงัก (Stagflation)

ราคาพลังงานเริ่มสร้างความกังวลเศรษฐกิจชะงัก (Stagflation)

สถานการณ์ยูเครน-รัสเซียที่ยืดเยื้อทำให้ราคาพลังงานยังปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ราคาน้ำมันดิบปรับขึ้นแตะ 125-130 ดอลลาร์ฯ/บาร์เรล

จากผลของ 1) การหายไปของน้ำมันดิบรัสเซียที่เป็นผู้ผลิตหมายเลข 2 ของโลก (ซึ่งรวมถึงการที่หลายประเทศชะลอการซื้อน้ำมันจากรัสเซียเพราะปัญหาของการชำระราคา หรือกังวลต่อมาตรการคว่ำบาตรที่อาจจะตามมา) 2) ความต้องการใช้น้ำมันที่อาจจะเพิ่มสูงขึ้น จากการปรับเส้นทางบินใหม่ หลังรัสเซียห้ามสายการบินประเทศที่คว่ำบาตร บินผ่านน่านฟ้า 3) ข่าวรัสเซียหยุด หรือชะลอส่งก๊าซผ่านท่อ Yamal-Europe  ซึ่งทำให้อุปทานพลังงานในยุโรปตึวตัวเป็นอย่างมาก // ดังนั้นราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์จะยังมีแนวโน้มทรงตัวในระดับสูง จนกว่าสถานการณ์ความขัดแย้งในยูเครนจะเริ่มคลี่คลาย หรือมีอุปทานใหม่ (เช่น จากการยกเลิกคว่าบาตรอิหร่าน) เข้ามาช่วยลดภาวะตึงตัวดังกล่าว ราคาหุ้นกลุ่มพลังงานอาจผันผวนแต่จะยังเป็นตัวเลือกที่สามารถเก็งกำไรได้อีกระยะ โดยเฉพาะ PTTEP, BANPU, TOP

สิ่งที่จะช่วยลดความกังวลเศรษฐกิจชะงักงัน (Stagflation) คือการหยุดยิงหรือเฟดส่งสัญญาณ ตลาดพันธบัตรส่งสัญญาณหลายประการที่บ่งชี้ถึงความกังวลของนักลงทุนต่อภาวะเศรษฐกิจชะงักงัน (Stagflation) ที่อาจเกิดขึ้นจากเงินเฟ้อที่สูง ซึ่งสถานการณ์รวมจะคล้ายกับภาวะเศรษฐกิจในช่วงปีค.ศ.1970 (พ.ศ.2513) ซึ่งสินทรัพย์ที่เคลื่อนไหวดีในช่วงดังกล่าวคือ สินค้าโภคภัณฑ์, ทองคำ และสินทรัพย์ที่สร้างกระแสเงินสดในระดับสูง อาทิ กองรีทส์ สิ่งที่จะช่วยลดความเสี่ยงหรือความกังวลจากปัจจัยข้างต้นได้แก่ 1) การหยุดยิง หรือยุติสงคราม ที่ชะช่วยให้ราคาพลังงานปรับลดลง (ช่วยลดความเสี่ยงเงินเฟ้อ) หรือ 2) ธนาคารกลางสหรัฐฯ ส่งสัญญาณลดระดับการใช้นโยบายการเงินที่ตึงตัว (ช่วยกระตุ้นการเติบโต) เพื่อหลีกเลี่ยงการเดินสู่เส้นทางของ Stagflation ดังนั้นภาพตลาดในช่วง 1-3 สัปดาห์คาดเผชิญแรงกดดัน ก่อนที่สถานการณ์อาจจะเริ่มดีขึ้น

 

 

ประเด็นเก็งกำไรอื่น 1) กลุ่มพลังงาน PTTEP, BANPU, TOP 2) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เป็นกลุ่มที่มักจะเคลื่อนไหวได้ดีในภาวะเงินเฟ้อ อีกทั้ง valuation ต่ำ และปันผลสูง ทำให้มีโอกาสเห็นการฟื้นตัวของ LH, SPALI, AP, SC, ASW 3) กลุ่มบันเทิง งบโฆษณาที่ฟื้นตัวตามเศรษฐกิจ บวกต่อ ONEE, BEC, WORK, MONO 4) หุ้นเก็งกำไรทางเทคนิค อาทิ WFX, CV, UBE, RAM, IND, MAKRO, CPALL, JAS, BCP, AJ, PTL, PJW, III, TNP 5) กลุ่มอาหารและเกษตร CPF, TU, GFPT, KSL 6) ค่าระวางเรือ PSL, TTA 7) ราคาแป้งสาลี-มันสำปะหลัง TWPC, TMILL, UBE

ภาพรวมกลยุทธ์: ผันผวนทางลง การหลุด 1,680 จุด ทำให้ความเสี่ยงทางลงเปิด โดยมีแนวรับระหว่างทาง 1,650-1,660 และ 1,620 จุด ตามลำดับ กลยุทธ์ ลดน้ำหนักหุ้นเหลือ 40% (จาก 50%) อาจเลือกเก็งกำไรแบบกำหนดตัดขาดทุนในกลุ่มโภคภัณฑ์ และรอซื้อเก็งกำไรที่แนวรับเน้นหุ้นที่ทิศทางการเติบโตของผลประกอบการยังเป็นบวก //หุ้นแนะนำ: PTTEP*, TOP*, UBE*, CBG*

แนวรับ: 1,650-1,660 / แนวต้าน : 1,680 จุด สัดส่วน : เงินสด 60% : พอร์ตหุ้น 40%
 

ประเด็นการลงทุน

จีนปรับลดเป้า GDP ปีนี้เหลือ 5.5% – จีนปรับลดเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจปีนี้ลงสู่ระดับ 5.5% ต่ำสุดในรอบหลายสิบปี ขณะที่พยายามจะพลิกฟื้นเศรษฐกิจในช่วงเวลาที่การทำสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนทำให้ราคาน้ำมันพุ่งขึ้น และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก

ราคาน้ำมันดัน CPI ก.พ.พุ่ง 5.28%สูงสุดรอบ 13 ปี – สนค.รายงานดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) หรืออัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.พ.65 อยู่ที่ระดับ 104.10 ขยายตัว 5.28%YoY จากตลาดคาด 4.0-4.1% ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) อยู่ที่ 102.20 ขยายตัว 1.80%YoY จากสินค้าในกลุ่มพลังงาน รวมถึงสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ที่ปรับสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิตและราคาวัตถุดิบ

WHA – เผยบริษัทอยู่ระหว่างการเจรจาซื้อขายที่ดินกับลูกค้ารายใหญ่กว่า 200 ไร่ คาดหวังว่าจะสามารถเซ็นสัญญาได้ในไตรมาส 1/65 และยังอยู่ระหว่างการเจรจาซื้อขายที่ดินกว่า 300 ไร่กับลูกค้าต่างชาติที่ดำเนินธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้า (EV) รวมถึงกลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมยานยนต์ในไทยที่ขยายธุรกิจเกี่ยวกับรถ EV ด้วย

Opportunity day –7 มี.ค. ALLY, SFT, MICRO, ORI, TTA, MINT, JMART+SINGER, JMT, J, SYNEX, BJC, MC// 8 มี.ค. KUN, EGCO, ILINK, CNT, BPP, BANPU, SSC, SEAFCO, ITEL, JR, GUNKUL, SMD, SICT, TOP // 9 มี.ค. TPBI, JWD, TACC, HARN, AIT, PLANB, PT, PJW, HUMAN, TNITY, PYLON, CRD, PROSPECT

 

ประเด็นติดตาม: 8 มี.ค. – EU GDP 4Q21, 9 มี.ค. – Chinese CPI เดือน ก.พ., 10 มี.ค. – US CPI เดือน ก.พ.

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)