ไม่ง้อนักท่องเที่ยว! สงขลาปั้น ’ผ้ามัดย้อม’ ขายต่างชาติ
เจ้าของร้านขายเสื้อผ้าชายหาดสมิหลา ปรับกลยุทธ์การตลาดปรับเปลี่ยนวิธี เมื่อนักท่องเที่ยวไม่เข้ามา ก็ไปหานักท่องเที่ยวเองโดยการติดต่อตลาดต่างประเทศ ทำผ้ามัดย้อมซึ่งเป็นแฮนด์เมด เมดอินไทยแลนด์ พามาทัวร์ร้าน ดูขั้นตอนการผลิตทำผ้ามัดย้อม จนได้รับการยอมรับ
จากกรณีที่เปิดด่านพรหมแดนสะเดามาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 ไม่มีนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดสงขลา เหมือนที่ผ่านมา เนื่องจากมีการเก็บค่าธรรมเนียมส่วนต่าง ที่เข้ามาในประเทศไทยสูงถึง 6,000- 7,000 บาท ต่อหัว ถ้าตีเป็นเงินไทย ประเด็นที่ 2 อยู่ในช่วงเดือนรอมฎอน ทำให้ร้านขายเสื้อผ้าชายหาดสมิหลา ต้องปรับกลยุทธ์การตลาดปรับเปลี่ยนวิธี เมื่อนักท่องเที่ยวไม่เข้ามา ก็ไปหานักท่องเที่ยวเองโดยการติดต่อตลาดต่างประเทศ ทำผ้ามัดย้อมซึ่งเป็นแฮนด์เมด เมดอินไทยแลนด์ พามาทัวร์ที่ร้าน ดูขั้นตอนการผลิตทำผ้ามัดย้อม จนได้รับการยอมรับ ตอนนี้ทำส่งมีประเทศมาเลเซีย ไต้หวัน จีน order ที่เยอะที่สุดก็มีไต้หวันกับจีน
นางณิชามล ชูมนุษย์ เจ้าของร้านณัชชาของฝาก บริเวณชายหาดสมิหลาสงขลากล่าวว่า สำหรับแรงบันดาลใจที่เข้ามาทำตรงนี้ คือตอนนี้เศรษฐกิจบ้านเรามันไม่ได้หวือหวามาก อะไรที่เราทำได้ ขายได้ตอนนี้ทำ เนื่องจากกำลังเงินของคนไทยจะซื้อได้น้อยมาก เพราะเขาห่วงในเรื่องของการกินกันมากกว่า การดำรงชีพกันมากกว่า
ถ้าเรามองกลับกันตอนนี้ประเทศจีนเศรษฐกิจเขาเป็นอย่างไรเราไม่รู้ แต่กำลังการซื้อเขาเยอะมากๆเยอะจริงๆเขาพูดมาคำหนึ่งว่าถ้าเขาเอฟสินค้าบ้านเรา 5 ตัวแต่ถ้าเขาซื้อบ้านเขาเขาได้เพียงตัวเดียวอันนี้เราเข้าใจเพราะเงินหยวนของจีนตอนนี้แน่นอนอยู่แล้ว
สำหรับการทำผ้ามัดย้อมก็ด้วยใจรัก ชอบและก็ความแตกต่างที่สำคัญเลยก็คือความแตกต่างและใจเราก็อยู่กับตรงนี้ด้วยเป็นคนที่ชอบงานศิลปะเป็นคนที่ชอบทำอะไรที่แปลก คือเมื่อก่อนรับเขามาขาย แล้วเจอคำถามที่ว่า สินค้าที่ไหน ทำที่ไหน เนื่องจากสินค้ามัดย้อมส่วนใหญ่ทำจากภาคเหนือ เขาจะมีสีและเอกลักษณ์ของเขาพอเรารับมาขายภาคใต้คนภาคเหนือมาเที่ยวเขาจะดูออกเขาก็จะพูดอย่าโกหกนะ ดูออกนะ นั่นคือแรงบันดาลใจของเราในเมื่อเรามีวิชาอยู่กับตัว และงานนี้เป็นงานที่เรารักและครอบครัวก็ชอบด้วยในการทำตรงนี้ คือไม่ว่าจะทำอะไรเด็กๆจะชอบหมดโดยเริ่มจากจุดเล็กๆทำผ้าเช็ดหน้าขายผืน 2 ผืนมีคนมาเห็น ตอนนี้งาน order ก็คือเข้ามาเต็มๆ ที่สำคัญก็คือใจต้องรัก
นางณิชามล ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อนักท่องเที่ยวมาเลเซียเข้ามาน้อย เรามีการปรับกลยุทธ์การตลาด เราก็ต้องปรับเปลี่ยนวิธี ในเมื่อนักท่องเที่ยวไม่เข้ามา เราก็ไปหานักท่องเที่ยวเองโดยการติดต่อตลาดต่างประเทศ เนื่องจากเราโชคดีนิดนึง คือว่า มีบริษัททัวร์ที่เมื่อก่อนเราเคยคุยกันจากไกด์ที่นำพานักท่องเที่ยวไปมาไปมาก็เปลี่ยนมาขายสินค้าออนไลน์เพื่อนๆในวงการ ก็คือ การทำผ้ามัดย้อมตัวนี้ แล้วก็ได้เสนอเขาไปว่า อันนี้เป็นงานของประเทศไทย มันเป็นเมดอินไทยแลนด์ เราก็พาเขามาทัวร์ร้านของเราเลย มาดูขั้นตอนการผลิตต่างๆของการทำผ้ามัดย้อมด้วยตัวเขาเอง หลังจากเขามา เขาชอบ เพราะเขาเห็นขั้นตอนในการทำของเรา ทุกอย่างเราใช้ของดีทั้งหมด เขาก็เลยติดต่อเอาตรงนี้ของเรา ไปอยู่เมืองนอก ก็จะมีประเทศมาเลเซียตอนนี้ ไต้หวัน จีน ที่เยอะมากๆตอนนี้ order ที่เยอะที่สุดก็มีไต้หวันกับจีน เพราะงานไปเข้าตาเขา
เนื่องจากเขาถือเป็นงาน handmade งานแฮนด์เมดของเรา ประเทศไทยอาจจะราคาไม่สูงมาก เพราะเขาคิดว่ามันแค่เป็นงานทำกับมือธรรมดา แต่สำหรับพวกเขาคืองานที่สำคัญ อะไรที่เป็นแฮนด์เมด เมดอินไทยแลนด์มันจะเพิ่มมูลค่าได้เยอะมาก
แต่ที่เราขายหน้าร้านจริงๆเราขาย 380, 400, 500, 600 บาท เราส่งไปขายบ้านเขาสามารถขายได้ตัวเป็นพันเลย มันก็เป็นผลดีกับเราซึ่งเราสามารถใช้ของดีได้
ตอนนี้ที่ทำส่งมีไต้หวันจีนมาเลเซียเกาหลีใต้นิดนึงแต่ไม่เยอะแต่ส่วนใหญ่จีนกับไต้หวันจะเยอะมาก สำหรับสินค้าที่ทำส่ง ส่วนมาก เป็นงานมัดย้อมมีทุกอย่าง เสื้อกางเกง ผ้าเช็ดหน้า ผ้าผูกผม ผ้าคลุม ทุกอย่าง อะไรที่เป็นเกี่ยวกับเรื่องการแต่งตัวจะมีหมด