ธุรกิจพันล้าน กับสินค้าที่ต้องมีคู่ครัวไทย
เมื่อพูดถึงอาหารไทย ยกตัวอย่างเมนูที่ทั่วโลกต้องรู้จักอย่าง ต้มยำกุ้ง แกงเขียวหวาน หรือเมนูประจำวันของคนไทยอย่างผัดกะเพรา เสิร์ฟพร้อมพริกน้ำปลา วัตถุดิบหลักคู่ครัวของคนไทยที่ขาดไม่ได้เลย คือ พริก และกระเทียม
เปรียบเสมือนวัฒนธรรมอาหารไทยที่มีกลิ่นหอมรสจัดจ้าน ซึ่งเป็นจริงตามคำกล่าวของคุณฮัว (ศุภกร ใจบูชาศักดิ์) ผู้ก่อตั้งบริษัท JNTT นำเข้าและจำหน่ายพืชผลทางการเกษตรว่า “ทุกมื้อต้องมีใช้สินค้าของผมแน่นอน”
วันนี้ได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณฮัว ผู้ก่อตั้งบริษัท JNTT บริษัทนำเข้าพืชผลทางการเกษตร เช่น พริกแห้ง และอื่น ๆ จากประเทศอินเดีย เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย กิจการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมียอดขายเป็นอันดับต้นๆ ภายในระยะเวลา10 กว่าปีที่ผ่านมา
คุณฮัวจึงได้เล่าจากจุดเริ่มต้นว่า เติบโตมากับครอบครัวค้าขายในตลาดไท โดยเริ่มจากคุณแม่ รับมะนาวจากสวนที่บ้านต่างจังหวัด และพืชผักอื่น ๆ มาขาย เป็นที่รู้จักกันในชื่อ “เจ๊ไน๊ตลาดไท” และนี่จึงเป็นที่มาของชื่อบริษัท JNTT
คุณฮัวเห็น pain point ของการขายผักสดมาโดยตลอด คือ มีอายุสั้น เมื่อผักใบเหี่ยว หรือ มะนาวเหลือง ก็ขายไม่ได้ราคา ลูกค้าก็ไม่เลือกซื้อ แต่สังเกตได้ว่าสินค้าอย่าง พริกแห้ง กระเทียมอยู่ได้เป็นเดือนโดนไม่เน่าเสีย
บวกกับได้รับแรงบันดาลใจจากร้านค้าที่ในตลาดไทที่มีการ stock สินค้าเหล่านี้จำนวนมาก ๆ จึงมั่นใจว่าอย่างไรก็ขายได้แน่นอน
คุณฮัวจึงเริ่มก่อตั้งบริษัท JNTT นำเข้าวัตถุดิบจากประเทศอินเดีย ขายส่งทั่วทั้งประเทศไทย รวมถึงส่งให้โรงงานซอส-น้ำจิ้มชั้นนำของประเทศ และยังมีการขายให้กับผู้ส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว เมียนมา กัมพูชาอีกด้วย
เดิมทีก็ขายสินค้าในประเทศไทย นำผลผลิตจากเชียงใหม่ ตั้งร้านขายส่งที่ตลาดไท แล้วจึงมาขยาย Volume การซื้อขาย ขยายโกดังสินค้า ขยายห้องเย็นเก็บสินค้าที่จังหวัดปทุมธานี บริษัท JNTT มีส่วนช่วยและส่งเสริมสินค้าของเกษตรกรไทย
เช่น สั่งซื้อมะขามจากเกษตรกรมากถึง 1,000 ตัน มีการกระจายรายได้และส่งเสริมอาชีพสู่ชุมชน ด้วยการส่งกระเทียมกลีบไปแกะ หรือส่งพริกไปเด็ดขั้ว เป็นต้น
คุณฮัวยังกล่าวอีกว่า อาชีพหลักของประชากรไทยยังคงเป็นเกษตรกร สินค้าการเกษตรไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก แต่ยังขาดการสนับสนุนที่ดี
ทั้งนี้ สินค้าเกษตรก็มีระยะเวลาในการเก็บเกี่ยว เช่น พริก หอม กระเทียมได้แค่ปีละครั้ง เกษตรกรจึงหันไปปลูกพืชที่ได้ราคาสูงอย่าง เช่น ทุเรียน มากกว่า
เมื่อพูดถึงกระเทียมไทยเปรียบเทียบรสชาติกับกระเทียมต่างประเทศ ก็ต้องยอมรับว่าของไทยเผ็ดและหอมอร่อยกว่า แต่ด้วยผลผลิตที่ไม่เพียงพอต่ออุปสงค์ในตลาด และราคาที่สูงกว่าของต่างประเทศ อีกทั้งกระเทียมไทยลักษณะกลีบเล็ก แกะเปลือกได้ยาก ผู้ขายอย่างคุณฮัว จึงต้องหาทางตอบโจทย์ตลาดในจุดนี้
คุณฮัว (ศุภกร ใจบูชาศักดิ์)
การดำเนินธุรกิจของคุณฮัว ที่เริ่มต้นเองตั้งแต่อายุ 20 จนปัจจุบันผ่านมา 10 กว่าปีมานี้ เรียกได้ว่าโตอย่างก้าวกระโดด แม้ช่วงวิกฤตโควิด -19 บางธุรกิจต้องหยุดชะงักไป แต่บริษัท JNTT กลับเป็นช่วงที่เติบโตอย่างมาก เนื่องจากเป็นจังหวะที่ทุกคนต้องทำงานอยู่บ้าน ต้องประกอบอาหารเอง
คุณฮัวกล่าวเสริมว่าประจวบเหมาะกับได้รับการสนับสนุนจากธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งมีส่วนสำคัญไม่แพ้กัน ทั้งเรื่องวงเงินสินเชื่อเพื่อการค้าต่างประเทศสำหรับขยายการเติบโตของธุรกิจ ทั้งพื้นที่การจัดเก็บสินค้า Volume การซื้อขาย และด้วยเป็นธุรกิจนำเข้า วงเงินการจองค่าเงินอัตราแลกเปลี่ยนก็มีมูลค่าไม่น้อย
อีกทั้งผลิตภัณฑ์ของธนาคารที่ตอบโจทย์การใช้งาน นอกจากนี้ยังมีผู้จัดการธุรกิจสัมพันธ์ที่ช่วยดูแลแนะนำให้คำปรึกษาเสมือนเพื่อนคู่คิด ดังคำเปรียบจากคุณฮัวว่า
“เจ้าของธุรกิจเปรียบเหมือนเพชร หากวางบนพื้นก็แค่หินก้อนหนึ่ง แต่ถ้ามีฐานที่เป็นทองคำรองรับไว้เช่นธนาคาร เพชรจะมีมูลค่ามากขึ้นด้วย อันนี้เป็นจุดสำคัญ ทุกอย่างช่วยเหลือกัน”
ด้วยวิสัยทัศน์ และการ มองหาตลาดใหม่ๆอยู่เสมอ ใช้ Social Media ให้แบรนด์ของ JNTT เป็นที่รู้จัก สร้างความน่าเชื่อถือจนแบรนด์ติดตลาด ในอนาคตมีความตั้งใจจะนำพาธุรกิจเข้าตลาดหลักทรัพย์ ส่งออกสินค้าไปประเทศอื่น ๆ และตั้งใจอยากมีส่วนช่วยเหลือเกษตรกรไทยให้ได้มากกว่านี้
ด้วยความไม่หยุดเรียนรู้ และปรับตัวอยู่เสมอจึงไม่พลาดที่จะคำนึงถึงการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนตามแนวคิด ESG ในส่วนของห้องเย็นสำหรับ Stock สินค้ามีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ทดแทนพลังงานไฟฟ้าอีกด้วย
คุณฮัวกล่าวปิดท้ายว่า กว่าธุรกิจจะมาถึงจุดนี้ไม่ง่าย ต้อง Active ตลอดเวลา หากเมื่อไรที่รู้สึกเบื่อหรือหมดพลัง ให้พักก่อนแล้วกลับมาสู้กันใหม่ และครอบครัวก็เป็นแรงบันดาลใจสำคัญ
บริษัท JNTT เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่เล็งเห็น Pain point พลิกโอกาสสู่ SME Game Changer นอกจากการบริหารธุรกิจอย่างชาญฉลาดแล้วนั้น สิ่งที่ส่งเสริมให้ธุรกิจเติบโตก็คือการสนับสนุนทางการเงินที่ดีจากธนาคาร และผลิตภัณฑ์ การบริการที่ตอบโจทย์การใช้งานของผู้ประกอบการ.