เปิดชีวิตวิศวกรคุมแท่นปิโตรเลียม ภารกิจกลาง “ทะเลนอร์เวย์”

เปิดชีวิตวิศวกรคุมแท่นปิโตรเลียม ภารกิจกลาง “ทะเลนอร์เวย์”

เปิดการดำเนินชีวิตของเหล่าวิศวกรคุมแท่นแหล่งปิโตรเลียม “Draugen” กับภารกิจท้าทายกลางทะเลเหนือประเทศนอร์เวย์ ซึ่งหลายคนอาจสงสัยว่าในการออกไปประจำการปฏิบัติภารกิจแต่ละครั้งต้องไปกี่วัน และในแต่ละวันต้องทำอะไรบ้าง

“กรุงเทพธุรกิจ” พามาตามติดชีวิตการทำงานของเหล่านักปฏิบัติการกับการดำเนินชีวิตที่ต้องตัดขาดจากครอบครัว โลกบนพื้นดินเป็นเวลาหลายวัน หลายเดือน หลายปี ให้สามารถใช้ชีวิตผ่านพ้นไปแบบไม่จำเจและก้าวผ่านไปได้ด้วยดีในแต่ละวัน และสามารถดึงเอาทรัพยากรใต้พื้นน้ำทะเลออกมาได้อย่างต่อเนื่อง

เปิดชีวิตวิศวกรคุมแท่นปิโตรเลียม ภารกิจกลาง “ทะเลนอร์เวย์” นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจากและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทบางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานกรรมการ OKEA กล่าวว่า แหล่ง “Draugen” เป็นแหล่งปิโตรเลียมที่ OKEA รับช่วงต่อมาจากเชลล์ ถือเป็นแท่นปิโตรเลียมเดียวในโลกที่ถูกออกแบบมาด้วยขารองรับแท่นเดียว โดยแท่นปิโตรเลียมที่เห็นทั่ว ๆ ไป แม้แต่ในประเทศไทยจะมี 3 ขา

เปิดชีวิตวิศวกรคุมแท่นปิโตรเลียม ภารกิจกลาง “ทะเลนอร์เวย์” โดยการออกแบบให้มีขาเดียวพร้อมกับการใช้ซีเมนต์ห่อหุ้มความคงทนจะมีราคาค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า เนื่องจากสภาพภูมิอากาศของประเทศนอร์เวย์มีอากาศที่หนาวเย็น อยู่ในใจกลางทะเลเหนือที่มีความผันผวน และยิ่งเข้าสู่ฤดูหิมะตกจะมีลมแรง น้ำทะเลคลื่นที่สูงมากจากระดับน้ำทะเลปกติ 250 เมตร ขึ้นมาถึงระดับที่ 270 เมตร

“รุ่นนี้ถือเป็นแรกที่ออกแบบมาเพื่อความมั่นคง การที่ข้างนอกห่อหุ้มด้วยซีเมนต์จะมีความคงทนกว่าการออกแบโดยใช้เหล็กห่อหุ้มพอสมควร โดยปัจจุบันหลาย ๆ ที่เริ่มใช้ซีเมนต์แล้ว แต่การออกแบบให้มีขาเดียวมีที่แหล่ง Draugen เพียงที่เดียว มีปริมาณการผลิต 15,000-17,000 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน ”

เปิดชีวิตวิศวกรคุมแท่นปิโตรเลียม ภารกิจกลาง “ทะเลนอร์เวย์” และไตรมาสที่ 4/2567 จะเปิด Hasselmus แหล่งย่อยที่เป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติ เชื่อมต่อกับ Draugen (Production จะถือเป็นส่วนหนึ่งของ  Draugen) คาดว่าจะมีปริมาณการผลิตรวม 25,000-27,000 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน และมีโอกาสที่จะสามารถเติบโตได้ 1-2 เท่าเป็น 40,000-60,000 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า

โดยทุกๆ 28 วัน จะมีเรือน้ำมันมารับน้ำมันไปส่งโรงกลั่นของเชลล์ 1 ลำเรือ ในปริมาณ 1 ล้านตัน โดยวิศวกรที่แท่นปิโตรเลียม Draugen จะแบ่งออกเป็นวันละ 3 กะการทำงาน โดยมีรอบการทำงานอยู่เกือบ 100 คน เพื่อจะใช้ชีวิตอยู่ในทะเลเหนือนี้ 2 สัปดาห์ และกลับขึ้นฝั่งไปใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวอีก 4 สัปดาห์ถึงจะกลับมาปฏิบัติหน้าที่อีกครั้ง

เปิดชีวิตวิศวกรคุมแท่นปิโตรเลียม ภารกิจกลาง “ทะเลนอร์เวย์” นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า แหล่ง Draugen นอกจากจะถูกออกแบบมาให้มีความพร้อม แข็งแรงทนทานแล้ว หลักการทำงานยังต้องมีความปลอดภัยสูง โดยภายหลัง บางจากเข้ามาเป็นหุ้นส่วนใหญ่ พบว่า เหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดจากการที่พ่อครัวของแท่นโดนมีดบาดนิ้ว และการเกิดลมพายุพัดแผ่นผ้ามาตกกระทบ เป็นต้น

สำหรับการทำงานภานในแท่นDraugen  ได้ถูกออกแบบเป็นสัดส่วน อาทิ ห้องควบคุมการทำงาน ห้องรวมพลหากเกิดกรณีฉุกเฉิน เรือดำน้ำ ห้องอาหาร ห้องนอน ห้องเอ็นเตอร์เทนเมนท์ รวมถึงห้องออกกำลังกายที่เสมือนยกยิมสถานออกกำลังกายย่อมๆ มาจัดวางไว้ ฯลฯ ที่จัดสรรแต่ละห้องแต่ละแผนกได้ครอบคลุมครบตามความต้องการในการใช้ชีวิตประจำวัน

“การมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีการจัดสรรเวลาบวกกับความรับผิดชอบ และการคุมเข้มทางด้านมาตรฐานความปลอดภัยของ OKEA ทำให้ทีมงานทุกคนที่อยู่บนแท่น Draugen มีสุขภาพชีวิตที่ดี ได้ผ่อนคลายตามความชื่นชอบตามความเหมาะสมของตัวเอง

เปิดชีวิตวิศวกรคุมแท่นปิโตรเลียม ภารกิจกลาง “ทะเลนอร์เวย์” สำหรับการเดินทางมายังแท่น Draugen นั้น ผู้ปฏิบัติงานจะต้องนั่งเฮลิคอปเตอร์จากสนามบิน “Helikopter Terminal” โดยใช้เวลาเดินทางประมาณ 30 นาทีจากสนามบินจนถึงแหล่งปิโตรเลียม “Draugen”

ทั้งนี้ แหล่ง Draugen ถือปีเป็นแหล่งปิโตรเลียมที่ไม่ทำให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังได้รับการชมเชยจากกรัฐบาลนอร์เวย์ในด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมได้ดี ตอบโจทย์การดำเนินธุรกิจที่มุ่งเป้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนปี 2030 และเป้าหมาย Net Zero ปี 2050 ของบางจากได้ดี