จากใจหญิงแกร่ง “จิราพร” แม่ทัพ “OR” กับแพลนชีวิตวัย “เกษียณ”
จากใจหญิงแกร่ง “จิราพร” แม่ทัพคนแรกแห่ง “OR” กับแพลนชีวิตวัยหลัง “เกษียณ” ที่จะเริ่มต้นขึ้นวันที่ 1 ต.ค. 2565
เมื่อถึงวัยที่จะต้องเกษียณ เชื่อว่าหลายต่อหลายคนคงว่างแผนชีวิตภายหลังการพักผ่อนจากการทำงาน บ้างก็เที่ยวรอบโลก บ้างก็จะใช้เวลาที่เหลืออยู่เพื่อใช้วิชีตที่เหลือได้อยู่กับครอบครัวภายหลังจากที่ต้องเหน็ดเหนื่อยกับการทำตลาดมาค่อนชีวิต
หรือแม้แต่บางคนที่นอกจากจะวางแผนชีวิตอยู่กับครอบครัวแล้ว ยังมีกลุ่มก๊วน กลุ่มเพื่อนที่แบ่งแยกเป็นกลุ่ม ๆ อาทิ กลุ่มการศึกษา กลุ่มการทำงาน กลุ่มนักสังคม ยิ่งเป็นระดับผู้บริหารระดับสูงมักต้องมีการเปิดหลักสูตรระดับผู้บริหารโดยเฉพาะมาให้เลือกสรรอีกมากมาย
น.ส.จิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.น้ำมันและค้าปลีกจำกัด(มหาชน) หรือ OR กล่าวว่า สิ่งแรกที่จะทำในวันที่ 1 ต.ค. 2565 คือ
1. การได้ตื่นนอนอย่างเป็นอิสระ เพราะตลอดชีวิตการทำงานจะต้องคิดตลอดเวลา บางครั้งเมื่อคิดงานออกแล้วก็จะสั่งงานโดยพิมพ์ข้อความไปฝากไว้กับลูกน้องทันที หากเรื่องไหนสำคัญและด่วนก็อาจจะมีการกำกับโน๊ตไว้ให้ทราบ แต่อันไหนไม่ได้จะต้องเร่งรีบก็เพียงแต่ส่งข้อความไว้กันลืม เพราะเนื่องจากมีหลายอย่างที่ต้องคิด
2. ปลูกต้นไม้ จัดสวนตามความชอบ เนื่องจากที่บ้านชอบธรรมชาติ ตลอดระยะเวลาไม่ค่อยได้มีเวลาดูแลใส่ใจในการจัดทำสวนแบบที่ฝันมากมายเท่าไหร่ ดังนั้น ปลูกต้นไม่จึงเป็นอีกข้อที่จะต้องใช้เวลาอยู่กับการดูแลใส่ใจมากเป็นพิเศษ และ
3. ออกกำลังกาย อาทิ การโยคะ เป็นต้น ส่วนจะนั่งทำงานเป็นที่ปรึกษาที่ไหนต่อหรือไม่นั้น ยังบอกไม่ได้ แต่ที่บอกได้แน่ ๆ และชัดเจนคือ ไม่รับทำงานให้กับคู่แข่งธุรกิจของกลุ่ม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT อย่างแน่ใจ
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ทำงานวันแรกจนถึงปัจจุบัน ผลงานที่ทำแล้วภูมิใจมากที่สุด คือ 1. การเปลี่ยนคู่สัญญาทั้งของพลันกงานกว่า 1.5 พันคน และคู่สัญญาของสถานีบริการน้ำมันพีทีที สเตชั่น เป็นครั่งแรกของลูกค้าและพนักงานเปลี่ยนสถานภาพมาเป็นพนักงานโออาร์ หมายถึง ความน่าถือและน่าจะเชื่อใจในตัวโออาร์
2. การ IPO บนสถานการณ์โควิด-19 เกิดปัญหาเศรษฐกิจและกระทบกับปากท้อง นโยบายคนละครึ่งของรัฐบาลก็ยังไม่ แต่โออาร์นั้นประสบความสำเร็จจากการเปิด IPO
สำหรับความกังวลใจตลอดระยะเวลาทำงานที่โออาร์หรือแม้แต่ก้าวต่อไปของโออาร์นั้น ยืนยันว่าไม่มีความกังวลใด ๆ เนื่องจากการทำงานของโออาร์ทำงานเป็นทีม มีความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกันว่า ทำเพราะอะไร เพื่ออะไร และเพื่อเหตุผลอะไร ดังนั้น แม้ว่าข้างหน้าจ้องมีการเปลี่ยนแปลงและทุกคนมีทิศทางไปทางเดียวกัน ทุกคนที่เป็นซีอีโอจะต้องแบกครอบครัวของพนักงานน พาร์ทเนอร์ เพื่อพาก้าวไปอย่างยั่งยืน
“การบริหารงาน 4 ปีที่ผ่านมา สิ่งสำคัญคือการสร้างความเข้าใจให้กับทุกฝ่าย หากยังมีข้อแคลงใจก็ต้องชี้แจงเพื่อที่จะผ่าทุกปัญหาไปให้ได้ ดังนั้น วิธีการคิดต้องมองว่าประเทศเป็นอย่างไร และโออาร์อยู่ในระดับไหน”
สำหรับการส่งต่อภารกิจให้ซีอีโอโออาร์คนใหม่ภายหลังจะต้องหมดวาระการทำงานวันที่ 30 ก.ย. 2565 นั้น คือการสานต่อธุรกิจในอนาคตจากโออาร์ OR (Oil and Retail) เป็น RO (Retail and Oil) ตามสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลง จากธุรกิจพลังงานน้ำมันหรือฟอสซิลสู่ยุคพลังงานสะอาดพร้อมทั้งรองรับพฤติกรรมการบริโภคคนยุคใหม่ในอนาคต
รวมทั้งตั้งเป้าที่จะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon-Neutrality) และบรรลุการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Carbon) ภายในปี 2593 และสร้างการเติบโต สร้างอาชีพ และการกระจายความมั่งคั่งสู่คู่ค้า ผู้ถือหุ้น ผู้ประกอบการขนาดย่อม พนักงาน และชุมชนมากกว่า 1 ล้านราย ผ่านการเติบโตโดยการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจเป็นหลัก
อีกทั้งต้องมีวิสัยทัศน์สอดคล้องกับพันธกิจทั้ง 4 ด้าน คือ การสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจพลังงานแบบผสมผสานเพื่อการเคลื่อนที่อย่างไร้รอยต่อ (Seamless Mobility) การสร้างทางเลือกสำหรับการดำเนินชีวิตอย่างครบวงจรเพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตทุกรูปแบบ (All Lifestyles) การขยายฐานธุรกิจเพื่อสร้างความสำเร็จและการยอมรับในตลาดโลก (Global Market) และการแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อยกระดับสู่นวัตกรรมในแบบฉบับของ OR (OR Innovation)เพื่อผลักดันให้นำไปสู่เป้าหมายปี 2030
พร้อมกับ Transform ธุรกิจสู่ Inclusive Growth Platform สร้างการเติบโตร่วมกันทั้งอีโค่ซิสเต็มเติมเต็มโอกาสเพื่อทุกการเติบโตร่วมกันกับทุกภาคส่วน และต้องมองหาธุรกิจใหม่เพื่อพัฒนาต่อยอดธุรกิจท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก พร้อมเติบโตไปร่วมกับพันธมิตรผ่านการดำเนินธุรกิจแบบ Triple Bottom Line ที่ให้ความสำคัญกับ 3P หรือ สังคมชุมชน (People) สิ่งแวดล้อม (Planet) และผลประกอบการ (Performance)