นักวิเคราะห์คาดดอลลาร์สิงคโปร์แข็งแกร่ง ขานรับแบงก์ชาติคุมเข้มการเงิน
ดอลลาร์สิงคโปร์กลายมาเป็นสกุลเงินที่มีความยืดหยุ่นต่อดอลลาร์สหรัฐมากที่สุดในเอเชียในปีนี้ โดยนักกลยุทธ์บางรายคาดการณ์ว่า ดอลลาร์สิงคโปร์จะแข็งค่ามากยิ่งขึ้น หากแรงกดดันเงินเฟ้อผลักดันให้ธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) คุมเข้มนโยบายการเงิน
ทั้งนี้ สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า โกลด์แมนแซคส์ ซิติกรุ๊ป และเอ็มยูเอฟจีแบงก์อยู่ในกลุ่มสถาบันการเงินที่มีมุมมองเชิงบวกต่อสกุลเงินดอลลาร์สิงคโปร์ โดยได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ว่า MAS จะเพิ่มการคุมเข้มนโยบายการเงินที่การประชุมเดือนต.ค. เพื่อสกัดเงินเฟ้อพื้นฐานที่แตะระดับสูงสุดในรอบ 14 ปีเมื่อเดือนก.ค.
นายเจฟฟ์ เอ็ง นักกลยุทธ์ด้านอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินของเอ็มยูเอฟจีแบงก์ในสิงคโปร์ระบุว่า เอ็มยูเอฟจีแบงก์คาดการณ์ว่า ความเป็นไปได้ที่ MAS จะคุมเข้ม
การคาดการณ์ดังกล่าวมีขึ้นในขณะที่สกุลเงินสำคัญเกือบทุกสกุลอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เดินหน้าวงจรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเชิงรุก อย่างไรก็ตาม แม้จุดยืนของ MAS ได้ผลักดันให้ดอลลาร์สิงคโปร์กลายเป็นผู้ชนะในกลุ่มสกุลเงินในเอเชีย แต่ดอลลาร์สิงคโปร์ยังคงปรับตัวลดลงกว่า 4% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐในปีนี้
นายเจฟฟ์ เอ็ง นักกลยุทธ์ด้านอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินของเอ็มยูเอฟจีแบงก์ในสิงคโปร์ระบุว่า เอ็มยูเอฟจีแบงก์คาดการณ์ว่า ความเป็นไปได้ที่ MAS จะคุมเข้มนโยบายการเงินเพิ่มเติมในเดือนหน้านั้นอยู่ที่ 50% ซึ่งหมายความว่าดอลลาร์สิงคโปร์อาจแข็งค่าขึ้นกว่า 1% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐตลอดช่วงหลายเดือนข้างหน้า
MAS นั้นรับมือกับเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นด้วยการกำหนดกรอบสกุลเงินดอลลาร์สิงคโปร์ให้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินที่ประกอบด้วยสกุลเงินของคู่ค้าสำคัญของสิงคโปร์ โดยแตกต่างไปจากธนาคารกลางส่วนใหญ่ที่ใช้อัตราดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา
ทั้งนี้ โดยปกติแล้ว MAS จะปรับนโยบายการเงินผ่านการกำหนดกรอบอัตราแลกเปลี่ยน 3 ด้านด้วยกันซึ่งได้แก่ ความชัน (Slope), ค่ากลาง (Mid-Point) และความกว้าง (Width) ของกรอบอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนด (Policy Band) หรือที่เรียกว่า Nominal Effective Exchange Rate (NEER)