กอนช. สั่ง รับมือพายุ “โนรู”เข้าไทย 29 ก.ย.นี้ หวั่น อีสาน – กลาง อ่วม

กอนช. สั่ง รับมือพายุ “โนรู”เข้าไทย 29 ก.ย.นี้ หวั่น อีสาน – กลาง อ่วม

กอนช. บัญชาการศูนย์ส่วนหน้าฯ ภาคอีสาน จ.อุบลราชธานี และภาคกลาง จ.ชัยนาท ย้ำข้อสั่งการ “พลเอก ประวิตร” ระดมสรรพกำลังทหาร พลเรือน เครื่องจักรเครื่องมือ ระบบสื่อสาร การอพยพช่วยเหลือประชาชนพร้อมรับสถานการณ์พายุ “โนรู”ล่าสุด จ่อเข้าอีสาน 29 ก.ย.นี้ คาดกระทบ 38 จังหวัด

วันนี้ (28 ก.ย.65) เวลา 11.00 น.  นาย สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.)  เปิดเผย ในการเป็นประธานการประชุมติดตามสถานการณ์พายุ “โนรู” ร่วมกับ ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ว่า 

 จากการติดตามสถานการณ์พายุไต้ฝุ่น “โนรู” อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามที่เมืองฮานอยในวันนี้เวลา 04.00 น. และเคลื่อนผ่านประเทศลาวตอนล่างก่อนเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทยบริเวณ จ.อำนาจเจริญ และอุบลราชธานีในวันพรุ่งนี้ (29 ก.ย. 65 )

กอนช. สั่ง รับมือพายุ “โนรู”เข้าไทย 29 ก.ย.นี้ หวั่น อีสาน – กลาง อ่วม กอนช. สั่ง รับมือพายุ “โนรู”เข้าไทย 29 ก.ย.นี้ หวั่น อีสาน – กลาง อ่วม

หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน และหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงตามลำดับ คาดว่าจะมีผลกระทบในพื้นที่ต่าง ๆ 38 จังหวัด บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก

ซึ่ง กอนช.ได้มีการเตรียมการมาตั้งแต่ต้นฤดูตาม 13 มาตรการรับมือฤดูฝนไว้ล่วงหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการคาดการณ์ชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมเพื่อให้ข้อมูลหน่วยงานได้เตรียมการในระดับพื้นที่

โดยขณะนี้ได้มีการเน้นย้ำทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งส่วนกลางและระดับพื้นที่พร้อมรับสถานการณ์พายุ “โนรู” ซึ่งถือเป็นพายุลูกแรกที่เข้าสู่ประเทศไทยในปีนี้ ตามข้อสั่งการ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผอ.กอนช. อาทิ

การบริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ – กลาง รวมถึงขนาดเล็กในจุดเสี่ยงต่างๆ การตรวจสอบอาคารชลศาสตร์/ระบบระบายน้ำ สถานีโทรมาตรให้พร้อมใช้งาน เตรียมพร้อม/วางแผนเครื่องจักร เครื่องมือประจำพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ตรวจความมั่นคงและปลอดภัยคัน/ทำนบ/พนังกั้นน้ำ

รวมถึงการให้ข้อมูลจุดเสี่ยงได้รับผลกระทบเพื่อประสานงาน อำนวยความสะดวกจัดเตรียมพื้นที่อพยพและซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ ที่สำคัญ คือ การแจ้งเตือนประชาชนให้เข้าถึงทุกพื้นที่เสี่ยงอย่างต่อเนื่อง การระดมสรรพกำลังทหาร พลเรือน เครื่องจักรเครื่องมือ ระบบสื่อสาร การอพยพช่วยเหลือประชาชนให้ได้รับความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สินมากที่สุด และกลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติให้ได้โดยเร็วที่สุด

“การรับมือพายุโนรูขณะนี้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการเตรียมการรับมือล่วงหน้าให้ได้มากที่สุด เพื่อรองรับปริมาณฝนที่จะตกลงมาเพิ่มเติมแม้จะเป็นข้อจำกัดค่อนข้างมาก เนื่องจากช่วงที่ผ่านมามีปริมาณฝนที่ตกมากระจายตัวในหลายพื้นที่อย่างต่อเนื่อง"

อาทิ การตั้งศูนย์ส่วนหน้าในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคกลาง เพื่อบูรณการบริหารจัดการน้ำการพร่องน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ให้สอดคล้องกับคาดการณ์ปริมาณฝน โดยมีการเตรียมการพร่องน้ำเป็นการล่วงหน้าเพื่อรองรับน้ำ

เช่น เขื่อนป่าสักฯ มีที่ว่างรับน้ำได้ประมาณ 500 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนอุบรัตน์รับน้ำได้อีก 360 ล้าน ลบ.ม. เพิ่มการระบายน้ำของเขื่อนเจ้าพระยาทำให้มีช่องว่างในการรับน้ำได้มากขึ้น การเตรียมการรับน้ำเข้าทุ่งต่าง ๆ ในพื้นที่เจ้าพระยาตอนล่าง ในกรณีที่มีปริมาณน้ำมาก และมีการประสานแจ้งประชาสัมพันธ์การระบายน้ำและการเข้าถึงข้อมูลสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง”

          สำหรับสถานการณ์น้ำภาคอีสานซึ่งเป็นพื้นที่แรกที่จะได้รับอิทธิพลจากพายุ “โนรู”เข้าฝั่งไทย ลุ่มน้ำมูลล่าสุด พว่า มีน้ำล้นตลิ่งในหลายพื้นที่ ได้แก่ อ.พิมาย อ.จักราช จ.นครราชสีมา อ.จอมพระ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ อ.ห้วยทับทัน อ.เมือง
ศรีสะเกษ อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ อ.เมืองอุบลราชธานี อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี และทุกสถานีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

ขณะที่ลุ่มน้ำชีปริมาณน้ำล้นตลิ่งเกือบตลอดแม่น้ำสายหลัก ได้แก่ อ.เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น อ.เมืองโกสุมพิสัย อ.เมืองมหาสารคาม จ.มหาสารคาม อ.จังหาร จ.ร้อยเอ็ด อ.บ้านใหม่ อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร อ.เขื่องใน
จ.อุบลราชธานี

ส่วนสถานการณ์น้ำภาคกลางล่าสุดในลุ่มน้ำป่าสักมีน้ำล้นตลิ่งบริเวณพื้นที่ต้นน้ำป่าสักบริเวณ อ.หล่มสักจ.เพชรบูรณ์ อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ และท้ายน้ำมีปริมาณน้ำเกินความจุลำน้ำอยู่เล็กน้อยและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นขณะที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่สถานีวัดน้ำบริเวณคลองโผงเผงแม่น้ำน้อยแม่น้ำเจ้าพระยาแนวโน้มระดับน้ำยังทรงตัว อย่างไรก็ตาม การเพิ่มการระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยาหากมีการเพิ่มขึ้น

กอนช.ได้เน้นย้ำกรมชลประทานให้มีการแจ้งเตือนประชาชนท้ายน้ำล่วงหน้า รวมถึงระดับน้ำที่คาดว่าเพิ่มสูงขึ้นเพื่อให้ประชาชนยกของขึ้นที่สูงหรือเคลื่อนย้ายทรัพย์สิน หรืออพยพไปยังจุดที่ปลอดภัยได้ล่วงหน้า

          อย่างไรก็ตาม ขอเน้นย้ำในพื้นที่ กทม.และปริมณฑลที่หลายฝ่ายมีข้อห่วงกังวลว่าจะซ้ำรอยเหตุการณ์ปี 2554 นั้น แม้ว่าอาจได้รับผลกระทบจากปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่ แต่จะไม่เหมือนกับปี 2554 ที่ปัญหาน้ำท่วมเกิดจากพายุเข้าประเทศไทยถึง 5 ลูก และมีปริมาณน้ำเหนือที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์มากถึง 3,935 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ลบ.ม./วินาที) และระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาถึง 3,709 ลบ.ม./วินาที (อัตราการะบายสูงสุด 2,840 ลบ.ม./วินาที)

แต่ในปัจจุบันมีปริมาณน้ำที่ไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา 2,100  ลบ.ม./วินาที และสถานีวัดน้ำ C.29A ที่ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 2,738 ลบ.ม./วินาที จากความจุ 3,500 ลบ.ม./วินาที ทำให้ไม่มีโอกาสที่จะมีน้ำเหนือหลากเข้า กทม.และปริมณฑล เหมือนปี 2554  

ส่วนแนวโน้มในระยะใกล้นี้ยังไม่มีสัญญาณพายุเข้าประเทศไทย แต่ กอนช.จะเฝ้าติดตามสถานการณ์พายุอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับประชาชนได้ทันที แต่ก็ยังนิ่งนอนใจไม่ได้ถึงสถานการณ์น้ำในปีนี้เนื่องจากปีนี้ต้องยอมรับว่าปีนี้มีปริมาณฝนมากกว่าปกติ โดยในเดือน ต.ค.จะปริมาณฝนมากในพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ จากนั้นช่วงเดือน ต.ค.- พ.ย.ปริมาณฝนจะตกมากในพื้นที่ภาคใต้ตามลำดับ