"สศช." จับมือ "UNDP" เดินหน้าโครงการ "TPLab" สร้างนวัตกรรมด้านนโยบายประเทศ

"สศช." จับมือ "UNDP" เดินหน้าโครงการ "TPLab" สร้างนวัตกรรมด้านนโยบายประเทศ

สศช.จับมือ UNDP เดินหน้าโครงการนวัตกรรมนโยบายประเทศไทย มุ่งออกแบบนโนบายตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ เตรียมเดินหน้าทดลองอีก 5 นโยบายสำคัญ เช่น นำเอสเอ็มอีเข้าสู่ระบบ  การถ่ายทอดนโยบายสู่ท้องถิ่น และการพัฒนาแพลตฟอร์มนโยบายให้เกิดขึ้น

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในการประชุม คณะกำกับการดำเนินงานโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme) หรือ “UNDP”  ในการดำเนินงานพัฒนาศูนย์นวัตกรรมระดับภูมิภาค กรุงเทพมหานคร – UNDP (Bangkok-UNDP Regional Innovation Center: RIC) ห้องปฏิบัติการนโยบายประเทศไทย (Thailand Policy Lab) หรือ “TPLab”  ร่วมกับนายรีนาร์ด เมเยอร์ (Renaud Meyer) ผู้แทน UNDP ประจำประเทศไทย

 

โดยที่ประชุมได้เห็นชอบแผนการดำเนินงานของ TPLab ในระยะต่อไป ซึ่งได้ให้ความสำคัญกับ

การพัฒนาเครื่องมือกระบวนการรูปแบบใหม่อย่างต่อเนื่อง และมุ่งเน้นการทดลองนโยบาย เพื่อต่อยอดการดำเนินงาน ระหว่างกัน ได้แก่

 

1.ออกแบบนโยบายเพื่อนำ SMEs เข้าสู่ระบบ ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)

2.ขยายผลข้อเสนอเชิงนโยบายสุขภาพจิตที่ได้จากกิจกรรม Hackathon เพื่อการออกแบบนโยบายสำหรับเยาวชนโดยเยาวชนไปสู่ขั้นตอนการทดสอบนโยบาย โดยร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และกรุงเทพมหานคร

\"สศช.\" จับมือ \"UNDP\" เดินหน้าโครงการ \"TPLab\" สร้างนวัตกรรมด้านนโยบายประเทศ

3. จัดทำกรอบการวิเคราะห์และออกแบบนโยบายในเชิงนวัตกรรมสำหรับประเทศไทย (Thailand Innovative Policy Analysis and Design) ที่มุ่งลดช่องว่างการออกแบบนโยบายแบบดั้งเดิม

 

 4.แลกเปลี่ยนเรียนรู้เครื่องมือนวัตกรรมเชิงนโยบาย กรณีศึกษาและแนวปฏิบัติต่าง ๆ จากองค์กรและสถาบันการศึกษาทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ ภายใต้ชื่องาน Policy Innovation Exchange (PIX) ครั้งที่ 3

 

และ 5.อบรมเครื่องมือการคิดเชิงออกแบบสำหรับการกำหนดนโยบายและการบริการสาธารณะโดยร่วมมือกับ Civil Service College Singapore เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐของประเทศไทยได้เรียนรู้และทำความเข้าใจเครื่องมือการคิดเชิงออกแบบ และอบรมกระบวนการออกแบบเชิงระบบและการวิเคราะห์ส่วนประกอบ (System and Portfolio Approach) ในกระบวนการจัดทำนโยบายสาธารณะ โดยร่วมมือกับ Chôra Foundation เป็นต้น

 

 

นายดนุชากล่าวต่อว่าสำหรับผลการดำเนินงานของ TPLab ประจำปี พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา สศช. และ UNDP ได้ขับเคลื่อนและพัฒนานวัตกรรมเชิงนโยบาย โดยการเชื่อมโยงองค์ความรู้และประสบการณ์จากภาคีเครือข่ายการพัฒนา การยกระดับขีดความสามารถของผู้วางแผนนโยบาย และการเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมออกแบบ ทดลอง และสร้างสรรค์นวัตกรรมเชิงนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศในทุกมิติ โดยยึดหลักประชาชนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา (People-centric development) เช่น

 

1.ใช้เครื่องมือเชิงนวัตกรรมในการออกแบบกระบวนการเพื่อปรับระบบประกันสุขภาพให้ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนและต่อยอดไปสู่การจัดทำแผนการดำเนินงานในมิติด้านสุขภาพ โดยความร่วมมือกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

 

2.ออกแบบหลักสูตรของวิชา Selected Topics in Public Administration ร่วมกับคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อเผยแพร่แนวคิดเรื่องการพัฒนานวัตกรรมเชิงนโยบายในสถาบันการศึกษา โดยพัฒนาและต่อยอดมาจากกิจกรรมการส่งต่อความรู้ด้านนวัตกรรมเชิงนโยบายแก่ภาคการศึกษาในปีที่ผ่านมา

 

3. จัดทำกรอบการวิเคราะห์และออกแบบนโยบายในเชิงนวัตกรรมสำหรับประเทศไทย (Thailand Innovative Policy Analysis and Design) ที่มุ่งลดช่องว่างการออกแบบนโยบายแบบดั้งเดิม

 

 4.แลกเปลี่ยนเรียนรู้เครื่องมือนวัตกรรมเชิงนโยบาย กรณีศึกษาและแนวปฏิบัติต่าง ๆ จากองค์กรและสถาบันการศึกษาทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ ภายใต้ชื่องาน Policy Innovation Exchange (PIX) ครั้งที่ 3

 

และ 5.อบรมเครื่องมือการคิดเชิงออกแบบสำหรับการกำหนดนโยบายและการบริการสาธารณะโดยร่วมมือกับ Civil Service College Singapore เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐของประเทศไทยได้เรียนรู้และทำความเข้าใจเครื่องมือการคิดเชิงออกแบบ และอบรมกระบวนการออกแบบเชิงระบบและการวิเคราะห์ส่วนประกอบ (System and Portfolio Approach) ในกระบวนการจัดทำนโยบายสาธารณะ โดยร่วมมือกับ Chôra Foundation เป็นต้น