ชลประทาน มั่นใจ อีอีซี มีน้ำใช้พ้นแล้ง หลังบริหารจัดการระบบอ่างฯพวง
กรมชลประทาน ใช้อ่างฯ พวง บริหารจัดการและแบ่งปันน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออก สนับสนุนการใช้น้ำในเขต EEC ได้อย่างเพียงพอและเป็นธรรม ลดความขัดแย้งด้านน้ำ ช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำได้อย่างยั่งยืน
นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา กรมชลประทานได้บริหารจัดการน้ำในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC (จังหวัดระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา) ด้วยการใช้ระบบโครงข่ายน้ำหรืออ่างฯ พวง มาช่วยในการบริหารจัดการน้ำแบ่งปันน้ำระหว่างลุ่มน้ำ ช่วยลดปัญหาความขัดแย้งและการขาดแคลนน้ำในภาพรวมได้เป็นอย่างมาก
สำหรับฤดูแล้งปี 2565/66 นี้กรมชลประทานได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมาตราการรองรับการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ EEC รวม 8 มาตรการ ดังนี้ 1. ผันน้ำอ่างฯ ประแสร์ - อ่างฯ คลองใหญ่ จ.ระยอง - อ่างฯ หนองปลาไหล จ.ชลบุรี 2 ผันน้ำจากอ่างฯ คลองใหญ่ จ.ระยอง มายังอ่างฯ หนองปลาไหล จ.ชลบุรี
3. สูบกลับคลองสะพานเติม อ่างฯ ประแสร์ 4. การสูบกลับวัดละหารไร่ (แม่น้ำระยอง) มาเสริมปริมาณน้ำให้แก่อ่างฯ หนองปลาไหล 5. การนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดสูบใช้น้ำจากคลองน้ำหู 6. สูบผันน้ำจากคลองพระองค์ไชยานุชิต/คลองชลประทานพานทองมายังอ่างฯ บางพระ 7. สูบผันน้ำจากแม่น้ำบางประกงมายังอ่างฯ บางพระ และ8. ขอความร่วมมือทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างประหยัด
ปัจจุบัน อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางในเขตพื้นที่ EEC มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 870 ล้านลูกบาศก์เมตร( ลบ.ม.) คิดเป็น 55% ของความจุอ่างฯ รวมกัน ภาพรวมสถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์ดีและเพียงพอใช้ตลอดช่วงฤดูแล้งนี้ เป็นการสร้างความมั่นใจได้ว่าตลอดช่วงฤดูแล้ง 2565/66 ในพื้นที่ภาคตะวันออกจะมีปริมาณน้ำเพียงพอใช้ในทุกกิจกรรมอย่างต่อเนื่องไม่ขาดแคลน
เพื่อรองรับความต้องการน้ำในภาคตะวันออกที่คาดว่าจะเพิ่มมากขึ้น ทั้งภาคอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวและการอุปโภคบริโภค กรมชลประทานร่วมกับ สำนักทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง วางแผนดำเนินการพัฒนาแหล่งน้ำ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ปี 63-80 ไว้ทั้งหมด 38 โครงการ ปัจจุบันดำเนินการแล้วเสร็จ 11 โครงการ สามารถเพิ่มปริมาณน้ำรวม 201.19 ล้าน ลบ.ม. ได้แก่
เพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล จ.ระยอง ดำเนินการโดยกรมชลประทาน สามารถเพิ่มปริมาณน้ำ 23.87 ล้าน ลบ.ม. เพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำหนองค้อ จ.ชลบุรี ดำเนินการโดยกรมชลประทาน สามารถเพิ่มปริมาณน้ำ 2.6 ล้าน ลบ.ม.
เพิ่มประสิทธิภาพระบบผันน้ำแม่น้ำบางปะกง-อ่างเก็บน้ำบางพระ จ.ชลบุรี ดำเนินการโดยบริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) สามารถเพิ่มปริมาณน้ำ 20 ล้าน ลบ.ม. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพและปริมาณการจ่ายน้ำท่อส่งน้ำหนองปลาไหล-หนองค้อ จ.ชลบุรี ดำเนินการโดยบริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน)
สระทับมา จ.ระยอง ดำเนินการโดยบริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) สามารถเพิ่มปริมาณน้ำ 47.0 ล้าน ลบ.ม. อ่างเก็บน้ำคลองกระแส จ.ชลบุรี ดำเนินการโดยกรมชลประทาน สามารถเพิ่มปริมาณน้ำ 18.12 ล้าน ลบ.ม. . เพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำมาบประชัน จ.ชลบุรี ดำเนินการโดยกรมชลประทาน สามารถเพิ่มปริมาณน้ำ 0.60 ล้าน ลบ.ม. ศึกษา สำรวจ และประเมินความคุ้นค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลขนาดใหญ่ ในพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ดำเนินการโดยกรมทัพยากรน้ำ สามารถเพิ่มปริมาณน้ำ 12 ล้าน ลบ.ม.
ระบบสูบกลับคลองสะพาน-อ่างเก็บน้ำประแสร์ เส้นที่ 1 จ.ระยอง ดำเนินการโดยกรมชลประทาน สามารถเพิ่มปริมาณน้ำสูงสุด 50 ล้าน ลบ.ม. เพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำคลองหลวง รัชชโลทร จ.ชลบุรี ดำเนินการโดยกรมชลประทาน สามารถเพิ่มปริมาณน้ำ 27 ล้าน ลบ.ม. โครงการก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำดิบอ่างเก็บน้ำคลองหลวง รัชชโลทร-ชลบุรี จ.ชลบุรี ดำเนินการโดยบริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน)
และอยู่ระหว่างดำเนินการ 11 โครงการ ถ้าแล้วเสร็จ จะเพิ่มปริมาณน้ำอีก 116.60 ล้าน ลบ.ม. ในส่วนโครงการที่เหลือ 16 โครงการ จะอยู่ในกลุ่มโครงการที่ต้องขับเคลื่อนซึ่งจะเพิ่มปริมาณน้ำ 554.87 ล้าน ลบ.ม.
ทั้งนี้ เพื่อให้การพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างเสถียรภาพทางด้านน้ำให้กับการอุปโภค บริโภค ภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ยกระดับชีวิตและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน
สำหรับแผนการจัดสรรน้ำฤดูแล้งปี 2565-66 (1 พ.ย.65 – 30 เม.ย.66) ปริมาณน้ำที่ใช้การได้ รวมแผน 2,700 ล้าน ลบ.ม. แยกเป็นใช้เพื่อ อุปโภค-บริโภค 188 ล้าน ลบ.ม. หรือ 7% รักษาระบบนิเวศและอื่นๆ 753 ล้าน ลบ.ม. หรือ28% เกษตรกรรม 1,500 ล้าน ลบ.ม. หรือ 56% อุตสาหกรรม 258 ล้าน ลบ.ม. 9%
ผลการจัดสรร พบว่าปัจจุบันมีการใช้น้ำไปทั้งสิ้น 1,503 ล้าน ลบ.ม. หรือ 56% ของแผน แยกเป็น ด้านอุปโภค-บริโภคใช้น้ำไปแล้ว 117 ล้าน ลบ.ม. หรือ 62% ขงแผน รักษาระบบนิเวศและอื่นๆ ใช้น้ำไปแล้ว 441 ล้าน ลบ.ม.หรือ58% ของแผน
ภาคเกษตรกรรม ใช้น้ำไปแล้ว 816 ล้าน ลบ.ม. 54% ของแผน โดยใช้เพื่อ 1.253 ล้านไร่ ซึ่งดำเนินการไปแล้ว 1.207 ล้านไร่ แยกเป็น ข้าวนาปรัง 4.79 แสนไร่จากแผนที่กำหนดไว้ 4.91 แสนไร่ พืชไร่-พืชผัก 2.1 หมื่นไร่ จากแผน 2.7 หมื่นไร่ และอื่นๆ 7.06 แสนไร่ จากแผน 7.35 แสนไร่