สทนช. เปิดศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าภาคอีสาน รับมืออุทกภัยปลายฤดูฝน
สทนช.บูรณาการทุกหน่วยงานเกาะติด-วิเคราะห์สถานการณ์น้ำภาคอีสาน จ.อุบลราชธานี เตรียมพร้อมรับมืออุทกภัยปลายฤดูฝนปี66 ตั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ประเมินจุดเสี่ยง แจ้งเตือนก่อนเกิดเหตุ ย้ำแผนป้องกันและลดผลกระทบประชาชน
บุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคตะวันเฉียงเหนือ และเป็นประธานการประชุมคณะทำงานอำนวยการบริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 1/2566 ณ สำนักงานชลประทานที่ 7 จ.อุบลราชธานี ร่วมกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมชลประทาน กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กรมทรัพยากรน้ำ กรมประชาสัมพันธ์ และกองบัญชาการทัพไทย เป็นต้น
โดย สทนช.ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าติดตาม ประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำพบว่า ในช่วงวันที่ 26-29ก.ย.66 "หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง"บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง จะเคลื่อนเข้าสู่แนวร่องมรสุมที่พาดผ่านประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ โดยช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกหนักเกิดน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำในบางพื้นที่ของลุ่มน้ำชี-มูล รวมทั้งมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำปริมาณมาก ในอ่างเก็บน้ำจุฬาภรณ์ อุบลรัตน์ ลำปาว ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน ลำแซะ และสิรินธร
จึงมีความจำเป็นต้องบริหารจัดการน้ำโดยพร่องน้ำลงสู่ด้านท้ายน้ำ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังด้านท้ายน้ำ รวมถึงมวลน้ำไหลหลากมาสมทบบริเวณลุ่มน้ำมูล และปัจจุบันได้มีน้ำท่วมขังจากปริมาณน้ำที่ล้นตลิ่งนอกแนวคันกั้นน้ำบริเวณแนวฟันหลอและไหลหลากเข้าท่วมชุมชนพื้นที่ลุ่มต่ำริมลำน้ำ บริเวณ อ.เมืองอุบลราชธานี วารินชำราบ สว่างวีระวงศ์ และพิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
ทั้งนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 9 พฤษภาคม 2566 เห็นชอบมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566 จำนวน 12 มาตรการ โดยมาตรการที่ 8 กำหนดให้มีการดำเนินการจัดตั้งศูนย์ส่วนหน้าก่อนเกิดภัยเพื่อเตรียมความพร้อมและบริหารจัดการสถานการณ์ ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ติดตามประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำและอำนวยการหน่วยงานในพื้นที่บริหารจัดการมวลน้ำในช่วงฤดูฝน ให้เกิดความเป็นเอกภาพจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายโดยเร็ว
สทนช.ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าติดตาม ประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำพบว่า ในช่วงวันที่ 26-29ก.ย.66 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง จะเคลื่อนเข้าสู่แนวร่องมรสุมที่พาดผ่านประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่
โดยช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกหนักเกิดน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำในบางพื้นที่ของลุ่มน้ำชี-มูล รวมทั้งมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำปริมาณมาก ในอ่างเก็บน้ำจุฬาภรณ์ อุบลรัตน์ ลำปาว ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน ลำแซะ และสิรินธร จึงมีความจำเป็นต้องบริหารจัดการน้ำโดยพร่องน้ำลงสู่ด้านท้ายน้ำ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังด้านท้ายน้ำ รวมถึงมวลน้ำไหลหลากมาสมทบบริเวณลุ่มน้ำมูล และปัจจุบันได้มีน้ำท่วมขังจากปริมาณน้ำที่ล้นตลิ่งนอกแนวคันกั้นน้ำบริเวณแนวฟันหลอและไหลหลากเข้าท่วมชุมชนพื้นที่ลุ่มต่ำริมลำน้ำ บริเวณ อ.เมืองอุบลราชธานี วารินชำราบ สว่างวีระวงศ์ และพิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
ทั้งนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 9 พฤษภาคม 2566 เห็นชอบมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566 จำนวน 12 มาตรการ โดยมาตรการที่ 8 กำหนดให้มีการดำเนินการจัดตั้งศูนย์ส่วนหน้าก่อนเกิดภัยเพื่อเตรียมความพร้อมและบริหารจัดการสถานการณ์
ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ติดตามประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำและอำนวยการหน่วยงานในพื้นที่บริหารจัดการมวลน้ำในช่วงฤดูฝน ให้เกิดความเป็นเอกภาพจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายโดยเร็ว