หนี้ครัวเรือนไทยทะลุ 16.2 ล้านล้าน 90.9% GDP 'สภาพัฒน์' จับตาหนี้จำนำทะเบียน

หนี้ครัวเรือนไทยทะลุ 16.2 ล้านล้าน 90.9% GDP 'สภาพัฒน์' จับตาหนี้จำนำทะเบียน

หนี้ครัวเรือนไทยทะลุ 16.2 ล้านล้านบาท 90.9% ของจีดีพี “สภาพัฒน์” แนะจับตาหนี้จำนำทะเบียนรถ หลังพุ่งกว่า 40.2% สะท้อนการขาดสภาพคล่องครัวเรือนไทยรุนแรงขึ้น ชี้เป็นหนี้ที่กู้ง่ายแต่ดอกเบี้ยสูง

หนี้ครัวเรือนไทยทะลุ 16.2 ล้านล้าน 90.9% GDP \'สภาพัฒน์\' จับตาหนี้จำนำทะเบียน

วันนี้ (4 มี.ค.)นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงภาวะสังคมไตรมาส 4 และภาพรวมปี 2566 ว่าหนี้สินครัวเรือนไทยในไตรมาสสาม ปี 2566 มีมูลค่ารวม 16.2 ล้านล้านบาท ขยายตัว 3.3% ซึ่งเป็นการขยายตัวที่ชะลอตัวลงจากไตรมาสเดียวกันของปี โดยมีสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) อยู่ที่ 90.9% ของจีดีพี ขณะที่ด้านคุณภาพสินเชื่อด้อยลงทุกประเภทสินเชื่อ โดยหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) มีมูลค่า 1.52 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนต่อสินเชื่อรวมเป็น 2.79% เพิ่มขึ้นจาก2.71% ในไตรมาสก่อน

 

ทั้งนี้แม้หนี้ครัวเรือนไทยจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง จากการก่อหนี้ที่ลดลงในเกือบทุกประเภทสินเชื่อโดยเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ และรถยนต์ ยกเว้นสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้กำกับที่มีสินทรัพย์ค้ำประกันเป็นรถยนต์ (สินเชื่อจำนำทะเบียน)

หนี้จำนำทะเบียนรถพุ่ง

ซึ่งจากข้อมูลที่ สศช.พบว่าสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้กำกับขยายตัวถึง 15.6% ถือว่าขยายตัวในระดับสูงตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 2564 โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับประเภทที่มีทะเบียนรถเป็นประกันซึ่งในไตรมาสที่ 3 ปี 2566 ขยายตัวเพิ่มถึง 40.2% สะท้อนให้เห็นการขาดสภาพคล่องของครัวเรือนที่รุนแรงขึ้น เนื่องจากเป็นสินเชื่อที่อนุมัติเร็วและง่าย แต่มีอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าสินเชื่อประเภทอื่นๆ และเป็นแนวโน้มจะเป็นทางเลือกสุดท้ายในการกู้ยืมเงินเพื่อเติมสภาพคล่อง

ขณะเดียวกันหนี้เสียของสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับยังขนายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกด้วย โดยมีสัดส่วนต่อสินเชื่อรวมถึง 4% เพิ่มขึ้นจากปลายปีก่อนที่สัดส่วนเพียง 2.4%

 

โดยมีประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ ได้แก่ การติดตามการบังคับใช้หลักเกณฑ์ Responsible Lending และการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ รวมถึงการก่อหนี้ส่วนบุคคลภายใต้การกำกับที่ขยายตัวในระดับสูงและมีหนี้เสียเพิ่มขึ้น ไตรมาสสาม ปี 2566

อย่างไรก็ตาม หนี้สินครัวเรือนมีประเด็นที่ควรให้ความสำคัญ ได้แก่ 1.การติดตามผลของการบังคับใช้หลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรมในการแก้ปัญหาหนี้สิน ครัวเรือน อีกทั้ง ต้องติดตามการเข้ารับความช่วยเหลือของลูกหนี้ โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นหนี้เรื้อรัง

2.การเร่งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องของสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ที่สะท้อนการขาดสภาพคล่องของครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น และ

หนี้ครัวเรือนไทยทะลุ 16.2 ล้านล้าน 90.9% GDP \'สภาพัฒน์\' จับตาหนี้จำนำทะเบียน

3. การติดตามการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดยต้องติดตามความสามารถในการไกล่เกลี่ยหนี้นอกระบบ และอาจต้องผ่อนปรนเงื่อนไขการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดอุปสรรคการให้กู้ยืมกับกลุ่มลูกหนี้นอกระบบควบคู่กับการติดตามความสามารถในการชำระหนี้อย่างต่อเนื่อง

รวมทั้ง ต้องเพิ่มโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระที่มีรายได้ไม่แน่นอน เนื่องจากถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจก่อหนี้นอกระบบได้ในอนาคต