กรมชล นำทีม อรรถกร -พีรพันธุ์ ลุยพื้นที่ตะวันตก เช็คแผนรับมือน้ำท่วม-แล้ง

กรมชล นำทีม อรรถกร -พีรพันธุ์ ลุยพื้นที่ตะวันตก เช็คแผนรับมือน้ำท่วม-แล้ง

อรรถกร ติดตามโครงการ ปตร.คลองอ้อมตัน จ.สมุทรสาคร เร่งแก้ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง ด้าน กรมชลประทาน นำพีรพันธุ์ พร้อมคณะติดตามความก้าวหน้าโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในจังหวัดเพชรบุรี

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยในการลงพื้นที่สถานีสูบน้ำและระบายน้ำคลองอ้อมตัน ตำบลท่าทราย และตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ว่าได้ติดตามความก้าวหน้าการก่อสร้างโครงการประตูระบายน้ำและ สถานีสูบน้ำคลองอ้อมตัน

กรมชล นำทีม อรรถกร -พีรพันธุ์ ลุยพื้นที่ตะวันตก เช็คแผนรับมือน้ำท่วม-แล้ง กรมชล นำทีม อรรถกร -พีรพันธุ์ ลุยพื้นที่ตะวันตก เช็คแผนรับมือน้ำท่วม-แล้ง

โดยพื้นที่ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เป็นพื้นที่ประสบปัญหาด้านการระบายน้ำ และปัญหาน้ำเค็มรุกล้ำเข้าในคลองอ้อมตันและคลองสาขา ในช่วงเวลาที่มีน้ำทะเลหนุนสูงเป็นประจำ ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำ ท่าจีนมีระดับสูงขึ้นมาก และไหลเข้าท่วมพื้นที่บริเวณดังกล่าว ประกอบกับยังไม่มีอาคารควบคุมระดับน้ำ เช่น สถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำ เป็นสาเหตุให้น้ำเข้าท่วมพื้นที่ด้านใน ก่อให้เกิดความเสียหายกับบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรกรมชลประทาน ได้วางแผนดำเนินการก่อสร้างประตูระบายน้ำคลองอ้อมตัน เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว หากดำเนินการแล้วเสร็จ จะสามารถแก้ไขและป้องกันน้ำเค็มจากแม่น้ำท่าจีน รุกล้ำเข้าในคลองอ้อมตัน รวมทั้งป้องกันและบรรเทาปัญหาอุทกภัยในฤดูฝน อีกทั้งยังช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกได้อีกกว่า 8,000 ไร่

ทั้งนี้ได้กำชับให้กรมชลประทานเร่งดำเนินการโครงการดังกล่าว และโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำ อีก 4 แห่ง ที่กำนันตำบลท่าทราย ขอรับการสนับสนุนโครงการฯ เพิ่มเติม เพื่อแก้ไขปัญหา และบรรเทาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชนให้เร็วที่สุด อีกทั้งยังถือเป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านน้ำให้กับพี่น้องชาวสมุทรสาครอีกด้วย ซึ่งเป็นไป ตามนโยบายของรัฐบาล และร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ต้องการเห็นพี่น้องประชาชน มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

กรมชล นำทีม อรรถกร -พีรพันธุ์ ลุยพื้นที่ตะวันตก เช็คแผนรับมือน้ำท่วม-แล้ง

“ความคืบหน้าการก่อสร้างสถานีสูบน้ำและระบายน้ำคลองอ้อมตัน ได้รับรายงานว่าภายในสองเดือนนี้จะแล้วเสร็จ อย่างไรก็ตามประตูระบายน้ำแห่งเดียวยังไม่เพียงพอ จึงต้องเร่งสร้างอีก 4 แห่ง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ แก้ปัญหาช่วงน้ำหลากและน้ำแล้งได้อย่างเป็นระบบ รวมทั้งปัญหาในพื้นที่ที่ประชาชนผู้ใช้น้ำที่ได้นำเสนอ เช่น เขื่อนป้องกันตลิ่ง ความยาว 800 เมตร ที่ชำรุด ได้ฝากกรมชลประทานจังหวัด แก้ไขปัญหาร่วมกับประชาชนในพื้นที่อย่างเร่งด่วน ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์”

 ด้านนายวิทยา แก้วมี รองอธิบดีกรมชลประทาน ร่วมลงพื้นที่ พร้อมกับนายพีรพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมคณะ ลงพื้นที่ติดตามปัญหาภัยแล้ง และติดตามความก้าวหน้าโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในจังหวัดเพชรบุรี พร้อมพบปะเกษตรกรในพื้นที่เพื่อรับฟังปัญหาและมอบแนวทางแก้ไข 

กรมชล นำทีม อรรถกร -พีรพันธุ์ ลุยพื้นที่ตะวันตก เช็คแผนรับมือน้ำท่วม-แล้ง กรมชล นำทีม อรรถกร -พีรพันธุ์ ลุยพื้นที่ตะวันตก เช็คแผนรับมือน้ำท่วม-แล้ง

                 สำหรับโครงการสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าไร่สะท้อน-ไร่โคกพร้อมระบบส่งน้ำ บริเวณหัวงานจะมีการติดตั้งเครื่องสูบน้ำจำนวน 3 เครื่อง ทำหน้าที่สูบน้ำจากคลองส่งน้ำสายใหญ่ 1 ขวา ของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาราชบุรีฝั่งขวา เข้าพื้นที่ โดยจะมีพื้นที่รับประโยชน์กว่า 16,000 ไร่  จากนั้น รองนายกรัฐมนตรีพร้อมคณะ ได้เดินทางไปยังอาคารสำนักงานเทศบาลตําบลหัวสะพาน ตำบลหัวสะพาน อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี เพื่อติดตามโครงการก่อสร้าง ประตูระบายน้ำคลองสามง่าม ตำบลหัวสะพาน อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี และประตูระบายน้ำคลองอรรถสิทธิ์ ตำบลบ้านกุ่ม ตำบลบ้านกุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี จากนั้นได้เดินทางไปยังบริเวณหน้างาน ตามลำดับ

กรมชล นำทีม อรรถกร -พีรพันธุ์ ลุยพื้นที่ตะวันตก เช็คแผนรับมือน้ำท่วม-แล้ง

ทั้งนี้ กรมชลประทาน ได้วางแผนดำเนินโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำอรรถสิทธิ์ เนื่องจาก ประตูระบายน้ำปากคลองเดิมอยู่ในสภาพชำรุดไม่สามารถเปิด-ปิดบานได้ ในฤดูน้ำหลากน้ำจากแม่น้ำเพชรบุรีจะดันเข้าคลอง ส่งผลให้น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ หากโครงการแล้วเสร็จ จะเป็นแหล่งน้ำต้นทุนสนับสนุนพื้นที่เพาะปลูกในฤดูฝนประมาณ 4,000 ไร่ และฤดูแล้งประมาณ 700 ไร่ อีกทั้งยังช่วยบรรเทาความเสียหายจากอุทกภัยให้แก่ประชาชนในพื้นที่

 

นอกจากนั้น ยังมีโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำคลองบางจากและคลองปากง่าม เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนในพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบจากคลองที่ตื้นเขิน โดยจะทำการขุดลอกคลองบางจากและคลองปากง่าม ระยะทาง 3 กิโลเมตร เพื่อให้สามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง โดยสามารถเก็บกักน้ำได้เพิ่มขึ้นถึง 180,000 ลบ.ม. และเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก ซึ่งจะสามารถช่วยลดความเสียหายจากอุทกภัยให้พื้นที่เกษตรกรรมกว่า 3,000 ไร่

กรมชล นำทีม อรรถกร -พีรพันธุ์ ลุยพื้นที่ตะวันตก เช็คแผนรับมือน้ำท่วม-แล้ง

ในการนี้ รองนายกฯ พีรพันธุ์ มอบหมายให้ กรมชลประทานเร่งดำเนินโครงการต่างๆให้แล้วเสร็จ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค รวมไปถึงเกษตรกรรมอย่างเพียงพอ ตลอดจนช่วยบรรเทาอุทกภัยในช่วงฤดูน้ำหลากให้พื้นที่อีกด้วย