นโยบาย "Soft Power ท่องเที่ยว "หนุน “ ธุรกิจบริการอาหาร”โตต่อเนื่อง
สนค.เผย ตลาดธุรกิจบริการอาหาร ช่วงปี 2566-2571 จะเติบโตเฉลี่ย 6.72 % รับอานิสงค์ นโยบาย Soft Power ท่องเที่ยว แต่ต้องเผชิญความท้าทายสำคัญทั้งต้นทุนของวัตถุดิบในการประกอบอาหาร กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง ชู 4 แนวทางเสริมแกร่งธุรกิจบริการอาหาร
KEY
POINTS
Key Point
- ปี 2566 ตลาดธุรกิจบริการด้านอาหารของไทยมีมูลค่า 27,533.2 ล้านดอลลาร์ และคาดการณ์ ว่ามูลค่าการขายในช่วงปี 2566-2571 จะเติบโตเฉลี่ย 6.72 %
- ในปี 2567 คาดว่าตลาดธุรกิจบริการด้านอาหารของไทยจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง
- ต้นทุนวัตถุดิบ กำลังซื้อลด ค่าใช้จ่ายครัวเรือสูง ปัจจัยท้าทายธุรกิจอาหาร
ธุรกิจบริการอาหารมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องจากการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน จำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น และนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐโดยธุรกิจบริการด้านอาหารซึ่งเป็นส่วนสำคัญ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยและการสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการ SMEs ปรับตัวและมีโอกาสใน การขยายธุรกิจ
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ รายงานว่า ในปี 2566 ตลาดธุรกิจบริการด้านอาหารของไทยมีมูลค่า 27,533.2 ล้านดอลลาร์ และคาดการณ์ ว่า มูลค่าการขายในช่วงปี 2566-2571 จะเติบโตเฉลี่ย 6.72 % ซึ่งมากกว่าการเติบโตช่วงก่อนการเกิดการแพร่ ระบาดของโควิด-19 โดยการเติบโตได้รับแรงหนุนจากการกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ ทั้งการทำงานในที่ทำงาน การเพิ่มขึ้น ของการเดินทาง โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างชาติ อย่างไรก็ดี แม้ตลาดจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องแต่อัตราการเติบโต จะชะลอตัว
นอกจากนี้ คาดการณ์ว่าการแข่งขันในตลาดธุรกิจบริการอาหารจะเข้มข้นขึ้นจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ในส่วนของจำนวนผู้ประกอบการ ในปี 2565 มีผู้ประกอบการในธุรกิจบริการด้านอาหารทั้งหมด (TSIC 56) 3 384,777 ราย เป็นผู้ประกอบการ MSMEs 384,692 ราย คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 99.98 % ของผู้ประกอบการ ทั้งหมด
โดยแบ่งเป็นผู้ประกอบการในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 85,595 ราย และผู้ประกอบการในพื้นที่ ต่างจังหวัด 299,182 ราย นอกจากนี้ จำนวนผู้ประกอบการในกรุงเทพฯ และปริมณฑล และจำนวนผู้ประกอบการใน ต่างจังหวัด เพิ่มมากขึ้น เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยจำนวนผู้ประกอบการในกรุงเทพฯ และปริมณฑลเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เพียง 0.41% ในขณะที่จำนวนผู้ประกอบการในต่างจังหวัดเพิ่มขึ้นมากถึง 19.29%
รายได้ของธุรกิจบริการด้านอาหารของไทยในปี 2565 มีมูลค่า 264,103 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2564 68,618 ล้านบาท คิดเป็น 35.10 % ซึ่งรายได้ของทุกภูมิภาคเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภาคใต้ที่มีรายได้จากธุรกิจ บริการด้านอาหารเพิ่มขึ้นจาก 4,051 ล้านบาท ในปี 2564 เป็น 9,005 ล้านบาท ในปี 2565 คิดเป็น 122.29 % นอกจากนี้ ผลประกอบการโดยรวมของธุรกิจบริการด้านอาหารของไทยในปี 2565 มีกำไรสุทธิ 3,801.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ที่ขาดทุน 10,514.67 ล้านบาท สะท้อนให้เห็นการฟื้นตัวของธุรกิจทั่วประเทศ อย่างไรก็ดี หากเทียบศักยภาพของรายได้ พบว่า 82.06% ของรายได้ในธุรกิจบริการด้านอาหารของไทยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ
“พูนพงษ์ นัยนาภากรณ์” ผู้อำนวยการ สนค . กล่าวว่า ในปี 2567 คาดว่าตลาดธุรกิจบริการด้านอาหารของไทยจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยสนับสนุนสำคัญ อาทิการฟื้นตัวและเติบโตของภาคการท่องเที่ยว จำนวนนิติบุคคลธุรกิจบริการด้านอาหารเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคกลับไปรับประทาน อาหารที่ร้านมากขึ้น ความนิยมในการท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomy Tourism) การส่งเสริมนโยบาย Soft Power ของไทย นโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยวระยะเร่งด่วน ความนิยมในอาหารไทยของผู้บริโภคทั่วโลก
อย่างไรก็ดี ยังมีความท้าทายสำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อแนวโน้มธุรกิจบริการด้านอาหาร อาทิ ต้นทุนของวัตถุดิบในการประกอบอาหารมี ความผันผวน กำลังซื้อของผู้บริโภคมีแนวโน้มลดลง และค่าใช้จ่ายครัวเรือนในการซื้ออาหารนอกบ้านคงตัว ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องเร่งปรับธุรกิจให้สอดคล้องกับสถานการณ์และยกระดับธุรกิจของตนเองเพื่อศักยภาพและขยายการตลาดใน 4 ด้าน ประกอบด้วย
1.เพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจบริการด้านอาหาร ทั้งการบริหารจัดการต้นทุน การตั้งราคาขาย การใช้เทคโนโลยีในการประกอบธุรกิจ และการเตรียมรับมือกับภาวะวิกฤต
2.ด้านการสร้างมาตรฐานและโอกาสทางการตลาด ทั้งในประเทศและต่างประเทศจูงใจให้ผู้ประกอบการขนาดกลางจดทะเบียนนิติบุคคลในการประกอบธุรกิจบริการด้านอาหารมากขึ้น โดยอาจให้การสนับสนุนการอบรมหรือพัฒนาศักยภาพเพื่อก่อให้เกิดแรงจูงใจ ผลักดันให้ผู้ประกอบการพัฒนาธุรกิจและสมัครขอใช้ตราสัญลักษณ์รับรองธุรกิจบริการด้านอาหาร ที่มีอยู่และพิจารณาเพิ่มตรารับรองให้กับกลุ่มธุรกิจบริการด้านอาหารอื่นๆ ที่กำลังเติบโต
3. ด้านขยายช่องทางการตลาด อาทิ การจัดงานแสดงสินค้าที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบริการ ด้านอาหารและเครื่องดื่มสำหรับผู้ประกอบการไทย สนับสนุนการเพิ่มทำเลศักยภาพใหม่ๆ สร้างภาคีกับแพลตฟอร์มอาหารส าคัญเพื่อช่วยผู้ประกอบการลดต้นทุน
4. ด้านการบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ทั้งการส่งเสริมธุรกิจบริการด้านอาหารร่วมกับอุตสาหกรรม/ธุรกิจอื่นๆ เช่น ภาพยนตร์ ซีรีส์ ดิจิทัล คอนเทนต์ และธุรกิจไมซ์ (MICE)6 รวมทั้งประชาสัมพันธ์ธุรกิจบริการด้านอาหารของไทย ตราสัญลักษณ์ Thai SELECT และนโยบาย Soft Power อย่างต่อเนื่อง ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างการรับรู้ของ ชาวต่างชาติและเพิ่มความคุ้นเคยกับวัฒนธรรมและอาหารไทยอย่างเป็นระบบ