'แพลททินัม ฟรุ๊ต ' แนะรัฐพัฒนา 'ลำไย' โอกาสส่งออกไม่น้อยกว่าทุเรียน

'แพลททินัม ฟรุ๊ต ' แนะรัฐพัฒนา 'ลำไย'    โอกาสส่งออกไม่น้อยกว่าทุเรียน

​ ปี2567 คาดว่าผลผลิตลำไยจะเพิ่มขึ้น แต่ปัญหาที่พบคือคุณภาพตามเกรดส่งออก ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด ซึ่งมีผลต่อราคาโดยเฉพาะช่วงที่ผลผลิตในฤดูของภาคเหนือออกสู่ตลาดพร้อมกัน กว่า 6 แสนตัน ตั้งแต่เดือนมิ.ย.- ก.ย. โดยเฉพาะเดือนส.ค. ที่ผลผลิตจะออกมากสุด

ณธกฤษ เอี่ยมสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แพลททินัม ฟรุ๊ต จำกัด ผู้ส่งออกผลไม้สดเกรดพรีเมี่ยมรายใหญ่ของไทย เปิดเผยว่า  ลำไยเป็นผลไม้อีกชนิดที่ยังมีโอกาสทางการตลาด ไม่น้อยไปกว่าทุเรียน และรัฐบาลควรให้ความสำคัญผลักดันการส่งออก เพราะเป็นผลไม้ที่ไม่มีคู่แข่ง มี Opportunity สูงมาก รสหวานทานง่าย ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีรสชาติที่ unique เกินไป รวมทั้งสามารถแปรรูปได้หลายแบบ จึงเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค โดยประเทศไทยเป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ส่งออกสู่ตลาดโลก อีกทั้งไม่มีข้อจำกัดของ shelf life สามารถเก็บรักษาได้นาน ทำให้สามารถขนส่งได้ไกลกว่า สร้างความนิยมได้มากกว่า

\'แพลททินัม ฟรุ๊ต \' แนะรัฐพัฒนา \'ลำไย\'    โอกาสส่งออกไม่น้อยกว่าทุเรียน

สำหรับแพลททินัม ฟรุ๊ต ส่งออกลำไยสดเกรดพรีเมี่ยม เบอร์ AA และ A ใน 3 ตลาดหลักที่มีจำนวนประชากรและมีความต้องการบริโภคสูงได้แก่ จีน อินโดนีเซีย และล่าสุดคือ อินเดีย ที่ แพลททินัม ฟรุ๊ต เข้าไปทำตลาด ซึ่งช่วงนี้เป็นโอกาสดีอย่างยิ่งในการส่งออกลำไยเพื่อทดแทนการบริโภคผลไม้ชนิดอื่น

  โดยปีที่ผ่านมาบริษัทฯ ส่งออกรวมกว่า 20,000 ตัน และคาดว่าภายในปี 2567 จะส่งออกได้เพิ่มขึ้นอีก 50% หรือ รวมทั้งสิ้นประมาณ 30,000 ตัน  อีกทั้งยังอยู่ระหว่างผลักดันการส่งออกลำไยแกะเม็ดแช่แข็งเพิ่มเติมด้วย โดยมีโรงงานลำไยรองรับการส่งออก 4 แห่ง ที่อำเภอจอมทอง เชียงใหม่ อำเภอป่าซาง ลำพูน อำเภอสอยดาว จันทบุรี และล่าสุดคือที่สระแก้วเปิดเมื่อปลายปี 2566

\'แพลททินัม ฟรุ๊ต \' แนะรัฐพัฒนา \'ลำไย\'    โอกาสส่งออกไม่น้อยกว่าทุเรียน

\'แพลททินัม ฟรุ๊ต \' แนะรัฐพัฒนา \'ลำไย\'    โอกาสส่งออกไม่น้อยกว่าทุเรียน

การแก้ปัญหาราคาลำไยอย่างยั่งยืน จำเป็นต้องเร่งพัฒนา คุณภาพ ของผลผลิตและตลาด ซึ่งต้องพึ่งพาความร่วมมือ 3 ภาคส่วน คือ ภาครัฐ - ภาคเอกชน - เกษตรกร  โดยภาครัฐต้องช่วยให้คำแนะนำการพัฒนาคุณภาพลำไยให้กับเกษตรกร เพิ่มช่องทางระบายสินค้าในประเทศ ออกมาตรการช่วยสนับสนุนด้านต่างๆ 

ส่วน ภาคเอกชน ต้องมองหาตลาดคุณภาพมารองรับ และรับซื้อในราคาที่เหมาะสม เป็นธรรม ขณะที่เกษตรกรก็ต้องมุ่งพัฒนาผลผลิตให้ได้คุณภาพตามที่ตลาดต้องการ ทั้งหมดนี้หากทำได้ มั่นใจว่ายังมีปริมาณความต้องการจากตลาดปลายทางในหลายประเทศที่รองรับได้อีกมาก

\'แพลททินัม ฟรุ๊ต \' แนะรัฐพัฒนา \'ลำไย\'    โอกาสส่งออกไม่น้อยกว่าทุเรียน

ทั้งนี้​จากการสำรวจของบริษัท พบว่า เกษตรกรชาวสวนลำไย 40% ของไทย ยังขาดการสนับสนุนองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การเกษตร ผลผลิตจึงไม่ได้คุณภาพเท่าที่ควร ดังนั้น แพลททินัม ฟรุ๊ต ได้เข้ามาให้ความช่วยเหลือในด้านการให้ความรู้ความเข้าใจ การทำวิจัย R&D และการบริหารจัดการคุณภาพสวนที่ได้มาตรฐานให้กับเกษตรกรชาวสวนลำไยภาคเหนือ เพื่อสามารถพัฒนาผลผลิตลำไยคุณภาพเกรดส่งออกได้ตลอดปี

​แพลททินัม ฟรุ๊ต จึงมีการนำแนวคิด  “ลำพูนโมเดล” มาใช้กับเกษตรกรในหลายพื้นที่ทางภาคเหนือ ซึ่งได้ทดลองใช้กับชาวสวนลำไย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูนเมื่อต้นปี 2567 และประสบความสำเร็จ โดยลำพูนโมเดล เป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่จำเป็นสำหรับเกษตรกรที่ต้องการทำลำไยเกรดส่งออก ​

กระบวนการทำงานของลำพูนโมเดล เริ่มต้นจากการหารือร่วมกันว่าถ้าอยากพัฒนาลำไยให้ได้เกรดส่งออก ไม่อยากส่งขายลูกร่วง แพลททินัม ฟรุ๊ตจะมีทีมงาน R&D เข้าไปร่วมสำรวจสวน ให้คำแนะนำกับชาวสวนที่สนใจ และให้คำแนะนำในการปรับปรุง หลังจากนั้นได้พาเกษตรกรชาวสวนที่ร่วมโครงการไปดูงานตัวอย่างสวนลำไยที่จังหวัดจันทบุรี ที่มีการจัดการแปลงได้ดีกว่า  สามารถปลูกได้ผลผลิตคุณภาพส่งออก  (Global GAP) 

 

โดยเกษตรกรที่เข้าโครงการจะต้องมีการแบ่งพื้นที่ 5 ไร่มาทำแปลงทดลองตามโปรแกรมที่แพลททินัม  ฟรุ๊ต กำหนด ปัจจุบัน  มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 30 แปลง รวม 150 ไร่ ซึ่งแพลททินัม ฟรุ๊ต ออกทุนให้ก่อนสำหรับการปรับปรุง 15,000 บาทต่อ5 ไร่  พร้อมรับซื้อผลผลิตลำไยที่อย่างไม่ผูกมัด เกษตรกรสามารถนำผลผลิตไปขายให้กับบริษัทอื่นได้ในกรณีที่ได้ราคาดีกว่ารวมถึงเรียนรู้วิธีการเก็บเกี่ยวลำไยให้ได้ราคาดี   

หลังจบการดูงานก็สานต่อด้วยกระบวนการต่อเนื่อง โดยคัดเลือกชาวสวนที่ต้องการเพิ่มคุณภาพผลผลิตลำไยตามโปรแกรมที่บริษัทฯ ออกแบบร่วมกับนักวิชาการเกษตร คือ ให้เลือกทดลองพัฒนาตามความสมัครใจ ระหว่าง 1.ปลูกลำไยในฤดู และ 2.ปลูกลำไยนอกฤดู ชาวสวนแต่ละรายต้องแบ่งพื้นที่่มาทำแปลงทดลองเพาะปลูกตามโปรแกรมที่กำหนด

\'แพลททินัม ฟรุ๊ต \' แนะรัฐพัฒนา \'ลำไย\'    โอกาสส่งออกไม่น้อยกว่าทุเรียน

 โดย แพลททินัม ฟรุ๊ต สนับสนุนองค์ความรู้ในการเพาะปลูก พร้อมส่งมีทีม R&D ช่วยดูแลให้คำปรึกษาแนะนำการพัฒนาที่เหมาะสมกับสวนแต่ละแห่งอย่างใกล้ชิด เพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพลำไยให้เป็นเกรดส่งออก มีกำไรดีเหมือนกับที่ทางจันทบุรีทำได้ ในขณะที่ เกษตรกรต้องให้ความสำคัญของวินัยการเงินอีกพื้นฐานจำเป็นสำหรับชาวสวนยุคใหม่ เพื่อนำองค์ความรู้ แนวทางปฏิบัติไปยกระดับคุณภาพสวนลำไยของตนเองเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้มากขึ้น และผลิตได้ตามมาตรฐานส่งออก ซึ่งการดูงานนี้ทางบริษัทฯ เป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายทั้งหมด 

โมเดลนี้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีมีชาวสวนลำไยลำพูนเข้าร่วมโครงการรวมเป็นจำนวน 150 ไร่ เกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ตอนแรกที่ 100 ไร่ จึงนำมาสู่การต่อยอดในระยะสองที่เป็นการพัฒนาความร่วมมือกับชาวสวนลำไยอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่เดือนส.ค. นี้้