แก้หนี้ครัวเรือน – ธุรกิจ โจทย์ใหญ่ ‘รัฐบาลแพทองธาร’

แก้หนี้ครัวเรือน – ธุรกิจ  โจทย์ใหญ่ ‘รัฐบาลแพทองธาร’

หนี้ครัวเรือน-ภาคธุรกิจ ยังพุ่งไม่หยุด ตัวเลข NPL- SML พุ่งฉุดเศรษฐกิจไทย วัดฝีมือแก้ไขรัฐบาล “แพทองธาร” สภาพัฒน์ชี้ต่องแก้หนี้แบบพุ่งเป้า 3 หน่วยงานเศรษฐกิจ คลัง – สภาพัฒน์ – แบงก์ชาติ เร่งถกหามาตรการแก้ปัญหาแบบพุ่งเป้าหวังแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน

ปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันคือระดับหนี้ที่สูงของทั้งภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ ขณะที่พื้นที่การคลังของรัฐบาลก็เหลือน้อยจากระดับหนี้สาธารณะที่สูงจนใกล้ระดับ 70% ซึ่งเป็นระดับหนี้เพดานหนี้สาธารณะ

หนี้ครัวเรือนและหนี้ธุรกิจที่อยู่ในระดับสูงกลายเป็นจุดเสี่ยงของระบบเศรษฐกิจ และฉุดรั้งการเติบโตของเศรษฐกิจไทย และเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงการบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาลในช่วงที่เหลือของปีนี้ รวมทั้งฉุดรั้งการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะต่อไป ซึ่งถือว่าเป็นโจทย์ใหญ่ของทุกรัฐบาลที่ผ่านมารวมทั้งรัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร ที่ต้องเข้ามาแก้ไขปัญหานี้เช่นกัน

แก้หนี้ครัวเรือน – ธุรกิจ  โจทย์ใหญ่ ‘รัฐบาลแพทองธาร’

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ “สภาพัฒน์” ระบุว่าปัจจุบันภาระหนี้สินครัวเรือนและภาคธุรกิจที่อยู่ในระดับสูงมาก โดยสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในโตรมาสที่หนึ่งของปี 2567 อยู่ที่ 90.8% โดยถือว่ายังอยู่ในระดับทรงตัวจาก 90.7% ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่ยังคงสูงกว่า 82.7% เมื่อเทียบกับโตรมาสเดียวกันของปี 2562

นอกจากนี้เมื่อพิจารณาจากในเรื่องคุณภาพสินเชื่อภาคธุรกิจยังคงอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและชนาดย่อม (SMEs)โดยสัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loans. NPLs) ยังคงอยู่ในระดับสูงที่ 75% สูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปี 2562 อยู่กว่า 4.7% และสัดส่วนสินเชื่อจัดชั้นพิเศษ (Special Mention Loans: SMLs) ซึ่งเป็นหนี้ที่คงค้างในระยะเวลา 1 – 3 เดือน ของ SMEs ต่อสินเชื่อรวมไปไปไตรมาสที่หนึ่งของปี 2567 อยู่ที่ 12% ซึ่งถือว่าสูงมากกว่าไตรมาสเดียวกันของปี 2562 อยู่ 3.1%

สำหรับระดับหนี้เสียและระดับหนี้เฝ้าระวังที่สูงมากขึ้นทำให้สถาบันการเงินมีการเพิ่มมาตรฐานสินเชื่อที่มีความเข้มงวดมากขึ้น ภายใต้คุณภาพสินเชื่อที่ลดลงสถาบันการเงินจึงมีการเพิ่มความระมัดระวังในการให้สินเชื่อกับธุรกิจมากขึ้น เช่น การเพิ่มเงื่อนไขประกอบสัญญาเงินกู้ การเพิ่มหลักทรัพย์ค้ำประกัน เมื่อรวมกับภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้การขยายตัวของสินเชื่อชะลอตัวลง โดยมูลค่าสินเชื่อภาคเอกชนในไตรมาสที่ 2 2567 ขยายตัวถึง 1% โดยชะลอลงจาก 1.46% ในไตรมาสก่อนหน้า โดผลพาะอย่างสิ้นเชื่อครัวเรือนที่ขยายตัว 1.15% ลดลงจาก 1.99% ในไตรมาสก่อนหน้าซึ่งถือเป็นอัตราการขยายตัวต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งถือเป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ

รวมทั้งทั้งก่อให้เกิดความสี่ยงที่จะทำให้ผู้ประกอบการและครัวเรือนที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้จำเป็นต้องพึ่งพาแหล่งเงินกู้นอกระบบธนาคารเข้ามาช่วยเหลือ

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่าปัญหาหนี้ครัวเรือนและหนี้ภาคธุรกิจที่สูงถือเป็นปัญหาที่รัฐบาลต้องเข้าไปหามาตรการในการแก้ไข และเป็นมาตรการในการแก้ไขแบบพุ่งเป้ามากขึ้นจึงจะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน ซึ่งทั้ง 3 หน่วยงานทั้ง สศช. กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำลังหารือกันเพื่อจะนำเสนอมาตรการในการแก้หนี้สินในส่วนนี้แบบพุ่งเป้าเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาเรื่องนี้ให้ได้ผลและยั่งยืน