พายุ 2 ลูก ยังไม่มา ตั้งการ์ดรอรับ ทัพหลวงฝนใหญ่ อย่าแผ่ว

พายุ 2 ลูก ยังไม่มา ตั้งการ์ดรอรับ ทัพหลวงฝนใหญ่ อย่าแผ่ว

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)ทำให้ฤดูกาลต่างๆ แปรปรวน มีความรุนแรงมากขึ้นและคาดเดาได้ยาก อย่างกรณีน้ำท่วมที่จังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ น่าน และไหลลงสู่ สุโขทัย นั้นเป็น อีกหนึ่งผลกระทบที่เกิดจากอิทธิพลของ Climate Change

ฝนที่ตกย้ำๆ ซ้ำๆ อยู่กับที่ เกิดจากร่องมรสุมที่ผ่านมา แต่ไม่พัดผ่านไป นิ่งแช่อยู่ที่เดิม สถานการณ์นี้เคยเกิดขึ้นในภาคอีสานเมื่อ2ปีที่ผ่านมา แถมฝนที่ตกลงมานั้นยังหาประโยชน์ได้น้อยมาก   เนื่องจากเป็นฝนใต้เขื่อน ซึ่งหมายถึงน้ำที่เห็นไม่ได้ไหลลงเขื่อนขนาดใหญ่ อย่างเขื่อนภูมิพล หรือ เขื่อนสิริกิติ์ ที่โล่งมีพื้นที่ว่างสามารถรับน้ำได้อีกมากถึง10,000 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) เป็นเพียงน้ำที่ไหลบ่าลงมาจากตามเส้นทางแม่น้ำยม จะเข้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยาบางก็ไม่ทั้งหมด บางส่วนกระจัดกระจายทะลักสู่ 12 ทุ่งเจ้าพระยา ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำและเกิดน้ำท่วมทุกปีแล้วแต่ว่าจะมากหรือน้อยเพียงใดเท่านั้น    

พายุ 2 ลูก ยังไม่มา ตั้งการ์ดรอรับ ทัพหลวงฝนใหญ่ อย่าแผ่ว

ในปีนี้ หากจะจำกันได้ถึงการพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา ในช่วงต้นปี ที่ระบุว่า ในปี 2567 จะมีพายุเข้าประเทศไทยอย่างน้อย 2 ลูก  ในเดือน ส.ค.- ก.ย.  ดังนั้นความเสียหายของภาวะน้ำท่วมฉับพลันที่เกิดขึ้นในภาคเหนือ ยังไม่ใช่ที่สุด เพราะยังมี ทัพหลวงฝนใหญ่ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในเดือน ก.ย. นี้ แต่  Damage จะรุนแรงแค่ไหน ยังต้องเฝ้าระวังและติดตาม เพื่อเตือนภัย พร้อมรับมือได้ทันการณ์

อย่างไรก็ตาม ในการประชุมประเมินติดตามสถานการณ์น้ำ ที่มีนายจักรพงษ์ แสงมณี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานข้อมูลการเปรียบเทียบสถานการณ์น้ำในปี 67 และ ปี 54 พบว่า ปัจจัยต่างๆ มีความแตกต่างกันมาก เช่น ปริมาณฝน ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ ซึ่งสถานการณ์ในปีนี้จะไม่รุนแรงเหมือนปี 54   แต่ยังต้องระวังพายุจรพัดที่อาจจะผ่านเข้ามาด้วย 

พายุ 2 ลูก ยังไม่มา ตั้งการ์ดรอรับ ทัพหลวงฝนใหญ่ อย่าแผ่ว

ทั้งนี้กรมอุตุนิยมวิทยาและ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือสสน. คาดการณ์ว่า ประเทศไทยจะยังคงมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง โดยช่วงต้นเดือน ก.ย. แนวโน้มที่ฝนจะยังมีฝนตกซ้ำในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน บริเวณ จ.เชียงราย พะเยา น่าน และแพร่ แต่จะมีปริมาณฝนไม่มากเท่าช่วงที่ผ่านมาและไม่ส่งผลให้ระดับน้ำในลำน้ำที่ลดลงแล้วกลับมาเอ่อล้น

 รวมถึงมีฝนตกชุกบริเวณชายขอบของประเทศ ภาคตะวันออก ในพื้นที่ จ.จันทบุรี ตราด และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ในพื้นที่

จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล ซึ่งได้กำชับให้มีการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด 

ในเบื้องต้นภาวะฝนในปีนี้คาดว่าจะมากกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องด้วยไทยเข้าสู่ภาวะลานีญา ดังนั้นหากช่วง 2 เดือนหลังของฤดูกาลมีฝนตกมากตามคาด จะส่งผลให้การกักเก็บน้ำในเขื่อนเพื่อใช้ในฤดูแล้งปี 2567/68(1 พ.ย. 2567- 30 เม.ย.  2568 ) มีปริมาณสูงกว่าปีที่ผ่านมา เอื้อต่อการทำนาปรัง และพืชอื่นๆ  แต่เนื่องจากไทยไม่มีแหล่งน้ำของตนเอง ดังนั้นการใช้น้ำในกิจกรรมต่างๆ จึงต้องเป็นไปตามแผนบริหารจัดการน้ำในแต่ละปี 

 สำหรับปริมาณน้ำใน 4 อ่างเก็บน้ำที่เพื่อใช้บริหารจัดการในลุ่มเจ้าพระยา คือภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยบำรุงแดน และป่าสักชลสิทธิ์   พบว่า มีปริมาณน้ำรวมกัน 13,523 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็น 54% ของความจุอ่างฯ เป็นน้ำใช้การได้  6,827 ล้าน ลบ.ม.  คิดเป็น 38% ของความจุอ่าง  ยังสามารถรับน้ำได้อีก  11,348 ล้านลบ.ม.