‘สภาพัฒน์’ แนะรัฐบาลเร่ง 5 มาตรการ สกัดจีนระบายสต็อกสินค้าเข้าไทย

‘สภาพัฒน์’ แนะรัฐบาลเร่ง 5 มาตรการ  สกัดจีนระบายสต็อกสินค้าเข้าไทย

"สภาพัฒน์" ชี้ข้อมูลจีนเร่งระบายสต็อกสินค้าออกไปหลายประเทศหลังเศรษฐกิจภายในชะลอตัว ไทยได้รับผลกระทบมากขึ้น พบสินค้าหลายชนิดเข้ามาขายในปริมาณมากขึ้นแต่มูลค่ารวมลดลง สะท้อนสินค้าราคาถูกเข้ามาตีตลาด แนะใช้ 5 มาตรการเข้มงวด การตรวจสอบ ใช้มาตรการกฎหมายเข้มงวด

แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนตามการชะลอตัวของการลงทุนและการอุปโภคบริโภคภายในประเทศ ส่งผลให้สินค้าคงคลังอุตสาหกรรมจีนยังคงอยู่ในระดับสูง และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้ผลิตสินค้าของจีนต้องส่งออกสินค้ามายังประเทศต่างๆ มากขึ้น เพื่อชดเชยกับเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัวลง

ซึ่งส่งผลให้ในหลายประเทศโดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียนรวมทั้งประเทศไทยมีการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการนำเข้าจากจีนมากกว่ามูลค่าการส่งออกจนส่งผลกระทบให้มีแนวโน้มการขาดดุลการค้าต่อจีนมากขึ้น 

"สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ" หรือ "สภาพัฒน์" เปิดเผยรายงานเรื่อง "สถานการณ์สินค้านำเข้าจากจีน และนัยที่มีต่อไทย" ระบุว่า 

สำหรับไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2567 พบว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าจากจีนมายังไทย เพิ่มขึ้น 6.3% สอดคล้องกับข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ที่ไทยมีการนำเข้าจาก7.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันก่อนหน้า เร่งขึ้นจาก 0.1% ใน ปี 2566  ทั้งนี้มีหลายสินค้าที่ปริมาณการส่งออกสินค้าจากจีนมายังไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ราคาต่อหน่วยลดลง ในหลายหมวดสินค้าที่สำที่สำคัญ ได้แก่

1.กลุ่มสินสินวัตถุดิบขั้นกลาง เช่น เหล็ก โลหะ และผลิตภัณฑ์ (เช่น ผลิตภัณฑ์แผ่นรีด, และเหล็กท่อนและเหล็กเส้น เป็นต้น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องโทรศัพท์, และเครื่องประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติ เป็นต้น) สินค้ากลุ่มเคมีภัณฑ์ พลาสติก และยาง (เช่น สารฆ่าแมลง, และแผ่นฟิล์ม ฟอยล์พลาสติก เป็นต้น)

2.กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค (เช่น เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน, และของเล่น เป็นต้น )

3.กลุ่มสินค้าเกษตรและอาหาร (เช่น ผักแข็ง และและผลไม้และถั่วแช่แข็ง เป็นต้น) 

นอกจากนี้ยังพบว่ามีบางสินค้าที่มาจากจีนที่เห็นสัญญาการส่งออกมายังไทยมากขึ้น โดยอัตราการขยายตัวของปริมาณการส่งออกปรับตัวมากขึ้นและมูลค่าต่อหน่วยปรับตัวลดลงจากช่วงก่อนหน้าอย่างต่อเนื่อง เช่น มอเตอร์ไฟฟ้า และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ฟอยร์อะลูมิเนียม เครื่องเรือนที่ทำด้วยพลาสติก และเครื่องซักผ้า

จากข้อมูลข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ภายหลังจากปี 2565 เป็นต้นมา สถานการณ์การส่งออกสินค้าจากจีนมายังไทยเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการแพร่หลายของแฟลตฟอร์มซื้อขายสินค้าออนไลน์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากของตลาดในไทย ตลอดจนอัตราค่าขนส่งกายในประเทศที่ราคาไม่สูงนักเนื่องจากทางเลือกที่มากขึ้นของบริษัทขนส่งสินค้า

ทั้งนี้แม้ว่าการเข้ามาของสินค้าจีนจะมีข้อดีทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการเลือกสินค้าราคาถูก แต่หากมองในผมของผู้ประกอบการไทยว่าแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบอย่างหลีกเสียงไม่ได้ ทั้งในส่วนของความท้าทายด้านต้นทุนการผลิตสินค้าชั้นกลาของผู้ประกอบการไทยที่สูงกว่าสินค้านำเข้าจากจีนโดยเปรียบเทียบ รวมถึงการสูญเสียส่วนแบ่งสินค้าอุปโภคบริโภคให้กับสินค้าราคาถูกจากจีนซึ่งส่งผลต่อผลประกอบการ และอาจจะส่งผลกระทบกับขีดความสามารถของประเทศในระยะยะถัดไป

ในส่วนของภาครัฐนั้น ได้มีการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์และผลกระทบดังกล่าวอย่างใกล้ชิด โดยในช่วงที่ผ่านมา มีการบังคับใช้มาตรต่างๆ เช่น

1.การเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% สำหรับสินค้านำเข้าที่ราคาต่ำกว่า 1,500 บาท

2.การเข้มงวดสินค้าน้ำเข้าต้องผ่านมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) และมาตรฐานของสำนักงานอาหารและยา (อย.)

3.สินค้านำเข้าต้องมีคำอธิบายภาษาไทย

4.การตรวจสอบการขออนุญาตประกอบการธุรกิจ คลังสินค้าทัณฑ์บน และการถือหุ้นของบริษัท ไม่ให้มีการทำผิดกฎหมายหรือผิดวัตถุประสงค์

5. มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) และมาตรการตอบโต้การหลีกเลี่ยงการทุ่มตลาด (AC) อย่างต่อเนื่อง ซึ่งพบว่ามาตรการ AD ที่มีการบังคับใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในกลุ่มสินค้าเหล็ก โลหะ และมาตการ AD รายประเทศ โดยพบว่าประเทศที่ไทยมีการบังคับใช้มาตรการ 3 อันดับแรก ได้แก่

  • จีน 12 ผลิตภัณฑ์
  •  เกาหลีใต้ 7 ผลิตภัณฑ์
  • ไต้หวัน และเวียดนาม 5 ผลิตภัณฑ์

ขณะที่มาตรการ ที่พึ่งมีการบังคับไปเมื่อ 1 สิ่งทาคม 2567 ก็เป็นสินค้าในกลุ่มเหล็กแผ่นจำนวน17 ชนิด (ตาม HS Code 11 หลักของสินค้าในกลุ่มดังกล่าว) โดยมีการบังคับใช้กับประเทศจีนเพียงประเทศเดียวเท่านั้น

 

แนะรัฐบาลเข้ม 5 มาตรการ

ทั้งนี้เพื่อลดผลกระทบแก่ผู้ประกอบการภายในประเทศจากสถานการณ์การเข้ามาของสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศ ภาครัฐควร์ให้

ความสำคัญกับมาตรการติดตาม กำกับ และดูแลกระบวนการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เพื่อให้มีการแข่งขันด้านราคาอย่างเป็นธรรม และส่งผลกระทบเชิงบวกต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศ โดยมุ่งเน้นในเรื่อง

1.การตรวจสอบและเฝ้าระวังการทุ่มตลาดและวิธีการค้า ที่ไม่เป็นธรรม จากประเทศที่ส่งออกสำคัญอย่างเข้มงวด รวมทั้งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการภาคธุรกิจให้สามารถเข้าถึงการดำเนินมาตรตอบได้การหาตลาดและการอุดหนุน (AD/CVD/AC)

2.การปรับปรงกระบวนการตรวจสอบคุณภาพสินค้าน้ำเข้าให้มีความเข้มงวดรัดกุมมากขึ้น การเร่งออกมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้ครอบคลุมสินค้าน้ำเข้า รวมทั้งการส่งเสริมการสร้างความมือในการจัดทำความตกลงลงยอมรับร่วมด้านมาตรฐานระหว่างประเทศ และการเพิ่มบทลงโทษสำหรับผู้ที่นำเข้าสินค้าไม่ได้มาตรฐาน

3.การดำเนินการอย่างเคร่งครัดกับผู้กระทำความผิดที่เข้าข่ายผลิตสินค้าที่ผิดกฎหมาย หลบเลี่ยงภาษี หรือใช้ช่องว่างทางกฎหมายต่างๆ เพื่อเอื้อประโยชนให้กับธุรกิจ

4.การดูแลและปริหารจัดการระบบและกลไกในการกำหนดราคาสินค้าให้เป็นธรรมกับทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค เช่น การพัฒนาช่องทางการร้องเรียนที่ทันสมัย รวดเร็ว และหลากหลาย สร้างช่องทางรับและแก้ไขข้อร้องเรียนที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว สร้างระบบการชดเชยที่เป็นธรรมให้กับผู้ที่ได้รับความเสียหาย ตลอดจนติดตามและประเมินประสิทธิภาพของระบบการแก้ไขปัญหาและข้อร้องเรือนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อพัฒนาและปรับปรงระบบให้ดียิ่งขึ้น

5.การส่งสริมการสร้างควางความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมของทั้งผู้ผลิต และผู้ประกอบกอบการเกี่ยวกับสิทธิ และหน้าที่ในการแข่งขันทางการค้าอย่างเป็นธรรม เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ