‘ไทย’ ปักหมุด ‘แอคเมคส์’ ศูนย์กลางเศรษฐกิจอาเซียน
สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) ฉลอง 60 ปี จัดสัมมนา “60 Years OF EXCELLENCE” ภายใต้แนวคิด Creating Great Leaders, Designing the Future ระหว่างวันที่ 16-19 ก.ย.2567 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
นายนิธิ ภัทรโชค ประธานสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้เพื่อเล็งเห็นความสำคัญของเมกะเทรนด์โลกทั้งการเชื่อมโยง ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี นวัตกรรม และความยั่งยืน เพื่อให้องค์กรต่างๆ ได้เปิดรับมุมมองใหม่ๆ รับรู้ถึงความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจในอนาคต
นายนฤชา ฤชุพันธุ์ รองเลขา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวในหัวข้อ ACMECs Opportunities in the Seamless Connection ว่า แอคเมคส์เป็นกรอบความร่วมมือที่เน้นสร้างประโยชน์ให้สมาชิก เพราะเกิดจากการสนับสนุนของสมาชิก 5 ประเทศ ที่มุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของอาเซียน ที่ช่วยส่งเสริมบทบาทไทยในการพัฒนาภูมิภาค
อย่างไรก็ตาม เมื่อเศรฐกิจไทยพัฒนาทั้งด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว จะช่วยลดช่องว่าง เพิ่มการจ้างงาน เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน และมีอำนาจต่อรองกับนอกกลุ่มสมาชิก ดังนั้น สิ่งที่จะช่วยให้ประสบความสำเร็จมี 3 เรื่อง คือ 1.ยุทธศาสตร์ที่สอดคล้อง 2.ลดข้อจำกัดด้านกฏระเบียบ และ 3.เสถียรภาพต่างประเทศ
ทั้งนี้ แต่ละประเทศในกลุ่มสมาชิกมีจุดอ่อนและจุดแข็งต่างกันจึงต้องอาศัยความเชื่อมโยงระหว่างกัน เช่น มาตรฐานทางการแพทย์และโรงพยาบาลในไทยเหนือกว่าประเทศเพื่อนบ้านมาก จะเห็นว่าประชาชนในประเทศเพื่อนบ้านที่มีเงินจะเดินทางมารักษาที่ไทย ส่วนความเชื่อมโยงด้านท่องเที่ยวถทอว่าไทยมีโลเคชั่นจุดศูนย์กลาง จึงช่วยสนับสนุนและเชื่อมโยงภาคท่องเที่ยวได้ดี
ส่วนภาคการผลิตนั้น นักลงทุนต่างชาติจะคำนึงใน 3-4 เรื่อง คือ แรงงาน เทคโนโลยี ตลาด และทรัพยากรธรรมชาติ ดังนั้น หากมองทั้งโลกที่มีจุดแข็งและจุดด้อยต่างกันไป
สำหรับนักธุรกิจไทยหากจะลงทุนต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านต้องดูการตลาด การขนส่ง จะเห็นว่าบริษัทใหญ่หลายรายที่ขอรับการส่งเสริมจากบีโอไอ จะคำนึงถึงเรื่องของแรงงานที่จะสามารถผลิตชิ้นส่วนขั้นต้น และเน้นไทยเป็นฐานการผลิตก่อนส่งไปให้คู่ค้า
“บีโอไอมีอีกบทบาทในการสนับสนุนผู้ประกอบการไปลงทุนต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน ยเน้นให้คำปรึกษา ให้ความรู้ หาข้อมูล จัดสัมมนา จัดทริปดูนิคมอุตสาหกรรมหรือโรงงานที่สำเร็จ ซึ่งมีสำนักงานที่เวียดนาม ซึ่งอยู่ในกลุ่มแอคเมคส์ด้วย โดยปัจจุบันเรามีหลักสูตรสร้างนักลงทุนไทยในต่างประเทศรวมแล้ว 21 รุ่น กว่า 700 คน มี 45% ตัดสินใจไปลงทุนต่างประเทศ” นายนฤชา กล่าว
นายบรรณ เกษมทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ร่วม บริษัท เอสซีจี เจดับเบิ้ลยูดี โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวสัมมนาหัวข้อ “Driving a Smart and Sustainable ACMECs” ว่า แอคเมคส์ ถือเป็นภูมิภาคสำคัญ เมื่อทั่วโลกเกิดวิกฤติต่าง ๆ ที่ดิสรัปชันหลายเรื่องทั้ง เทคโนโลยีและซัพพลายเชนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ซึ่งคนพูดถึง ดี คาร์บอนไนเซชั่น
ทั้งนี้ การจะให้ภูมิภาคเข้มแข็งจะใช้ประโยชน์จากวิกฤติต่าง ๆ โดยเครื่องมือสำคัญ คือ กลุ่มแอคเมคส์และการรวมกับ 5 ประเทศในภูมิภาคอาเซียน และจะทำอย่างไรให้ภูมิภาคอาเซียนสำคัญ สร้างประโยชน์ไม่ซับซ้อน
สำหรับมุมมองด้านโลจิสติกส์และความยั่งยืนมีสิ่งสำคัญ คือ นวัตกรรมที่จะสร้างโลกแห่งอนาคต การสร้างแบบเก่าอาจสำเร็จระดับหนึ่ง แต่การสร้างโดยนวัตกรรมใหม่จะช่วยสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน
รวมทั้งเมื่อนำแนวคิดใหม่มาเกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ภูมิภาคจึงสำคัญ โดยโครงสร้างพื้นฐานประเทศมีการพัฒนาทั้งรถราง ไฟฟ้า ถนน แต่ยังไม่พอจึงจะต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลด้วย เพื่อการบริหารจัดการสินค้าและเพื่อต่อ 5 ประเทศให้เป็นระบบเดียวกัน
“เรื่องความยั่งยืนสำคัญมีหลายมุมมอง เช่น หากต้องการเป็นเน็ตซีโร่ การทำกรีนโลจิสติกส์ จะทำอย่างไรให้เกิดคาร์บอนน้อยที่สุด” นายบรรณ กล่าว
สำหรับกรอบความร่วมมือยังไม่เดินไปได้เท่าไหร่ วันนี้ต้องขายฝันทำอย่างไรให้ทุกคนเห็นฝันเดียวกัน เมื่อมีกรอบการคุยทั้งประเด็นความยั่งยืนและเทคโนโลยี ซึ่งอาจเห็นไทยเป็นผู้นำได้และเมื่อไทยมีความพร้อมโลเคชั่นและโครงสร้างพื้นฐานจะเอื้อธุรกิจตอบโจทย์
นายวริษฐ์ รัตนชื่น ผู้ช่วยผู้ว่าการ วิจัย นวัตกรรมและพัฒนาการธุรกิจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า ความยั่งยืนต้องคำนึงด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม และด้านเศรษฐกิจสำคัญต้องมีรายได้เพียงพอ ซึ่งถูกกดดันด้วยเทรนด์โลก
ทั้งนี้การเข้าสู่อุตสาหกรรมสีเขียวต้องใช้นวัตกรรมเข้ามาช่วย และอีกปัจจัยคือความแตกต่าง ซึ่งในกรอบแอคเมคส์เห็นชัดว่าไฟฟ้ายังไม่ทั่วถึง และบางประเทศไฟฟ้ายังไม่เสถียร ดังนั้น ในบริบทต่างกันต้องอยู่ด้วยความเข้าใจ เอามาตรฐานใดหนึ่งมาตัดสินไม่ได้
“เมื่อ 3 ปีก่อน กัมพูชาคุยเรื่องการขายไฟ กฟผ.ได้วางสายส่งซึ่งเขายังมีการตัดไฟในบางฤดูกาล และไม่สนใจว่าจะต้องมีไฟใช้ตลอด 24 ชั่วโมง ดังนั้น เราต้องเข้าใจและหาโซลูชั่นที่เหมาะสมสำหรับประเทศนั้น ๆ ด้วย” นายวริษฐ์ กล่าว
ดังนั้น สิ่งที่ต้องทำ อาจจะร่วมมือด้านพลังงาน เมื่อเทรนด์โลกมาด้านพลังงานสะอาด จะทำให้บทบาทคนทำพลังานในสปป.สาว หรือ เมียนมา มีข้อได้เปรียบสูง แต่เมื่อมีกติกาที่ว่าพลังงานสีเขียวคู่กับคาร์บอนเครดิตและใบรับรองพลังงานสีเขียว ต่างชาติเป็นผู้เขียนกติกา และกำหนดว่าพลังงานสะอาดเกิดที่ไหนก็เครมที่นั้นซึ่งได้เฉพาะขอบเขตประเทศนั้น ๆ
“กฟผ.ต้องเดินเรื่องนี้เพื่อให้เกิดกติกาได้ในระยะต่อไป พลังงานสีเขียวโดยเฉพาะไฮโดรคาร์บอน พลังงานลม ไม่เสถียร มีเยอะน้อยตามฤดูกาล สิ่งที่ต้องทำคือ ระบบกักเก็บพลังานที่ไม่ใช่แบตเตอรี่อย่างเดียว แต่เป็นการดึงน้ำกลับขึ้นไปเก็บบนภูเขาเหมือนเขื่อนลำตะคอง จึงต้องคุยกับผู้ลงทุน” นายวริษฐ์ กล่าว
นายเบญจรงค์ สุวรรณคีรี รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Bank) กล่าวว่า แอคเมคส์เป็นอีก 1 กรอบที่หารือกันนาน เป็นกรอบเดียวที่ตั้งโดยประเทศในแอคเมคส์โดยคนในแอคแมคส์เอง จึงมองว่าทำไมไม่สามารถไปได้ไกลกว่านี้ จากประชากร่วมกัน 250-300 ล้านคน ถือเป็นตลาดใหญ่ แต่รายได้ในประเทศนี้ยังไม่สูง
อย่างไรก็ตาม เอ็กซิมแบงก์มีสาขาทั้ง 5 ประเทศ กัมพูชา พม่า เวียดนาม ลาว รวมไทย เหฺ็นความต้องการของแต่ละประเทศ หลายคนมองว่าลาวมีปัญหาเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน จริงๆ แล้วคนก็ยังจับจ่ายใช้สอย การมองหาสินค้ามีคุณภาพที่เอื้อมถึง กิจกรรมทางเศรษฐกิจในเมียนมาก็ยังเดินได้อยู่ แม้ธนาคารต่างๆ จะมองความเสี่ยงใน 4 ประเทศเพื่อบ้าน แต่เรามีความร่วมมือเยอะ การค้าส่วนหนึ่งอยู่ที่ 9% ถือว่าสูงอยู่ และยังเป็นกลุ่มสินค้าหลากหลายอีกทั้งนักธุรกิจยังไปลงทุนอุตสาหกรรมโลจิสติกส์และพลังงานสูง
นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังมีความถนัดดิจิทัลสูงแบบก้าวกระโดด เซิงอินฟาซัคเจอร์มาจากอีคอมเมิร์ซ การทำธุรกรรมผ่านออนไลน์ มีเทรดเดอร์ไทยชำนาญมีความเข้าใจวัฒธรรมอย่างลึกซึ้ง ด้านความยั่งยืนก็สำคัญ ซึ่งทั้ง 4 ประเทศ มีความเปราะบางเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งยังมีความเสี่ยง ไทยสามารถร่วมแชร์ประสบการณ์ได้
“เราสนับสนุนภาคธุรกิจพลังงานอินฟาซัคเจอร์สำคัญ ส่วนพลังงานทางเลือก บอกเวียดนามและลาวนำไทย ซึ่งเท่าที่เห็นเป็นกลุ่มบริษัทไทยที่เข้าไปลงทุน ซึ่งกรอบแอคเมคส์ที่ชายแดนติดกัน 5 ประเทศ เป็นประโยชน์ที่ต้องหาอเจนด้าร่วมกันบนโจ๊ะเจรจาต่อไป เอ็กซิมแบงก์พร้อมสร้างโอกาสและความยั่งยืนในภูมิภาค”