ไทยส่ง“ด่วนM5-โครงการดักจับคาร์บอน”ระดมทุนโครงสร้างพื้นฐานยั่งยืน
โครงสร้างพื้นฐานคือกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจซึ่งหากว่าเป็นโครงสร้างที่ดีก็จะทำให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนไปในทิศทางที่ดี แต่ในโลกปัจจุบันการพัฒนาต้องคำนึงถึงความยั่งยืน โครงสร้างพื้นฐานเพื่อความยั่งยืนจึงเป็นสิ่งจำเป็น
คณะรัฐมนตรี(ครม.)มีมติรับทราบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เรื่อง การประชุมภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด – แปซิฟิก (Indo – Pacific Economic Framework: IPEF) ในหัวข้อIPEF Clean Economy Investor Forumเมื่อ 5-6 มิ.ย. 2567 ที่ผ่านมาที่สิงคโปร์เพื่อระดมทุนสำหรับโครงการลงทุนด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน (sustainable infrastructure) และเทคโนโลยีสภาพภูมิอากาศ (climate tech)
ประเทศไทยโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้นำเสนอวิสัยทัศน์ของรัฐบาลในการส่งเสริมการลงทุนและการพัฒนา climate tech ในประเทศ และได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของประเทศไทยในการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนตร์ไฟฟ้า รวมทั้งนำเสนอจุดแข็งของประเทศไทยในด้านความมั่นคงทางด้านอาหาร การกำหนดนโยบายภาครัฐที่แน่ชัดเกี่ยวกับการบรรลุเป้าหมาย การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์และปลดระวางการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว การจัดหาพลังงานหมุนเวียน การรับซื้อไฟฟ้าสีเขียว การพัฒนาตลาดคาร์บอน เป็นต้น
นอกจากนี้ การประชุมดังกล่าวได้มีการจัดกิจกรรมจับคู่ทางธุรกิจ เพื่อให้ผู้จัดทำข้อเสนอโครงการลงทุนด้าน sustainable infrastructureและบริษัทด้าน climate techที่ได้รับคัดเลือกมาพบปะกับนักลงทุนและบริษัทจัดการกองทุนชั้นนำจากสหรัฐ และประเทศที่สนใจเพื่อส่งเสริมโอกาสความร่วมมือในการระดมทุนเพื่อการพัฒนาโครงการต่าง ๆ
โดยในภาพรวมมีข้อเสนอโครงการด้าน sustainable infrastructure จากประเทศหุ้นส่วน IPEF ต่าง ๆ รวมมูลค่าการลงทุนกว่า 2.3 หมื่นล้านดอลลาร์และมีโครงการที่พร้อมดำเนินการทั้งหมด 20 โครงการ
"โดยประเทศไทยได้รับเชิญเข้าร่วมนำเสนอ 2 โครงการ ได้แก่1.โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองส่วนต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุขช่วงรังสิต - บางปะอิน (M5)โดยกรมทางหลวง มูลค่าการลงทุน 837.5 ล้านดอลลาร์และ2.โครงการด้านการดักจับและใช้ประโยชน์จากคาร์บอน(Carbon Capture and Utilization: CCU) มูลค่าการลงทุน 15 - 20 ล้านดอลลาร์"
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบหมายให้ กต. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการขับเคลื่อนความร่วมมือ IPEF ในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติตามความตกลงในแต่ละเสาความร่วมมือ (Pillar) และการดำเนินข้อริเริ่มและโครงการความร่วมมือต่าง ๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพครอบคลุม และยั่งยืน
ส่วนการประชุม IPEF Clean Economy Investor Forum ร่วมกับรัฐมนตรีและผู้แทนระดับสูงจาก13 ประเทศหุ้นส่วน IPEF ได้แก่ ออสเตรเลีย บรูไดนารุสซาลาม ฟีจี อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ สหรัฐ และเวียดนาม และมีนักลงทุนและผู้บริหารบริษัทจัดการกองทุนชั้นนำจากสหรัฐและประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมกว่า 300 คน
ที่ประชุมหารือถึงพัฒนาการความคืบหน้าการดำเนินการภายใต้เสาความร่วมมือที่ 2 ด้านห่วงโซ่อุปทาน (Pillar II: Supply Chain) เสาความร่วมมือที่ 3 ด้านเศรษฐกิจที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Pillar III: Clean Economy) เสาความร่วมมือที่ 4 ด้านเศรษฐกิจที่เป็นธรรม (Pillar IV: Fair Economy) และแผนการดำเนินงานในระยะต่อไป ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ร่วมลงนามความตกลง IPEF จำนวน 3 ฉบับ
ความสามารถในการแข่งขันของภูมิภาคอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้หารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีจากประเทศหุ้นส่วน IPEF ได้แก่ สหรัฐ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และนิวซีแลนด์ เกี่ยวกับการส่งเสริมการค้าการลงทุน และแสวงหาโอกาสในการดำเนินความร่วมมือระหว่างกันในหลายมิติ เช่น การพัฒนาอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ เศรษฐกิจดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ พลังงานสะอาด ห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ระบบและเกษตร