คนไทยก็แน่ไม่แพ้ใคร

คนไทยก็แน่ไม่แพ้ใคร

แรงจูงใจหนึ่งของการออกมาทำงานต่างประเทศของผมคือ อยากพิสูจน์ให้ (ตัวเอง) เห็นว่า คนไทยก็แน่ไม่แพ้ใคร

วันนี้มีคนไทยใกล้ตัวทำได้แล้วครับ ข่าวร้ายคือเค้าไม่ใช่ผม โฮ ๆ

แต่ข่าวดียิ่งกว่าคือ เค้าเป็นลูกสาวของผมเอง ซึ่งในฐานะพ่อ ภูมิใจมากมายนัก

เด็กหญิงเพียงเธอ ธำรงนาวาสวัสดิ์ หรือพิน ได้รับรางวัล Robert B. Gaw Award ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้นักเรียนดีเด่นเพียงคนเดียวเท่านั้น ในชั้นเรียนทั้งหมดเกือบ 150 คน จาก 40 กว่าประเทศ

สิ่งที่ผมอยากแชร์กับคุณผู้อ่านในวันนี้ ไม่เกี่ยวกับการที่ลูกสาวได้รางวัล แต่จะชวนคิดถึงเนื้อหา ซึ่งอาจารย์ใหญ่เป็นผู้ประกาศบนเวที ของจริงยาวกว่านี้ ผมตัดมาเฉพาะตรงส่วนที่น่าสนใจ

นี่คือพฤติกรรมที่โลกมองหาจากเด็กยุคใหม่

The Robert B. Gaw Award for Sixth Grade, goes to a student who has been described as an “engaged and passionate student” สนใจและรักการเรียนรู้ by one teacher. “Well-mannered and hardworking” มีมารยาทและทุ่มเทตั้งใจ by another and “kind and conscientious” จิตใจดีและมีสำนึกผิดชอบ by yet another.

When things are difficult, she perseveres while helping those around her. เมื่อพบกับความท้าทาย เธอไม่ยอมแพ้ และไม่ละเลยที่จะช่วยเหลือผู้อื่น Her curiosity generates many question and promotes that genuine sense of inquiry. เธอช่างสงสัย ถามคำถามมากมาย ซึ่งสร้างความเข้าใจและความอยากรู้ให้กับทั้งห้อง

With a rich tradition of culture pride in her own heritage, an ease of comfort in English, and an inspiring and increasing development in Chinese, she is truly a global citizen who transverses languages, cultures, and groups with respect and admiration for all.

ย่อหน้านี้แปลยาก ผมขอยกประโยคที่คุณลุงของพิน ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ใช้อธิบายหลานสาวว่า “เรียนรู้จากโลกโดยไม่ลืมรากเหง้า” และแถมให้ด้วยว่านี่คือ “คุณสมบัติที่สำคัญสุดของลูกหลานเราในยุคเปลี่ยนผ่าน”

She is eager to learn from others, works well with everyone, makes those around her better because of her presence เธอเรียนรู้จากผู้อื่น ทำงานได้ดีกับเพื่อนๆทุกคน ทำให้คนรอบตัวดีขึ้น

ข้อคิดสำหรับผู้นำสมอง

1. The Right Values หากเราใช้คุณสมบัติของรางวัลนี้เป็นที่ตั้ง โดยอ้างอิงจากโรงเรียนนานาชาติซึ่งดูแลเด็กกว่า 60 ชาติ โดยส่วนใหญ่เป็นลูกของตัวแทนผู้นำทั้งภาคธุรกิจ ภาครัฐ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ฯลฯ โลกยุคใหม่ต้องการผู้นำที่ จิตใจดีมีสำนึกผิดชอบ สนใจรักการเรียนรู้ มีมารยาทและทุ่มเทตั้งใจ ไม่ยอมแพ้เมื่อพบความท้าทาย และไม่ละเลยที่จะช่วยเหลือผู้อื่น ช่างสงสัย กล้าถามคำถามด้วยความสนใจและรักการเรียนรู้ วันนี้เยาวชนของเรา ซึ่งจะเป็นผู้นำในอนาคตของชาติ มีคุณสมบัติเหล่านี้แค่ไหน?

2. พัฒนาสมองส่วนหน้า ปลูกฝังสมองส่วนหลัง ความทุ่มเทตั้งใจ ไม่ยอมแพ้ กล้าถามคำถามและช่างสงสัย เป็นคุณสมบัติของสมองส่วนหน้า prefrontal cortex ปัญหาคือสมองส่วนหน้าของเด็กยังอ่อนแอ ใช้เวลายี่สิบกว่าปีในการพัฒนา สิ่งที่ผู้ใหญ่ช่วยได้คือสร้างระเบียบวินัย เช่น เล่นไอแพดได้ต่อเมื่อการบ้านเสร็จ ครั้งละไม่เกินครึ่งชั่วโมง และเป็นเกมที่สร้างสรรค์ ส่วนสมองส่วนหลังดูแลเรื่องนิสัย จิตใจดีมีสำนึกผิดชอบ สนใจรักการเรียนรู้ มีมารยาทและไม่ละเลยที่จะช่วยเหลือผู้อื่น ในส่วนนี้ผู้ใหญ่ช่วยได้ด้วยการปลูกฝัง ขอยืมประโยคของคุณ Jureeporn Luangpaiboonsri จากเฟสบุ๊คมาอธิบายตรงนี้ว่า “ลูกหลานดี เพราะมี พ่อแม่ปู่ย่าตายายญาติผู้ใหญ่ที่ดี”

เนื้อที่จำกัด ใครสนใจเพิ่มเติมเรื่องนี้หาอ่านรายละเอียดในเล่ม ผู้นำสมองใครๆ ก็เป็นได้ โดยสำนักพิมพ์เนชั่นบุ๊คส์ได้ครับ

3. เรียนรู้จากโลกโดยไม่ลืมรากเหง้า ข้อนี้ลุงธรณ์ชอบมาก แรงขับเคลื่อนของ Leadership มาจากภายใน ผู้นำที่เราชื่นชมประสบความสำเร็จด้วยความมุ่งมั่นไม่ใช่เพราะเสียงแซ่ซ้องของคนรอบข้าง ขณะที่ผมกำลังเขียนเรื่องนี้ เจ้าพินอยู่ประเทศจีนกับเพื่อน 16 คน ออกไปเรียนรู้โลกกว้าง (จริงๆ คือตามหาแพนด้าที่เมืองเฉิงตู) คุยกันทางโทรศัพท์เค้าบอกผมว่า I have made so many friends ได้มีเพื่อนมากมายจากทริปนี้ นั่นคือความเปลี่ยนแปลงสู่ยุค 4.0 จาก Independence ตัวใครตัวมัน มือใครยาวสาวได้สาวเอา ไปสู่ Interdependence การพึ่งพาอาศัยกันโดยไม่มีข้อจำกัดด้านความแตกต่าง

ครูใหญ่ประกาศผลผู้ได้รับรางวัลประจำปี 2019 ท่ามกลางเสียงปรบมือล้นหลามของคนในห้องประชุม

Her name shows her pride in her Thai heritage though we call her by a different nickname: Piangtur Thamrongnawasawat, or as we know as Pin!

13 June 2019

International School of Kuala Lumpur

สำหรับคนไทย ฟังประโยคสุดท้ายแล้วขนลุกซู่เลยครับ