วิวัฒนาการรัฐเยอรมันนี (3) ‘Bismarck ถึงสงครามโลกครั้งที่1

วิวัฒนาการรัฐเยอรมันนี (3)  ‘Bismarck ถึงสงครามโลกครั้งที่1

ในค.ศ.1848 กระแสประชาธิปไตยสะพัดไปทั่วยุโรปรวมทั้งเยอรมันนี ทำให้เกิดจลาจลไปทั่ว

ตั้งแต่มิวนิค เวียนนา และเบอร์ลิน ฝ่ายปกครองจึงจำเป็นต้องยอมผ่อนปรนให้มีการเลือกตั้ง หลังจากนั้น ผู้แทนจำนวน 600 คนประชุมกันใน Frankfurt เพื่อหาทางให้เยอรมันนีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน Bavaria ขอเป็นขั้วที่ 3 ในฐานะตัวแทนของรัฐขนาดกลางและเล็กเพื่อถ่วงดุล Prussia และ Austria พวก Protestants ต้องการเยอรมันนีขนาดเล็กเพื่อกีดกัน Austria ออกไป ในขณะที่พวก Catholic ต้องการเยอรมันนีขนาดใหญ่ที่รวม Austria ด้วย เหตุการณ์พลิกผันในค.ศ.1849 เมื่อออสเตรียประกาศใช้รัฐธรรมนูญที่รวมเอาฮังการีกับอิตาลีตอนเหนือเป็นส่วนหนึ่งของรัฐหนึ่งเดียว ซึ่งเรื่องนี้เป็นที่รังเกียจของรัฐเยอรมันต่างๆ ว่ามีชนชาติอื่นมาอยู่ด้วย ฝ่ายที่ต้องการรัฐเยอรมันนี ขนาดเล็กจึงประกาศจัดตั้งจักรวรรดิเยอรมันนีโดยมีกษัตริย์ Frederick William IV แห่ง Prussia ทรงดำรงตำแหน่งพระจักรพรรดิ แต่พระองค์ทรงปฏิเสธเพราะเห็นว่าการแต่งตั้งต้องมาจากมวลหมู่กษัตริย์ด้วยกันเท่านั้น ไม่ใช่มาจากสภาที่เป็นเพียงประชาชนธรรมดา ความเปลี่ยนแปลงในระหว่างรัฐ เยอรมันจึงไม่เกิดขึ้นและการแย่งชิงความเป็นผู้นำระหว่าง Prussia กับ Austria ยังคงดำรงอยู่ ซึ่งจะตัดสินกันในความขัดแย้ง Schleswig-Holstein ต่อไป

รัฐ Schleswig กับ Holstein ขึ้นอยู่กับกษัตริย์เดนมาร์ค ตั้งแต่ค.ศ.1460 แต่ Holstein เป็นส่วนหนึ่งของ German Confederation ปัญหาจึงคุกรุ่น แต่มาตัดสินเอาเมื่อกษัตริย์ Frederick VII แห่งเดนมาร์คสิ้นพระชนม์โดยไม่มีรัชทายาทที่เป็นชาย แต่กษัตริย์ Christian IX ที่เป็นหญิงครองราชย์ สืบต่อมา เรื่องเช่นนี้ทำได้ใน Schleswig แต่ทำไม่ได้ใน Holstein ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ German Confederation Prussia กับ Austria จึงยกกองทัพร่วมบุกเข้าไปยึดรัฐทั้ง 2 ให้มาเป็นส่วนหนึ่งของ สหพันธรัฐ หลังจากนั้น ทั้ง 2 ก็แย่งชิงอำนาจปกครองในขณะที่ Austria ยังคงเป็นประธานของ สหพันธรัฐ Otto Von Bismarck นายกรัฐมนตรีของ Prussia ใช้เล่ห์เพทุบายเข้าครองทั้ง 2 รัฐ แต่ Prussia แพ้เสียงในสภาที่ประนาม Prussia ว่าใช้อำนาจบาตรใหญ่ Bismarck ไม่สนใจอีกตามเคย ส่งกองทัพเข้ายึดทั้ง 2 รัฐและประกาศว่า German Confederation หมดสภาพในปี 1866 นั่นเอง ฝ่ายรัฐ Saxony Hanover และ Hesse Kassel ปฏิเสธที่จะเข้าข้าง จึงถูก Prussia ยกกองทัพ เข้ายึดเช่นเดียวกัน 

ในขณะนั้น Helmuth von Moltke เป็นผู้บัญชาการทหารของ Prussia นวัตกรรมการรบที่สำคัญ 2 ประการที่เขาใช้คือ การส่งกำลังรบไปถึงที่หมายหลายจุดด้วยความรวดเร็วพร้อม ๆ กัน และการใช้ปืนยาว Dreyse ที่บรรจุกระสุนได้เร็วกว่าปืนยาวธรรมดาของ Austria ที่ยังคงต้องกระทุ้งดินปืนหลายเท่าตัว เขาใช้เวลาเพียง 7 สัปดาห์บุกไปถึงเวียนนาและลงนามในสนธิสัญญาสงบศึก โดยให้ราชวงศ์ Habsburg ของออสเตรียที่เป็นผู้นำของรัฐเยอรมันทั้งมวลมาถึง 4 ศตวรรษ ส่งมอบตำแหน่งอย่างเป็นทางการให้ราชวงศ์ Hohenzollern แห่ง Prussia ด้วย Prussia จึงได้ชัยชนะโดยเด็ดขาดทั่วทั้งเยอรมันนี สนธิสัญญายังระบุให้ออสเตรียยอมรับโครงสร้างของเยอรมันนีใหม่ที่ไม่มีออสเตรีย ซึ่งเป็นสิ่งที่ Bismarck ต้องการทำให้ออสเตรียเสียหน้าอย่างยิ่ง

รัฐเยอรมันนีใหม่นี้ประกอบด้วย Protestants เป็นส่วนใหญ่ ส่วนรัฐที่เป็นคาทอลิคทางใต้ 3 รัฐ คือ Baden Württemberg และ Barvaria ได้รับ “อิสรภาพในเวทีระหว่างประเทศ” ตามคำรับรองของ Bismarck

ชัยชนะของ Prussia ในสงคราม 7 สัปดาห์สร้างความตื่นตระหนกและไม่พอใจในฝรั่งเศสต่อ ความเติบกล้าของ Prussia ความรู้สึกยิ่งมากขึ้นไปอีกต่อข่าวที่ว่าราชวงศ์ Hohenzollern จะรับนั่งบัลลังก์ที่ว่างของสเปนด้วย กษัตริย์ William I แห่ง Prussia จึงจำเป็นต้องถอนตัว แต่ปฏิเสธที่จะให้คำรับรองต่อทูตฝรั่งเศส เมื่อ Bismarck ได้ทราบว่าการขยายอำนาจสู่สเปนเป็นไปไม่ได้ จึงผิดหวังและพยายามสร้างข่าวว่า William I ปฏิบัติไม่ดีต่อทูตฝรั่งเศส ความรู้สึกในฝรั่งเศส จึงระเบิดออกมา รัฐบาลฝรั่งเศสประกาศสงครามต่อ Prussia ในวันที่ 19 ก.ค.1870 แต่กองทัพฝรั่งเศสพ่ายแพ้อย่างรวดเร็วในเวลาที่น้อยกว่า 7 สัปดาห์ของออสเตรียเสียอีก กองทัพPrussiaเข้าไป ในพระราชวังแวร์ซายส์ได้ก่อนแล้วและทำพิธีสถาปนากษัตริย์แห่ง Prussia ขึ้นเป็นพระจักรพรรดิแห่งเยอรมันนีทั้งมวลที่ท้องพระโรงกระจกอันมีชื่อเสียงของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 หลังจากนั้น 5 วัน คณะผู้แทนจากปารีสจึงมาลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกที่เรียกว่า Franco-Prussian War ในเดือนม.ค. ของปี 1871

สงครามกับฝรั่งเศสทำให้ความฝันของ Bismarck ในการสร้างจักรวรรดิเยอรมันนีกลายเป็นความจริงเร็วขึ้น การเจรจากับ Barvaria ประสบความสำเร็จในเดือน พ.ย.ปีนั้นเอง โดยการยอมผ่อนปรนให้ในลักษณะที่ดูเหมือนเป็นรัฐกึ่งอิสระ แต่ความเป็นจริงคืออยู่ภายใต้การนำของ Prussia

การสถาปนาพระจักรพรรดิแห่งเยอรมันนีที่พระราชวังแวร์ซายส์ถือเป็นการหยามเกียรติฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก อันเป็นการตอบแทนที่สาสม ที่นโปเลียได้ทำกับ Prussia ฝรั่งเศสต้องยกแคว้น Alsace-Lorraine ให้เยอรมันนีพร้อมกับค่าปฏิกรรมสงคราม 5,000 ล้านฟรังค์และยอมให้กองทัพเยอรมันคงอยู่จนกว่าจะจ่ายเงินครบถ้วน กองทัพเยอรมันนีสวนสนามบนถนนในปารีส จักรวรรดิเยอรมันนีของ Bismarck ประกอบด้วยราชอาณาจักร 4 แห่ง ดินแดนขนาดใหญ่ 5 แห่ง ดินแดนขนาดเล็ก และรัฐขนาดเล็ก 13 แห่งกับเมืองอิสระอันได้แก่ Hamburg, Lübeck และ Bremen ในปี 1871 Prussia จึงกลายเป็น Germany ณ. จุดนั้น 

157776998362

Bismarck เข้าไม่ได้กับพระจักรพรรดิ William II ซึ่งเป็นพระองค์ที่ 3 ที่เขาทำงานด้วยและ ถูกบังคับให้ลาออกในปี 1890

ในช่วง 1 ใน 4 ศตวรรษของ Bismarck การเมืองในเยอรมันนีแทบจะเป็นอัมพาตจากโครงสร้าง 2 ส่วนที่แยกจากกันเด็ดขาด กล่าวคือ Reichstag หรือสภาได้สมาชิกมาจากการเลือกตั้งโดยคะแนน เสียงทั่วไป ในขณะที่สภาในรัฐต่างๆ ยังไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด รัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ Prussia มีประชากร 30 ล้านคน รัฐถัดมาคือ Barvaria มีเพียง 5 ล้านคน Reichstag มีความเป็นเสรีนิยมสูง ในขณะที่ Prussia ใช้วิธีเลือกตั้งที่ไม่เป็นความลับและเจ้าของที่ดินมักจะได้รับเลือก Social Democrats เป็นพวกที่มีความคิดก้าวหน้า เริ่มต้นค่อนไปทาง Marxist แต่ก็กลายเป็น Democrats ธรรมดา ในที่สุดที่เชื่อว่าความเปลี่ยนแปลงไม่มีความจำเป็นต้องได้มาด้วยการปฏิวัติเสมอไป แต่ Reichstag ก็ไม่ได้มีอำนาจมากมายอะไรเพราะว่า Bismarck วางโครงสร้างให้ภาษีทางตรงที่อาจกระทบผลประโยชน์ของเจ้าที่ดินให้อยู่ที่สภาของรัฐต่างๆ ส่วน Reichstag มีอำนาจเฉพาะภาษีทาง อ้อม ดังนั้น อำนาจโดยส่วนใหญ่จึงคงอยู่ที่พระจักรพรรดิ โดยเฉพาะ William III และที่ปรึกษาอาวุโส ทางทหารของพระองค์ในแนวทางที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและอยู่คู่กับ Prussia มานมนานและยังคงอยู่ อันเป็นยุทธศาสตร์ระยะยาวที่จะปกป้องสถานะของเยอรมันนีท่ามกลางสิ่งที่เห็นว่าเป็นศัตรูที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้จากเพื่อนบ้านในยุโรป

เยอรมันนีที่เปลี่ยนแปลงโดย Bismarck เป็นมหาอำนาจที่ค่อนข้างใหม่ในเวทีโลก แต่ขนาดของจักรวรรดิไม่อาจเทียบได้กับสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และรัสเซีย และไม่มีกองทัพเรือที่ยิ่งใหญ่อันเป็นสัญลักษณ์ของมหาอำนาจระหว่างประเทศ ในขณะนั้นมีเพียงฝรั่งเศlที่อาจเป็นศัตรูเพื่อแก้แค้นในการเอาคืน Alsace Lorraine ได้ทุกเมื่อ โดยมีสหราชอาณาจักรที่เป็นกลาง ดังนั้น Bismarck จึงสร้างพันธมิตรกับรัสเซีย ออสเตรีย-ฮังการี และอิตาลี

หลังจาก Bismarck ลาออกในปี 1890 พระจักรพรรดิพระองค์ใหม่และที่ปรึกษาทั้งมวลเห็นว่า พันธมิตรกับรัสเซียไม่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของออสเตรีย-ฮังการี บนคาบสมุทรบอลข่าน จึงขอยกเลิกพันธมิตรกับรัสเซีย ซึ่งก่อให้เกิดพันธมิตรระหว่างฝรั่งเศส-รัสเซียในปี 1894 สิ่งที่น่าประหลาดใจยิ่งขึ้นคือสหราชอาณาจักรกับฝรั่งเศสลงนามในสนธิสัญญา Entente Cordiale ในปี 1904 ดังนั้น พันธมิตรที่เหลือของเยอรมันนีจึงแทบไม่มีความหมาย ด้วยออสเตรีย-ฮังการีกำลังอยู่ในช่วงพระอาทิตย์ตกดิน และอิตาลีก็เล็กเหลือเกิน

จุดวาบไฟมาจาก Bosnia ที่ซึ่งรัชทายาทของออสเตรีย-ฮังการี ถูกลอบสังหารในซาราเจโว โดยนักชาตินิยม ชาวเซอร์เบีย ในปี 1914 ออสเตรีย-ฮังการี อยากจะบุกเซอร์เบีย แต่เกรงว่ารัสเซียจะแทรกแซง จึงสอบถามพันธสัญญาจากเยอรมันนี ซึ่งคาดการณ์ว่ารัสเซียคงจะไม่ทำอะไรจึงตอบตกลง หลังจากนั้น จึงเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่ 1 แต่ว่ารัสเซียเกิดแทรกแซงขึ้นมา เยอรมันนีจึงประ กาศสงครามกับรัสเซียตามมาด้วยฝรั่งเศสที่เป็นพันธมิตร แต่การที่เยอรมันนีบุกฝรั่งเศสผ่านเบลเยี่ยม ตามสูตร Franco-Prussia War ในปี1871 เป็นการทำลายความเป็นกลางของเบลเยี่ยม สหราชอาณาจักร จึงประกาศสงครามกับเยอรมันนี สงครามครั้งนี้ไม่ได้ง่ายเหมือนสงคราม 7 สัปดาห์กับออสเตรียอย่างที่เยอรมันนีคิด

วันที่ 3 ต.ค. 1918 พระจักรพรรดิทรงแต่งตั้ง Prince Max แห่งรัฐ Baden เป็นนายกรัฐมนตรีเพื่อหาทางสงบศึก วันที่ 11 พ.ย.1918 เวลา 05.00 น. ทั้ง 2 ฝ่ายบรรลุในข้อตกลงสงบศึก โดยฝ่ายพันธมิตรส่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด Marshal Foch และฝ่ายเยอรมันมีคณะผู้แทนที่แต่งตั้งโดย Prince Max ในฐานะของสาธารณรัฐเยอรมันนี ภายหลังจากที่มีการปลดพระจักรพรรดิออกจากตำแหน่ง การลงนามกระทำบนตู้รถไฟที่ Rethondes ใน Forest of Complegne ทางเหนือของปารีส