มาร่วมกันสร้างโลกใหม่ของ SMEs (จบ)

มาร่วมกันสร้างโลกใหม่ของ SMEs (จบ)

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐที่ได้นำเสนอข้อมูลไปแล้ว ได้แก่ การสำรวจข้อมูล SMEs ที่ถูกต้อง การปรับโครงสร้างองค์กรของสสว.

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการช่วยเหลือ SMEs ยังมีเรื่องเร่งด่วนที่ภาครัฐจะต้องเร่งดำเนินการคือการตั้งคณะทำงานแก้ไขหนี้นอกระบบของ SMEs ที่ไม่สามารถเข้าถึงสถาบันการเงินได้ 

ส่วนใหญ่จะเป็น SMEs ขนาดเล็กนอกสำมะโนธุรกิจ ที่มีมากกว่า 2 ล้านราย จัดตั้งกองทุนแก้ไขหนี้นอกระบบ กำหนดผู้รับผิดชอบ กำหนดหลักเกณฑ์ในการให้ความช่วยเหลือ คัดกรองลูกหนี้โดยลูกหนี้ที่ยังมีโอกาสในการดำเนินธุรกิจ ให้กองทุนสนับสนุน

เงินทุนเพื่อชำระหนี้นอกระบบ และอัดฉีดเม็ดเงินเพิ่มเติมเพื่อเสริมสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ

ลูกหนี้ที่ไม่มีโอกาสทางธุรกิจ ให้กองทุนชำระหนี้นอกระบบ และส่งให้ สสว ให้คำแนะนำเพื่อปรับ

เปลี่ยนอาชีพที่เหมาะสมต่อไป

ปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของ SMEs ไทยที่มีความสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่จะต้องได้รับการแก้ไขคือเมื่อผลิตสินค้าแล้วไม่มีช่องทางในการกระจายสินค้า หรือ Distribution Chanel ในด้านของการจำหน่ายสินค้า รัฐจะต้องทำหน้าที่ประสานงานส่งเสริมให้ SMEs ขายของได้ ในรูปแบบของการค้าขายแบบดั้งเดิมรัฐได้จัดตั้งตลาดประชารัฐเพื่อให้ SMEs จำหน่ายสินค้าแต่ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากอยู่ในทำเลที่ไม่เหมาะสม รัฐควรจะประสานงานให้มีการจัดสถานที่ในรูปแบบของถนนคนเดิน เพื่อให้ SMEs ได้จำหน่ายสินค้า หรือขอความร่วมมือให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น ธนาคารออมสิน เปิดสถานที่ให้พ่อค้าแม่ค้าหาบเร่ แผงลอยซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกค้าของธนาคารได้จำหน่ายสินค้าในวันหยุด ธกส. เปิดใต้ถุนให้เกษตรกรนำผลผลิตทางการเกษตรจำหน่ายสินค้า รวมทั้งประสานงานให้ห้างสรรพสินค้าทุกแห่งมีพื้นที่ในการจำหน่ายสินค้า 

ในส่วนของ SMEs ที่อยู่ในอุตสาหกรรมการผลิตรัฐควรเป็นตัวกลางส่งเสริมในการเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และภาคการผลิตอื่นเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์

ในแง่ของ Digital Disruption ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว รัฐจะต้องส่งเสริมให้มีการจัดตั้ง

SMEs MARKETPLACE ในทุกพื้นที่ เปิด Platform เพื่อเป็นช่องทางในการจำหน่ายสินค้า รวม

กลุ่มคนที่มีกำลังซื้อ เจ้าของกิจการ ผู้นำองค์กร เพื่อรวมตัวกันในตลาด ไดร์ฟสมาชิกเพื่อขายสินค้าของ SMEs ที่เป็นสมาชิกกลุ่มให้ขยายตัวมากยิ่งขึ้น 

ถ้าเป็นไปได้รัฐควรสนับสนุนเงินกู้ SMEs กำหนดเงื่อนไขที่ไม่ยุ่งยาก คล้ายรูปแบบของโครงการ Economic Injury Diaster Loan (EIDL) ในสหรัฐอเมริกา ให้กู้สูงสุดรายละไม่เกิน 10,000 ดอลลาร์ ด้วยดอกเบี้ยที่ต่ำมาก เรียกอย่างเป็นทางการว่า Helicopter Loan ซึ่งดีกว่าการแจกเงินหรือ Helicopter Money ในเมืองไทย

สถาบันการเงินเป็นองค์กรที่สำคัญที่จะช่วยผลักดันในการปฏิรูป SMEs ไทย ปัญหาเรื่อง

NPL ที่เพิ่มสูงขึ้น และการเริ่มใช้มาตรฐานบัญชีใหม่ TFRS 9 ถ้าร่วม SM ที่ยังคงได้รับการยกเว้น

ในขณะนี้ สัดส่วนการกันสำรองของ 5 แบงก์ใหญ่ จะเหลือเพียง 67.9-118.1 % เท่านั้น ธนาคารทุกแห่งจึงตั้งการ์ดสูงมาก ทำให้ SMEs เข้าถึงแหล่งทุนลำบากยิ่งขึ้น โจทย์ใหญ่และยากของแบงก์ในการช่วยเหลือ SMEs จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทั้ง ธปท. และธนาคารพาณิชย์ จะต้องหาทางออกร่วมกันเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการช่วยเหลือ SMEs

ขณะที่ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนช่วยเหลือ SMEs ให้อยู่รอดได้คือคู่ค้าที่เป็นธุรกิจรายใหญ่ ทั้งธุรกิจภาคการค้า ภาคกการผลิต และการบริการ จะต้องสร้างสิ่งที่เรียกว่า Emphaty

มีความเห็นอกเห็นใจ มีโครงการรายใหญ่ช่วยรายเล็ก ปัจจุบันเลูกหนี้การค้าของ SMEs ประมาณ

4 ล้านล้านบาท ถ้ารายใหญ่จ่ายเร็ว 1 วัน SMEs จะมีเงินหมุนเวียนในธุรกิจ 1 หมื่นล้านบาทต่อวัน

ผู้ทีมีบทบาทสำคัญที่สุดในการปฎิรูป SMEs คือผู้ประกอบการที่จะต้อง Life long learning ต้องพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง มี Skill สำคัญสำหรับอนาคตที่จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ให้ความสำคัญกับเรื่องความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ สวม Mask ป้องกันความเสี่ยงทางธุรกิจ มีวินัยการ์ดไม่ตก มีจิตสำนึกในการจัดการวิกฤติการณ์ (Crisis Management)

ขอให้ใช้วิกฤติที่รุนแรงครั้งนี้ร่วมกันสร้างโลกใหม่ของ SMEs ครับ..