การตลาดในยุคที่ผู้บริโภค ‘ป่วยใจ’
จากปี 2019 มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงขึ้นถึง 22% ในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย และจาก google keyword trend คนไทยคนหาคำว่า โรคซึมเศร้า สูงขึ้น 39%
ด้วยอาการที่รู้สึกโดดเดี่ยว กังวล และซึมเศร้า สาเหตุที่คนเราทุกวันนี้ป่วยใจเพราะการใช้เวลาอยู่บนโลก social media มากเกินไปทำให้จิตวิญญาณและการเชื่อมโยงกันระหว่างผู้คนนั้นถดถอยไป
การวิจัยพบว่า ผู้บริโภคชาวอเมริกัน 25% ไม่มีใครสักคนที่รู้สึกว่ามีคนที่ใกล้ชิดพอที่จะเล่าปัญหาให้ฟังได้ นั่นคือ 1 ใน 4 ของคนที่เราพบเห็นทุกวันนี้ไม่มีใครคุยด้วย และการขาดการติดต่อสื่อสารนี้เองที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของมนุษย์
ซึ่งมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องการการติดต่อทางสังคม มนุษย์ถูกพัฒนามาให้ทำงานร่วมกัน ติดต่อประสานงานกับคนอื่น และ เมื่อสิ่งเหล่านี้หายไปจึงทำให้ป่วยใจ และป่วยกายง่ายขึ้น
งานวิจัยแสดงให้เห็นว่า ยิ่งพวกเราเชื่อมโยงกันทางสังคมมากเพียงใด เราก็ยิ่งมีอายุยืนขึ้น และถ้าป่วย โอกาสที่จะหายป่วยกาย ก็มีมากขึ้น และหายป่วยเร็วขึ้น การแยกตัว และ ความโดดเดี่ยว นั้น ที่จริงแล้วทำให้เราเสี่ยงต่อโรคและความตายมากกว่าการสูบบุหรี่เสียอีก
การเชื่อมโยงทางสังคมมีผลอย่างมากต่อสุขภาพใจ มากกว่าที่การออกกำลังกายมีผลต่อร่างกายเสียอีก เพราะการเชื่อมโยงทางสังคมจะกระตุ้นระบบการให้รางวัลของสมองแบบเดียวกับการกระตุ้นเมื่อใช้สารเสพติด แอลกอฮอล์ หรือ กินชอกโกแลต ที่ทำให้มนุษย์รู้สึกดี อย่างไรก็ดี Social media แม้จะเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ผู้บริโภคประสบสภาวะขาดการเชื่อมโยง แต่เราก็ปฎิเสธไม่ได้ว่ามันคือวิวัฒนาการของมนุษย์ ที่เมื่อเปลี่ยนไปแล้วยากที่จะกลับมาที่จุดเดิม หลายแบรนด์จึงเลือกใช้ประโยชน์จาก social media ในการเชื่อมโยงกัน โดยพยายามสร้างสังคมที่ดีขึ้นบนโลกออนไลน์
วันนี้จะขอยกตัวอย่างแบงค์ เพราะหลายคนอาจนึกไม่ถึงว่าแบงค์จะทำการตลาดแบบ mental health care ได้อย่างไร?
ซึ่ง frost bank ใน Texas สหรัฐอเมริกา ใช้ประโยชน์จาก social media ในการสร้างความเชื่อมโยงบนออนไลน์คอมมูนิตี้ โดยออกแคมเปญ opt for optimism ด้วยการเชิญชวนให้ผู้บริโภคมาเข้าร่วม “30-day Optimism Challenge.” ซึ่งจะมี ทิปส์ ต่างๆ ในการปฎิบัติตัวสู่การมีสุขภาพจิตที่ดี ตลอดระยะเวลา 30 วัน เพื่อให้ผู้บริโภคมองโลกแง่ดี เพราะเค้าวิจัยมาแล้วว่าการมีสุขภาพจิตที่ดี ส่งผลต่อสุขภาพการเงินที่ดี เพราะสามารถลงทุนได้อย่างมีสติมากขึ้น หรือ Jan sport แบรนด์กีฬา ที่ปกติเน้นสุขภาพกาย ก็หันมาเน้นการสร้าง community กับผู้บริโภคด้วยการออก live สด ทุกวันพุธ เพื่อร่วมทำ workshop ให้ผู้บริโภครู้สึกดีต่อตัวเอง
จากตัวอย่างข้างต้นของแบรนด์ในการทำการตลาดคีย์เวิร์ดที่สำคัญคือ “ความใส่ใจ” ทำอย่างไรก็ได้ให้ผู้บริโภครู้สึกว่าแบรนด์ใส่ใจในเรื่องของสุขภาพใจ หรือ สุขภาพกายของผู้บริโภค ซึ่งเมื่อผู้บริโภครู้สึกดีต่อตัวเอง ย่อมรู้สึกดีต่อแบรนด์ไปโดยปริยายค่ะ