‘นาหมื่นศรี’ แม่แบบของการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดย ‘เซ็นทรัล ทำ’

‘นาหมื่นศรี’ แม่แบบของการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดย ‘เซ็นทรัล ทำ’

"นาหมื่นศรี" แม่แบบของการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดย "เซ็นทรัล ทำ" ภายใต้สโลแกนว่า ทำด้วยกัน ทำด้วยใจ เป้าหมายเพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ และยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับคนไทยทั่วประเทศ

กลุ่มเซ็นทรัล ขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนในหลายมิติ โดยหนึ่งในพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง จนสามารถใช้เป็นจังหวัดแม่แบบของการพัฒนาอย่างยั่งยืน นั่นคือ จังหวัดตรัง ชุมชนนาหมื่นศรี โดย เซ็นทรัล ทำ โครงการด้านความยั่งยืนของกลุ่มเซ็นทรัล ที่ก่อตั้งขึ้นด้วยความเชื่อในพลังของการลงมือทำ ภายใต้สโลแกนที่เรียบง่ายแต่ทรงพลังว่า ทำด้วยกัน ทำด้วยใจ เป้าหมายเพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ และยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับคนไทยทั่วประเทศ ผ่านแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน 17 ข้อ (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ผ่าน 6 แนวคิดหลัก ได้แก่     

  1. Community พัฒนาศักยภาพและส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน     
  2. Inclusion ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเสมอภาคในการเข้าถึงโอกาสอย่างเท่าเทียม     
  3. Talent พัฒนาศักยภาพที่เป็นเลิศของบุคลากร     
  4. Circularity ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน     
  5. Climate ฟื้นฟูสภาพอากาศ     
  6. Nature อนุรักษ์ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ     

‘นาหมื่นศรี’ แม่แบบของการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดย ‘เซ็นทรัล ทำ’

พิชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการบริหาร กลุ่มเซ็นทรัล และหัวเรือใหญ่ของ โครงการ เซ็นทรัล ทำ กล่าวว่า พลังของการลงมือทำ คือสิ่งที่ผมเชื่อมั่นและผลักดันเสมอ การทำงานอย่างจริงจังเป็นเวลาหลายสิบปีของกลุ่มเซ็นทรัล มุ่งเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกที่ที่เซ็นทรัลเข้าไปมีบทบาท ไม่ใช่เพียงการดำเนินธุรกิจ แต่ต้องยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ควบคู่ไปด้วย เป้าหมายของเราคือ ความยั่งยืน เพื่อให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำ และให้คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงโอกาสได้อย่างเท่าเทียม

จังหวัดตรัง อนุรักษ์วัฒนธรรม สร้างเศรษฐกิจชุมชน

จุดเริ่มต้นของโครงการ เซ็นทรัล ทำ ในภาคใต้ เริ่มในปี 2557 ที่จังหวัดตรัง ณ ชุมชนนาหมื่นศรี ที่มีประวัติศาสตร์การทอผ้ามายาวนานกว่า 200 ปี แรกเริ่ม กลุ่มเซ็นทรัล เข้าไปช่วยรวมกลุ่มช่างทอ จัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี รวบรวมลายผ้าโบราณ และเปิดร้านค้าจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผ้าทอ จากนั้นได้ปรับปรุงชั้น 2 ของโรงทอผ้าเดิมซึ่งเป็นอาคารไม้ให้เป็น พิพิธภัณฑ์ผ้าทอนาหมื่นศรี

‘นาหมื่นศรี’ แม่แบบของการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดย ‘เซ็นทรัล ทำ’

โครงการศูนย์การเรียนรู้ ชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี

โครงการศูนย์การเรียนรู้ ชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี ประกอบด้วย โรงทอผ้า, พิพิธภัณฑ์ผ้าทอ, ร้านค้าวิสาหกิจชุมชนนาหมื่นศรี ซึ่งถูกเชื่อมโยงสู่การท่องเที่ยวชุมชน พร้อมด้วยมัคคุเทศก์น้อยที่จะมาบอกเล่าถึงตำนานผ้าทอนับร้อยปี ของตำบลนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง พร้อมพัฒนาสู่การท่องเที่ยวชุมชนระดับประเทศ ที่ยังคงอัตลักษณ์ท้องถิ่นไว้อย่างลงตัว

  1. อาคารศูนย์การเรียนรู้ชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี ออกแบบภายใต้แนวคิด “อยู่กับผ้า” ด้วยรูปแบบและโครงสร้างอาคารที่เรียบง่าย เปิดโล่ง และเข้ากับบริบทโดยรอบของชุมชน ใช้วัสดุไม้เป็นหลัก และเพิ่มความโดดเด่นด้วยการใช้ผ้าทอนาหมื่นศรีตกแต่งภายในอาคาร เพื่อเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้เรื่องราวของตำนานผ้าทอนับร้อยปีของชาวชุมชนนาหมื่นศรี
  2. พิพิธภัณฑ์ผ้าทอนาหมื่นศรี จัดทำภายใต้แนวคิด สืบโยด สาวย่าน หมายถึง การสืบสาวเรื่องราวผ้าทอ ให้เห็นถึงคุณค่าของผ้าทอนาหมื่นศรี อันเป็นมรดกทางภูมิปัญญาท้องถิ่นมานับร้อยปี ซึ่งลายดั้งเดิมคือ ลายลูกแก้ว ลายราชวัตร ลายแก้วชิงดวง และเป็นสถานที่ที่รวบรวมลายผ้ามรดก ที่เกิดจากการสืบทอดของช่างทอในชุมชน และอยากชวนให้คนไทยได้มาเห็นคุณค่าของผ้าทอเมืองตรัง และให้เยาวชนภายในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วยการเป็นมัคคุเทศก์ พาชมผ้าโบราณและบอกเล่าเรื่องราวของลายผ้าต่างๆ รวมไปถึงการแต่งกายของยุคปู่ย่า-ตายาย
  3. ร้านค้าวิสาหกิจชุมชนนาหมื่นศรี ตั้งอยู่ด้านหน้าของอาคารพิพิธภัณฑ์ผ้าทอนาหมื่นศรี โดยออกแบบอาคารให้มีความเชื่อมโยงต่อเนื่องกัน ภายในจำหน่ายผลิตภัณฑ์ อาทิ ผ้าทอ, กระเป๋า, เสื้อ, หมวก ฯลฯ ซึ่งทาง กลุ่มเซ็นทรัล ได้ร่วมออกแบบกับชุมชนนาหมื่นศรี เพื่อจัดจำหน่ายภายใต้แบรนด์ Good Goods ได้แก่ เสื้อ กางเกง และผ้าคลุมไหล่ รวมถึงให้ความรู้เรื่องการจัดการสต๊อก การจัดหน้าร้าน การออกแบบ ทำบัญชี การคิดต้นทุน การขายออนไลน์
  4. จัดทำเส้นทางจักรยานท่องเที่ยวชุมชน ภายในตำบลนาหมื่นศรี และทำป้ายข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว พร้อมจัดจักรยานให้เช่าบริการแก่นักท่องเที่ยว

‘นาหมื่นศรี’ แม่แบบของการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดย ‘เซ็นทรัล ทำ’

เสริมสร้างการศึกษาและอาชีพชุมชน

กลุ่มเซ็นทรัล ได้สนับสนุนและผลักดันด้านการศึกษา ตลอดจนส่งเสริมอาชีพคนพิการและดูแลสิ่งแวดล้อมในพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง ดังนี้

  • โรงเรียนในจังหวัดตรัง 19 โรงเรียน เข้าร่วมโครงการโรงเรียนประชารัฐ   
  • พัฒนาโรงเรียนผ่านโครงการโรงเรียนคุณธรรม และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา โดยความร่วมมือกับมูลนิธิยุวสถิรคุณ ภายใต้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์   
  • เข้าร่วมโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership Schools) กับกระทรวงศึกษาธิการ โดยลงนาม MOU ร่วมกับโรงเรียน และวิทยาลัยระดับอาชีวศึกษาในภูมิภาคต่างๆ ในภาคใต้ได้คัดเลือกโรงเรียนบ้านควนสวรรค์ และวิทยาลัยเทคนิคตรัง ในการทำโครงการ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของการศึกษาจากระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานไปสู่ระดับอาชีวศึกษา นอกจากนี้มีการมอบทุนการศึกษาให้กับสถานศึกษาทั้ง 2 แห่ง จำนวนทั้งสิ้น 414 ทุน (2561-2567)
  • ผลักดันให้โรงเรียนเข้ารับการประเมินเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐกิจพอเพียงระดับชาติ
  • ส่งเสริมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการพัฒนาเส้นใยผ้าให้แก่วิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี อาทิ ผ้าทอนาโน ใยผ้าจากกล้วย เป็นต้น     
  • ส่งเสริมอาชีพให้กับคนพิการในจังหวัดตรัง โดยร่วมมือกับสมาคมกีฬาคนพิการทางการเคลื่อนไหวและร่างกาย จังหวัดตรัง     
  • จัดตั้งโครงการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่เพื่อการจำหน่าย รวมทั้งสิ้น 49 ครัวเรือน กระจายอยู่ใน 5 อำเภอ     
  • จัดการดูแลด้านสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการจัดการขยะในชุมชน จัดถังขยะแยกประเภทให้แก่โรงเรียนและชุมชน     
  • ส่งเสริมการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ การใช้พลังงานสะอาดในชุมชน การผลิตผลิตภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม     

‘นาหมื่นศรี’ แม่แบบของการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดย ‘เซ็นทรัล ทำ’

โครงการนาหมื่นศรี สร้างรายได้กว่า 118 ล้านบาท ให้กับชุมชนและครัวเรือนในพื้นที่ 155 ครัวเรือน จึงนับเป็นต้นแบบศูนย์การเรียนรู้การอนุรักษ์เชิงวัฒนธรรม โดยมีนักท่องเที่ยวและผู้แทนหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชนมาเยี่ยมชม และซื้อสินค้ากว่า 21,000 คนต่อปี และสินค้าที่ร่วมพัฒนากับชุมชนนาหมื่นศรีและจัดจำหน่ายภายใต้แบรนด์ Good Goods สามารถสร้างยอดขายรวมได้กว่า 1,565,990 ล้านบาท รวมถึงการสนับสนุนสินค้าเกษตรท้องถิ่น เช่น จริงใจ ฟาร์มเมอร์ มาร์เก็ต หรือตลาดจริงใจ ที่ช่วยให้เกษตรกรรายย่อยในพื้นที่มีช่องทางการจำหน่ายสินค้าสู่ผู้บริโภคโดยตรง 

ก้าวต่อไปสู่ความยั่งยืนในระดับประเทศ

กลุ่มเซ็นทรัล ยังคงมุ่งมั่นที่จะขยายแนวคิดการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนไปยังพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทย มุ่งเน้นการพัฒนาหลากมิติตาม 6 แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน พร้อมผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรมดั้งเดิม เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ที่ยั่งยืนแก่ชุมชน และคนไทยรุ่นต่อไป

‘นาหมื่นศรี’ แม่แบบของการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดย ‘เซ็นทรัล ทำ’ ‘นาหมื่นศรี’ แม่แบบของการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดย ‘เซ็นทรัล ทำ’