“อยู่ดี-ยั่งยืน”ในงาน SX2022 7ธีม7วันกับกิจกรรมเด็ดแห่งปี
Sustainability Expo (SX2022) หรือ มหกรรมด้านความยั่งยืน ที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ได้เตรียม 7 ธีมสำหรับกิจกรรมต่างๆตลอด งานทั้ง 7วัน คือ 26 ก.ย. 2565 - 2 ต.ค. 2565
ในแต่ละวันกำหนดธีมกิจกรรมที่น่าสนใจเรียงลำดับกันไป ได้แก่ Callaboration Day ,Community,Climate,Health &Well Being Day ,Sustainable Living &Consumption,Innovation &Showcase Day และCommitment Day
นอกจากนี้ รูปแบบการจัดงานได้แบ่งเป็นโซนต่างๆที่สอดคล้องกับแต่ละธีมและกิจกรรมที่กำหนดขึ้น ซึ่งในส่วนของโซน Better Living นำเสนอกิจกรรมและโครงการขององค์กรชั้นนำขนาดใหญ่ที่ดำเนินการเพื่อส่งเสริมระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และการยกระดับคุณภาพชีวิต การนำแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนไปใช้ตลอดกระบวนการผลิต ห่วงโซ่มูลค่า เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์หรือ Net Zero
“โซน Better Living จะช่วยกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมที่เกิดจากพฤติกรรมและกิจกรรมต่างๆ ของตน รวมถึงแนะนำแนวทางในการปรับเปลี่ยนที่จะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน”
สำหรับงาน SX2022 ได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายด้าน ความรู้ โครงการต่างๆ แนวคิดที่น่าสนใจ รวมถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อช่วยให้องค์กรและประชาชนทั่วไปได้ร่วมกันสร้างความยั่งยืนและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว ตลอดจนกิจกรรม เวิร์คช็อปที่ส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน การบรรยายและให้ความรู้โดยผู้เชี่ยวชาญกว่า 150 รายทั่วโลก บริษัท และองค์กรชั้นนำของไทยและต่างประเทศกว่า 100 แห่ง
กิจกรรมที่น่าสนใจในส่วนของ Living เช่น Food security in a climate insecure world โดย LSE, Good Citizen : เกษตรอินทรีย์...การขับเคลื่อน“กินดีอยู่ดี ” ด้วยพลังเครือข่าย ,SET-Panel Discussion เรื่องราวของคนตัวเล็ก...สู่อาชีพด้านความยั่งยืนในภาคตลาดทุนไทย ,TALK : ยังอยากเล่า : SIFE-นิสิตกับธุรกิจเพื่อชุมชน SIFE คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น
SX2022 จัดขึ้นในคอนเซ็ปต์ “พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก” (“Sufficiency for Sustainability”) อันเป็นการน้อมนำพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาเผยแพร่และส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปและองค์กรต่างๆ ร่วมกันสานต่อพระราชดำริให้เกิดเป็นรูปธรรมต่อไป นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainability Development Goals – SDG) ที่องค์การสหประชาชาติได้ประกาศไว้