"PM2.5" ฝุ่นป่วนเมืองเรื่องใหญ่ เร่งแก้ลดสูญเสียสุขภาพ-ศก.
เข้าสู่ฤดูหนาว สิ่งที่มาพร้อมกับอากาศหนาวคือความแห้งแล้งซึ่งนำไปสู่การเกิดฝุ่น PM 2.5 เพราะพฤติกรรมการก่อฝุ่นชนิดนี้ยังมีอย่างต่อเนื่องแต่การแก้ปัญหาดังกล่าวกลับเป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม
ในรายงาน “การเก็บค่าธรมเนียมการใช้ถนนสามารถแก้ปัญหาจราจรและคุณภาพอากาศในกรุงเทพมหานครได้หรือไม่”จัดทำโดย
องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)
เพื่อศึกษาว่า กรุงเทพมหานครในฐานะเมืองที่คึกคักและเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา กรุงเทพมหานคร
ต้องเผชิญกับความท้าทายด้านการจราจรมากมาย อีกทั้งเป็นที่อาศัยของประชากรมากกว่า 10 ล้านคน และมีกลุ่มชนชั้นกลางที่กำลังเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
กรุงเทพมหานครกำลังประสบปัญหาคุณภาพอากาศอย่างรุนแรงโดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM2.5) เป็นสาเหตุทำให้คุณภาพอากาศย่ำแย่มากที่สุด หากค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) สูงกว่า 100 ppmจะถือว่ามีผลกระทบต่อสุขภาพ
การขนส่งทางถนนเป็นต้นเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ซึ่ง 22% ถึง 39% ของฝุ่นละอองขนาดเล็กในกรุงเทพมหานครเกิดจากการเดินทางด้วยรถยนต์