Taxonomy กติกาใหม่ทุนสีเขียว ธปท.เร่งพัฒนาหนุนธุรกิจยั่งยืน 

Taxonomy กติกาใหม่ทุนสีเขียว ธปท.เร่งพัฒนาหนุนธุรกิจยั่งยืน 

“บางจาก” ชี้ โลกยังต้องพึ่งพาฟอสซิล การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดไม่สามารถเกิดขึ้นได้ชั่วข้ามคืน ชูการดูดซับคาร์บอนด้วยเทคโนโลยี-ธรรมชติ สร้างสมดุล“แบงก์ชาติ” เร่งคลอดแผน Taxonomy ปีหน้า หนุนวงเงินเพื่อดันธุรกิจ-ผลิตภัณฑ์สีเขียว หนุนไทยสู่เป้า Net Zero

กลุ่มบางจาก จัดสัมมนาประจำปีครั้งที่ 12 ภายใต้หัวข้อ “Energy Security and Carbon Sequestration” เมื่อวันที่ 2 พ.ย.2565 โดยมีผู้เชี่ยวชาญทั้งในระดับโลกและระดับประเทศมาแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ ร่วมขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานเพื่อสร้างโลกยั่งยืนควบคู่กับการสร้างความมั่นคงทางพลังงาน

นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจาก และ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวบรรยายพิเศษหัวข้อ “Energy Security and Carbon Sequestration” ว่า โลกยังคงต้องพึ่งพาพลังงานฟอสซิลอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดไม่สามารถเกิดขึ้นได้ชั่วข้ามคืน แต่การดูดซับคาร์บอนทั้งทางธรรมชาติและด้วยเทคโนโลยี จะทำให้พลังงานฟอสซิลสามารถสร้างสมดุลให้กับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานได้

Taxonomy กติกาใหม่ทุนสีเขียว ธปท.เร่งพัฒนาหนุนธุรกิจยั่งยืน  ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทบางจากจัดสัมมนาประจำปีขึ้นเพื่อสะท้อนความสำคัญของการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานที่กำลังเป็นประเด็นท้าทายที่ทั่วโลกต้องเผชิญ เมื่อแนวโน้มความต้องการใช้พลังงานทั่วโลกยังคงสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ก๊าซธรรมชาติและน้ำมันยังเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของโลกไปอีกหลายทศวรรษ 

มนุษย์จึงต้องพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากการใช้ชีวิตประจำวันหรือการทำธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาสภาพอากาศ รวมถึงการใช้การดูดซับทางธรรมชาติร่วมสร้างความยั่งยืนให้แก่โลก ควบคู่กันกับการขยายการลงทุนในพลังงานหมุนเวียนและสร้างทางเลือกของแหล่งพลังงานเพื่อความยั่งยืน ขณะที่โลกกำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาดเพื่อไปสู่เป้าหมาย Net Zero

“ทั่วโลกให้ความสำคัญกับปัญหาโลกร้อน ปัจจุบันมีการใช้พลังงานทั่วโลก 1 วันละประมาณ 1.7 ล้านล้านล้านจูน หรือเทียบเท่าการบินรอบโลก 1 แสนรอบ หรือจากโลกไปดวงจันทร์วันละ 5,000 รอบ เป็นปริมาณที่มหาศาลมาก ดังนั้น การจะหยุดใช้พลังงานฟอสซิลแล้วใช้พลังานทดแทนที่มหาศาลขนาดนี้ จึงต้องใช้เวลา”

Taxonomy กติกาใหม่ทุนสีเขียว ธปท.เร่งพัฒนาหนุนธุรกิจยั่งยืน  Taxonomy หนุนลงทุนยั่งยืน

ในช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนผ่านจากพลังงานฟอสซิลไปสู่พลังงานสะอาด ต้องใช้ทั้งเวลาและเงินทุนมหาศาล รวมถึงเทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยมี Taxonomy หรือการจัดหมวดหมู่ธุรกิจการลงทุนที่ช่วยลดคาร์บอนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญที่ชวยเร่งให้การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานได้เร็วขึ้น สร้างมูลค่าให้การลงทุนที่จะช่วยให้เกิดการลดคาร์บอน ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนมากขึ้นผ่านสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ 

และยังรวมถึงการกำหนดนโยบายด้านการเงิน เช่น ภาษีคาร์บอน (carbon tax) และการสนับสนุนการซื้อขายคาร์บอนเครดิตจะทำให้มีการจัดสรรทรัพยากรโดยภาคเอกชนกันเอง โดยธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนมาก นำเงินส่วนหนึ่งมาซื้อคาร์บอนเครดิตเพื่อเป็นการชดเชย และนำเงินส่วนนั้นมาพัฒนาธุรกิจพลังงานสะอาด ช่วยเร่งให้เกิดการเปลี่ยนผ่านอีกทางหนึ่ง

“การใช้พลังงานประมาณ 120 ปี GDP โลกอยู่ที่ 96 ล้านล้านดอลลาร์ 1,960 ล้านคน ขณะนี้มีประมาณ 8,000 ล้านคน จากจีดีพีโลก 2 ล้านล้านดอลลาร์ขึ้น 4 เท่าตัว ขณะที่ประชากรโลกเพิ่มขึ้น 1 เท่าตัว เบื้องหลังที่ทำให้อยู่ได้สะดวกสบายคือพลังงาน ซึ่งจากนี้ไปอีก 10-30 ปี โลกจะมี 10,000 ล้านคน พลังงานจะต้องมีมากขึ้น ถ้าไม่ช่วยกันผลักดันการบริโภคพลังงานจากปีละ 624 ล้านล้านล้านจูน จะขึ้นมาที่ 740 ล้านล้านล้านจูน แต่ถ้าช่วยกันผลักดันจะลดลงมาเหลือ 532 ล้านล้านล้านจูน”

ทั้งนี้ พลังงานที่ใช้เยอะมาก ทุกคนพยายามผลักดัน คือรถยนต์ ซึ่งประเทศไทยตั้งเป้าปี 2030 จะมีรถอีวี 30% จากปริมาณทั้งหมดในประเทศ ตนขอแค่ 10% นับจากจากปี 2021-2030 มีเวลา 9 ปี ซึ่งปี 2021 มีรถอีวี 17 ล้านคัน และในปี 2030 หากคิด 10% จะอยู่ที่ 200 ล้านคัน เวลา 9 ปี ต้องผลิตรถอีวีปีละ 20 ล้านคัน จึงต้องหาโรงงานที่มีกำลังการผลิตตั้งแต่ปีนี้ที่ 2,000 กิกกะวัตต์ และต้องมีประมาณ 150 แห่ง แต่ตอนนี้ไม่ถึง 10 แห่ง สุดท้ายไม่มีอะไรตายตัว จะเป็นไฮโดรเจน เป็นต้น

“หากเทียบกับปริมาณที่ใช้อยู่ปัจจุบัน ปี 2050 จะต้องลดลงมาเพื่อเป้าหมาย Net Zero หากจะลงทุนตอนนี้ พลังงานทดแทนหลักๆ เขื่อน โซลาร์ เงินลงทุนต้องไม่ต่ำกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี

พลังงานฟอสซิลยังจำเป็น 

ดังนั้น ฟอสซิลจะยังคงต้องมีอยู่ โดยพลังงานหมุนเวียนยังตอบโจทน์ไม่ได้ทั้งหมด ดังนั้นปัญหาที่แท้จริง คือ ต้องนำคาร์บอนไดออกไซด์กลับมาใช้ประโยชน์ ความมั่นคงด้านพลังงาน ราคาพลังงาน และ ความยั่งยืน 2 ใน 3 จะไปด้วยกันได้ แต่ไม่สามารถไปด้วยกันทั้งหมด เช่น เราต้องการความมั่นคง ลงทุนฟอสซิลสูง สุดท้ายราคาน้ำมันถูก แต่ไม่ยั่งยืน หรือเราจะไปที่พลังงานสะอาดสิ่งที่หายไปคือความมั่นคง เช่น แดด ลม ไม่เสถียร โลกปัจจุบันไม่เหมือน 30 ปีที่แล้ว ประชากรและจีดีพียังไม่เยอะ สามารถพึ่งต้นไม้ดูดซับคาร์บอนได้”

ทั้งนี้ กลุ่มบางจากจึงอยากให้ทราบว่าพลังงานที่ใช้เยอะมาก พลังงานทดแทน หรือการสนับสนุนกลไกราคาพลังงานอาจไม่ตอบโจทย์ แต่ควรมาสร้างระบบนิเวศใหม่ ดึงช่วยด้วยเทคโนโลยี เช่นไฮโดนเจน ที่ต้องใช้เงินลงทุนเพื่อสร้างพลังงาน หรือการสร้างตลาดคาร์บอน จะช่วยให้ขับเคลื่อนพลังงานได้

หนุนสร้างสมดุลพลังงาน

นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า กลุ่มบางจากให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลระหว่างความท้าทายด้านพลังงาน 3 ประการ (Balancing the Energy Trilemma) ได้แก่ ความมั่นคงด้านพลังงาน (Energy Security) การเข้าถึงพลังงาน (Energy Affordability) และความยั่งยืนของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability) เพื่อสร้างสมดุลระหว่างการนำพลังงานจากโลกมาใช้ ซึ่งมีผลต่อการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศกับการรักษาสิ่งแวดล้อม และได้ตั้งเป้าหมายสู่ Net Zero ในปีค.ศ. 2050 (Carbon Neutrality ในปี 2030) ผ่านแผนงาน BCP 316 NET

ทั้งนี้ กลุ่มบางจาก ได้จัดสัมมนาสิ่งแวดล้อมเป็นประจำปีทุกปีตั้งแต่ ปี 2554 เพื่อสะท้อนให้สาธารณชนเห็นประเด็นด้านสังคมหรือสิ่งแวดล้อมที่ควรตระหนักและร่วมมือกันแก้ไขหรือพัฒนา เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจจากทุกภาคส่วน เช่น ปัญหาการจัดการขยะ ภัยแล้ง การจัดการน้ำ นวัตกรรมและภาวะโลกร้อน

สำหรับ กลุ่มบางจากถือเป็นผู้นำการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน ดำเนินงานใน 5 ธุรกิจหลักคือ 1.กลุ่มธุรกิจโรงกลั่นและการค้าน้ำมัน 2.กลุ่มธุรกิจการตลาด มีเครือข่ายสถานีบริการน้ำมันกว่า 1,300 แห่ง เสริมด้วยธุรกิจ Non-oil ผ่านธุรกิจต่างๆ เช่น กาแฟอินทนิล น้ำมันหล่อลื่น Furio และ EV charger 3.กลุ่มธุรกิจพลังงานไฟฟ้า 4.กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพ และ 5.กลุ่มธุรกิจทรัพยากรธรรมชาติและธุรกิจใหม่ ลงทุนในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมผ่านการถือหุ้นใน OKEA ASA ประเทศนอร์เวย์

ธปท.เร่งทำแผน Taxonomy

นายปรเมธี วิมลศิริ ประธานกรรมการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “Sustainable Finance Taxonomy” ว่า การเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ และการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นสิ่งที่ประเทศไทยตระหนักถึงความสำคัญ ซึ่งเป้าหมายที่ปรับให้เร็วขึ้นบน COP27 ที่จะถึงนี้ ถือเป็นความท้าทายขึ้น ดังนั้น ภาคการเงินถือเป็นตัวกลางในการจัดสรรเงินลงทุนให้กับระบบเศรษฐกิจเพื่อความมั่นคงยั่งยืนของประเทศ สนับสนุนเงินทุนด้านสิ่งแวดล้อมสังคมธรรมาภิบาล

Taxonomy กติกาใหม่ทุนสีเขียว ธปท.เร่งพัฒนาหนุนธุรกิจยั่งยืน  ทั้งนี้ ทั่วโลกต้องการเงินลงทุนโดยรวม 5-7 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี เพื่อบรรลุเป้าหมาย ESG และประมาณปีละ 4 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2030 จะควบคุมอุณภูมิโลกเกิน 1.5 องศา ซึ่งเราต้องการเงินลงทุนเหล่านี้อีกมาก ซึ่งสามารถดึงเงินลงทุนแหล่งต่างๆ ของโลกทั้งหมดได้ จะมีเงินลงทุนส่งเสริมความยั่งยืนจะต้องดึงเงินลงทุนเหล่านี้เข้ามาให้ได้

ส่วนความสนใจของสังคมและภาคการเงินสนใจผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ สนับสนุนความยั่งยืน ผลิตภัณฑ์สีกรีน จะรู้ได้ไงว่ากิจกรรมเงินลงทุนใช้สอดคล้องกับความยั่งยืนจริง ไม่ใช่การฟอกเขียว ที่เป็นการแอบอ้างเท่านั้น ต้องจึงสร้างความโปรงใสมั่นใจ ทั้งผู้ให้และผู้รับร่วมกัน ทั้ง 2 เรื่องนี้ได้นำมาสู่ภาคการเงินที่ต้องดำเนินการ จึงเกิด Sustainable Finance ซึ่งมี Taxonomy เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ

ตั้งคณะทำงานทำแผน5ด้าน

ทั้งนี้ ธปท.ได้ตั้งคณะกำกับการเงินเพื่อความยั่งยืน เพื่อเผยแพร่แนวทางพัฒนาเพื่อความยั่งยืน กำหนดองค์ประกอบทิศทางที่สำคัญ 5 ข้อ แต่จะขอยกตัวอย่างการพัฒนา Taxonomy คือ กำหนดนิยามจัดหมวดหมู่กิจกรรมที่สอดคล้องการพัฒนาเศรษฐกิจ ความสอดคล้องความยั่งยืนให้เข้าใจร่วมกันให้ผู้กำกับ ผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องการเข้าถึงแหล่งเงินได้เข้าใจ และนำไปสู่ความคาดหวังให้มีเงินมาสนับสนุนมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ธปท.ได้ดำเนินการตามแผนทรานฟอร์มสู่อนาคตและเตรียมการด้านอื่นอีก อาทิ ด้านดิจิทัล กรีน ยั่งยืน และด้านความยืดหยุ่นในด้านของการป้องกันความเสี่ยงในเรื่องของสิ่งแวดล้อมได้ออกแนวการพัฒนาความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ภายใต้สายการเงิน ซึ่ง Taxonomy เป็นหนึ่งในด้านของการขับเคลื่อนเรื่องสิ่งแวดล้อมสำคัญ

แบงก์ชาติให้ความสำคัญในเรื่องของการปรับตัว การเปลี่ยนแปลงด้านความยั่งยืน ที่ต้องเล็งเห็นความสำคัญของประเทศ การเปลี่ยนผ่านฟอสซิลต้องใช้เงินและเทคโนโลยีสูง ธุรกิจองค์กรขยาดเล็กอาจไม่มีขีดความสามารถและความพร้อมประสิทธิภาพด้านการเงิน ต้องคำนึงถึงผลกระทบของโลก ซึ่งความท้าทายอนาคตหากช้าจะมีต้นทุนสูง หากไปเร็วจะถึงจุดที่ไปได้ทันการ การตั้งคณะทำงานเรื่อง Taxonomy จึงเป็นจุดเริ่มต้น ซึ่งปีนี้น่าจะเห็นกฎระเบียบแผนงานที่ชัดเจน”

ชี้เป็นมาตรฐานการเงินใหม่

สำหรับเป้าหมายหลัก อยากให้ไทยมี Taxonomy ที่เป็นมาตรฐานเพื่อกำหนดกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล สอดคล้องกับบริบทของไทย ภาคการเงิน รัฐ และเอกชนนำไปใช้อ้างอิงดำเนินการของตัวเองได้ ทั้งวางนโยบาย กำกับสนับสนุน สร้างผลิตภัณฑ์หรือการเข้าถึงแหล่งทุน โดยไทยเริ่มจากภาคพลังงานและขนส่งก่อน ถือเป็นภาคใหญ่ที่ปล่อยคาร์บอนสูงสุด

“อียูและจีนได้มีการบังคับใช้เข้มงวด ส่วนในอาเซียน อาทิ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ จะเริ่มในเรื่องของความสมัครใจ ให้ภาคส่วนที่สนใจนำไปใช้ก่อน ภาคส่วนที่บังคับ อียูมีทั้งภาคการเงิน การเปิดเผยข้อมูล บริษัทขนาดใหญ่ลูกจ้างเกิน 500 คนต้องเปิดเผยข้อมูล ค่าใช้จ่ายการลงทุนพลังงานกี่เปอร์เซ็นต์ที่สอดคล้องกับ Taxonomy เป็นต้น ส่วนฟิลิปปินส์กับไทยอยู่ระหว่างจัดทำ”

สำหรับสิ่งที่ต้องทำต่อไปหลังจากเรื่องของ Taxonomy คือ การเปิดเผยข้อมูล ซึ่งภาคธุรกิจ สมาคมต่างๆ ต้องเปิดเผยข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบ ดังนั้น Taxonomy จะเป็นก้าวสำคัญที่จะสนับสนุนเป้าหมาย Net Zero ในไทย จะเป็นตัวช่วยอ้างอิงภาคเศรษฐกิจให้ได้ปรับตัวในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้เกิดการทำกรีนฟอสซิลมากขึ้น สถาบันทางการเงินก็จะได้ทำเป็นตัวอ้างอิง โดยมีรัฐกำกับ ส่วนเอกชนจะประเมินความพร้อมด้านเงินลงทุนของตนเองได้