โครงสร้างพื้นฐานอัจฉริยะ รับไทยแลนด์ 4.0 สู่ความยั่งยืน
“Thailand 4.0” คือ หมุดหมายของการพัฒนาประเทศไทย ซึ่งไม่ใช่เพื่อสร้างความเจริญในความหมายเดิมๆ แต่เป็นความเจริญในความหมายที่เป็นอมตะ ในรูปแบบการพัฒนาอย่างยั่งยืน แต่เป้าหมาย และการเดินทางสู่เป้าหมายกำลังเป็นความท้าทายของประเทศไทย
“Thailand 4.0” คือ หมุดหมายของการพัฒนาประเทศไทย ซึ่งไม่ใช่เพื่อสร้างความเจริญในความหมายเดิมๆ แต่เป็นความเจริญในความหมายที่เป็นอมตะ ในรูปแบบการพัฒนาอย่างยั่งยืน แต่เป้าหมาย และการเดินทางสู่เป้าหมายกำลังเป็นความท้าทายของประเทศไทย
ดังนั้นการใช้ประสบการณ์จากภาคเอกชน มาเป็นช่องทางสู่เป้าหมายประเทศไทย 4.0 จึงน่าจะเป็นทางเลือกที่ดี บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จํากัด เป็นต้นแบบด้านการปฏิบัติการโรงงานสีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยมีโรงงานที่ได้รับการรับรองมาตรฐานอาคารสีเขียว (Leadership in Energy and Environmental Design: LEED) ถึง 2 แห่ง และมีโชว์รูมที่มีค่าทางคาร์บอนเป็นศูนย์ (net-zero)แห่งแรกในประเทศ อีกทั้งยังเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ให้กับแบรนด์ชั้นนำระดับโลก
นอกจากนี้ ยังมีการเปิดตัวเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่เชื่อถือได้ มีมาตรฐานความปลอดภัยสูง และชาร์จได้อย่างรวดเร็ว ความสำเร็จเหล่านี้สามารถสนับสนุนยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ได้ และยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และลดการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติได้อีกด้วย
แจ็คกี จาง ประธานบริหาร บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จํากัด กล่าวว่า โซลูชันหลักที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 คือ โครงสร้างพื้นฐานสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ข้อมูลจากกรมการขนส่งทางบก ระบุว่า ยอดจดทะเบียนสะสมของยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) ในประเทศไทย ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2565 เติบโตขึ้นกว่า 146% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
ในฐานะผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และผู้ให้บริการโซลูชันสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ามีความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรม และการให้บริการเพื่อรองรับ ความต้องการของลูกค้าในประเทศไทย
สำหรับ การติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจร ที่มาพร้อมกับเครื่องแปลง กระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Invertor) ระบบกักเก็บพลังงาน และซอฟต์แวร์จัดการพลังงาน DeltaGrid โดยโซลูชันนี้สามารถทำงานเชื่อมโยงกับระบบการจ่ายไฟของภาครัฐได้ เพื่อเพิ่มเสถียรภาพ และความพร้อมในการใช้งาน
โดยสถานีชาร์จสาธารณะ และเชิงพาณิชย์ เดลต้าได้ลงนามร่วมกับ การไฟฟ้านครหลวง (MEA) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ตลอดจนผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่เพื่อพัฒนาโซลูชันการชาร์จรถยนต์ ไฟฟ้า และได้ร่วมมือกับ บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) เพื่อวางแผนสร้างระบบนิเวศน์รถยนต์ไฟฟ้า (EV ecosystem) ในประเทศไทย
โครงสร้างพื้นฐานดาต้าเซ็นเตอร์ ภายในปี 2570 คาดว่าเศรษฐกิจดิจิทัลในไทยจะมีสัดส่วนมากถึง 25% ของ จีดีพีของประเทศ ซึ่งการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของเศรษฐกิจดิจิทัลนั้นจำเป็นที่จะต้องมีโครงสร้างพื้นฐานทั้งด้านดาต้าเซ็นเตอร์ และโทรคมนาคม 5G เข้ามา รองรับการใช้งานเทคโนโลยีขั้นสูงอย่าง Internet of Things (IoT), คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing), ระบบ โครงข่ายการเก็บบัญชีธุรกรรมออนไลน์ (Blockchain), และเทคโนโลยีแห่งโลกเสมือน (Metaverse)
ขณะเดียวกัน ยังมีเทคโนโลยีการจัดการพลังงานสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีเสถียรภาพสูงตามมาตรฐานสากล พร้อมด้วยการออกแบบระบบที่สอดผสานกันอย่างลงตัวทำให้สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ตลอด 24 ชั่วโมงจากที่ใดก็ได้ รวมถึงการดึงความเชี่ยวชาญในการจัดการพลังงาน และการพัฒนาระบายความร้อนเพื่อพัฒนาโซลูชันสำหรับดาต้า เซ็นเตอร์ ประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้พลังงานไฟฟ้าในดาต้าเซ็นเตอร์ (Power Usage Effectiveness: PUE) ช่วยลด การปล่อยก๊าซเรือนกระจก อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนในการบริหารจัดการอีกด้วย
โครงสร้างพื้นฐานระบบอัตโนมัติ คือ โซลูชันระบบอุตสาหกรรมอัตโนมัติและระบบบริหารจัดการภายในโรงงาน จึงสามารถนำเสนอเครื่องมือที่จำเป็นแก่ผู้ผลิตของไทย ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ กำลังการผลิต ตลอดจนคุณภาพการผลิตได้เป็นอย่างดี โดยภายในงานสัมมนาครั้ง นี้ เดลต้า ได้จัดแสดงนวัตกรรม VTScada ซึ่งมีแพลตฟอร์มระบบแสดงผลที่ทรงพลัง โดยสามารถนำเสนอการวิเคราะห์ ดาต้าได้แบบเรียลไทม์ และระบบบริหารจัดการที่ง่ายต่อการควบคุมกระบวนการทำงานที่ซับซ้อน เช่น ระบบควบคุม สภาพแวดล้อมในสมาร์ทฟาร์ม (Smart Farm) และระบบมอนิเตอร์ระดับน้ำอัจฉริยะในนิคมอุตสาหกรรม ทั้งนี้ โซลูชันการผลิตอัจฉริยะ (Delta Smart Manufacturing: DSM)
โซลูชันที่ได้รับการพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีจะช่วยให้เป้าหมาย “Thailand 4.0” สามารถบรรลุสู่ความสำเร็จได้เพื่อขับเคลื่อนสังคมไทยสู่ความมั่งคั่ง ความปลอดภัย และยั่งยืน
พิสูจน์อักษร....สุรีย์ ศิลาวงษ์