เทคโนโลยี CCS และการปลูกป่า “โรดแมปโลก” มุ่งลดคาร์บอน
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก(องค์การมหาชน)หรือ อบก. ซึ่งก๊าซเรือนกระจกของโลกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่ม 1 คือ การปล่อยปกติ และกลุ่ม 2 คือ ตัวดูด(ก๊าซ) ขณะนี้ตัวปล่อยมากกว่าตัวดูด
ซึ่งปัจจุบันโลกปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ประมาณ 5 หมื่นล้านตันต่อปี ยังเหลือที่ยังปล่อยได้อีกประมาณ 500 จิกะตัน[Gt] หรือเท่ากับ 1 000 000 000 ตัน(เมตริก) [t]
ดังนั้นหากปล่อยมากกว่านี้อุณหภูมิโลกจะสูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเราพยายามต้องเดินตามนี้ คือเศรษฐกิจก็ต้องเติบโตขึ้นไป และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกก็ต้องลดลง โดยเฉพาะการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงานที่เป็นผู้ปล่อยก๊าซฯ มากที่สุด
อย่างไรก็ดี ความพยายามที่จะไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเลยคงเป็นไปไม่ได้ แต่ต้องมีการกักเก็บควบคู่กันไป ที่ง่ายที่สุดคือ การปลูกต้นไม้เพื่อดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
สำหรับไทยก็มียุทธศาสตร์ในเรื่องนี้ แต่หากไม่ปลูกต้นไม้ก็ต้องใช้ CCS(Carbon Capture and Storage)คือ เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากโรงไฟฟ้าประเภทถ่านหิน กระบวนการกลั่นน้ำมัน
ทั้งนี้ จุดแข็งของไทยหากเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย การลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์จำเป็นที่ต้องลดในจุดที่ไทยมีศักยภาพสูงสุดและมีต้นทุนต่ำ และต้องทำให้ค่าไฟฟ้าและค่าพลังงานของไทยต้องแข่งขันได้ด้วย เช่น การจัดการขยะ การดำเนินการเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน เมื่อต้นทุนต่ำลงก็จะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในส่วนของ อบก.เป็นองค์กรหลักในการควบคุม และกำกับดูแลมาตรฐานการประเมิน
พิสูจน์อักษร....สุรีย์ ศิลาวงษ์