WEF ชี้เศรษฐกิจโลกต้องอยู่บนฐาน ความยั่งยืน-ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
ขณะนี้ที่เมืองดาวอส สวิสเซอร์แลนด์ กำลังมีการประชุมประจำปีของสภาเศรษฐกิจโลก หรือ World Economic Forum : WEF ได้พูดถึงความท้าทายของปี 2566 ที่จะไม่ได้มีเพียงแค่เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว แต่ยังมีความไม่แน่นอนอื่นๆ ทั้งสงครามยูเครน
ผลกระทบอื่นจากโควิด-19และความเปราะบางของระบบซัพพลายเชน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้หลายชาติทบทวนเรื่องการไปต่อของนโยบายทางการค้าและเกิดคำถามถึงอนาคตของโลกาภิวัฒน์
องค์การการค้าโลก (WTO) และอีกหลายองค์กรได้ออกมาเตือนว่า การทวนกระแสโลกาภิวัตน์(deglobalization) จะเป็นผล
กระทบเชิงลบต่อโลกและโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ข้อสงสัยต่างๆเหล่านี้เป็นโจทย์ของผู้นำโลกที่ต้องขบคิดว่าจะทำอย่างไรต่อเหล่านี้ต่อผลของการเติบโตของเศรษฐกิจโลก
เอ็นโกซี โอคอนโจ-อิเวียลา ผู้อำนวยการใหญ่WTO กล่าวในเวทีการสนทนาของ World Economic Forum Annual Meeting 2023 ด้านการค้า การเติบโตและการลงทุน ว่า “เราพูดถึงอนาคตของการค้าที่ว่าด้วยเรื่องของการบริการ ที่มีเรื่องของดิจิทัล และสิ่งแวดล้อม (Green) และการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (inclusive)”
ดังนั้น จึงทำให้หลายชาติมุ่งไปที่การย้ายภาคอุตสาหกรรมให้ใกล้ชิดกับความต้องการผู้บริโภคมากขึ้น หลังจากที่เกิดปัญหาการหยุดชะงักของซัพพลายสินค้าซึ่งเป็นผลจากการปิดท่าเรือต่างๆ รวมถึงสงครามยูเครนและปัญหาโรคระบาด มากกว่านั้น ยังมีความกังวลเกี่ยวกับความมั่นของประเทศที่เป็นสาเหตุให้นานาชาติตั้งขอสงสัยถึงความไม่แน่นอนของประเทศต่างๆที่ดูเหมือนจะมีมากขึ้น เพราะมีปัจจัยที่คาดไม่ถึงต่างๆซึ่งเป็นวิกฤติต่อสินค้าและบริการ เช่น ยุโรปที่ต้องขึ้นอยู่กับการบริการด้านพลังงานจากรัสเซีย
ในฟากฝั่งสหรัฐ ก็พบว่าเม็กซิโก ดูเหมือนจะเผชิญกับผลกระทบที่ใหญ่หลวงของการที่สหรัฐปรับระบบซัพพลายเชนใหม่ซึ่งทำให้เม็กซิโกต้องสร้างแรงงานให้มีการศึกษามากขึ้น ขณะที่ค่าจ้างยังต่ำ การขนส่งทางรถไฟและการส่งเสริมธุรกิจตามนโยบายดูแลปัญหาโลกร้อน
ลอร์เรน ดี ฟริก ประธานและเจ้าหน้าที่บริหาร BlackRock ระบุว่าเม็กซิโกไม่ได้ประโยชน์มากนักจากการเปลี่ยนแปลงนี้ แต่พื้นที่ยุโรปตะวันออก ตุรกี อินโดนีเซีย และบางส่วนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่างหากที่ได้ประโยชน์มากกว่า
ขณะที่ ผู้อำนวยการใหญ่ WTO ระบุอีกว่า อนาคตการค้ายังต้องให้ความสำคัญเรื่องการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ซึ่งหลายประเทศได้ให้ความสำคัญกับความมั่นคงแห่งชาติที่สอดแทรกไว้ในนโยบายทางการค้า ซึ่งการทำแบบนี้ถือเป็นความเสี่ยงและสร้างอุปสรรคให้กับคู่ค้า “friend-shoring” ซึ่งทำให้การกระจายประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างไม่เท่าเทียม
การนำประเด็นทางการค้าใหม่ที่เกิดขึ้น ทั้งการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังและการทวนกระแสโลกาภิวัฒน์กำลังเป็นเรื่องที่ได้รับความสำคัญอย่างมาก รัฐบาลในยุโรปหลายแห่งยินดีที่จะรับเอามาประเด็นด้านความยั่งยืนที่อยู่ในนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐไว้
อเล็กซานเดอร์ เดอ โควว ประธานาธิบดีเบลเยี่ยม กล่าวไว้ว่าโลกสามารถอยู่อย่างมีความสุขเพียงแค่สหรัฐได้เคลื่อนไปอย่างถูกที่ถูกทางแล้วคือเรื่องการดูแลปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั่นเอง โดยผู้นำในยุโรปควรให้ความสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อกฎหมายสหรัฐเมื่อเร็วๆนี้ แต่มากกว่านั้น ก้าวที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ยุโรปมีโอกาสที่จะได้รับประโยชน์อย่างเฉพาะเจาะจง เช่น การค้นคว้าด้านการอำนวยความสะดวกและการลงทุนระยะยาวในพลังงานลม ซึ่งหากไม่ร่วมมือกันทั้งสหรัฐและยุโรปก็อาจจะมุ่งไปสู่การแข่งขันเพื่ออุดหนุนและการลดหย่อนภาษีให้ธุรกิจ
ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจถึงการสร้างความยั่งยืน การคงไว้ซึ่งความสำคัญสูงสุดของประเด็นด้านการค้าโลก ซึ่งจะต้องใช้ความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน ซึ่งนานาชาติมองหาการจับมือกันระหว่างสองประเทศเพื่อบรรลุข้อตกลงทางการค้า ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่จะทำให้การค้าระหว่างประเทศให้แตกเป็นเสี่ยงๆด้วยการสร้างข้อกีดกันทางการค้า
ดังนั้น การส่งเสริมประเด็นทางการค้าที่เป็นธรรม การไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และความยั่งยืนนั้นควรจะเรียกร้องให้หน่วยต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น WTO ร่วมสร้างกฎการค้าที่ชัดเจนสำหรับทุกชาติสมาชิกนั่นเองเพราะข้อตกลงการค้าทวิภาคีไม่ใช่ข้อสรุปสุดท้ายหากแต่การใช้กลไกสถาบันระหว่างประเทศต่างหากที่จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด