“เศรษฐกิจสีน้ำเงิน ”ระบบจัดการ นิเวศน์ทางทะเลคงอยู่คู่ความมั่งคั่ง
“เศรษฐกิจสีน้ำเงิน” คือหนทางของความยั่งยืนทางทะเลเป็นรูปแบบสำคัญของการฟื้นฟู และดูแลธรรมชาติ และความหลากหลายในทางทะเล และเศรษฐกิจในอนาคต
ข้อมูลของธนาคารโลก ระบุว่า เศรษฐกิจสีน้ำเงิน คือ “การใช้ทรัพยากรมหาสมุทรอย่างยั่งยืนเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และการมีงานทำในขณะเดียวกันก็ต้องรักษาสุขภาพของระบบนิเวศน์ในมหาสมุทรด้วย”
ส่วนองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติเสริมว่า “เศรษฐกิจสีน้ำเงินยังรวมถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่อาจไม่มีจำหน่าย เช่น การกักเก็บคาร์บอน การปกป้องชายฝั่ง คุณค่าทางวัฒนธรรม และความหลากหลายทางชีวภาพ”
“มหาสมุทร” มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ และสามารถสร้าง โอกาสในการเติบโตของประเทศที่พัฒนาแล้ว และกำลังพัฒนาซึ่งกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องร่วมกันเพื่อการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรมหาสมุทรอย่างยั่งยืน
อย่างไรก็ตาม ได้พบว่ามีความท้าทายที่สำคัญของเศรษฐกิจสีน้ำเงินนั่น คือ การเข้าใจ และจัดการได้ดีขึ้น และยั่งยืนในระดับตั้งแต่การประมงอย่างยั่งยืนไปจนถึงสุขภาพของระบบนิเวศน์ไปจนถึงการป้องกันมลพิษ
สุมนา ขจรวัฒนากุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่าเศรษฐกิจทางทะเลจะสร้างมูลค่า 1.5 ล้านดอลลาร์ สร้างงาน 31 ล้านตำแหน่ง ในปี 2030 แต่การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจจากทะเลส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หากนำแนวคิด “เศรษฐกิจสีน้ำเงิน” มาใช้จะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจและทรัพยากรให้มีอย่างยั่งยืนด้วย
โดยองค์ประกอบของเศรษฐกิจสีน้ำเงิน ได้แก่ ความยั่งยืน คือ การประยุกต์ใช้นวัตกรรมในการดำเนินกิจกรรม การใช้ประโยชน์อย่างเป็นธรรม ต้องคำนึง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และความมั่นคง
“ผลที่จะได้รับของไทย 1.สิ่งแวดล้อมของไทยจะดีขึ้น 2. ทำให้ผู้ประกอบการชุมชนที่อยู่รอบชายฝั่งมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างเป็นธรรม ตั้งแต่การดำเนินการมาตั้งแต่ 6 ปี การฟื้นฟูธรรมชาติอย่างเห็นได้ไม่ชัดเจนแต่ก็ยังถือว่าระยะเวลาดำเนินการยังน้อยอยู่มาก”
ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ระบุว่า กำลังขยายการจัดหาเงินทุนเพื่อมหาสมุทร และเศรษฐกิจสีน้ำเงินที่ยั่งยืน เพราะมหาสมุทรของโลกเผชิญกับภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นจากมลพิษ จากภาคเกษตรกรรม และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ไม่ยั่งยืนประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน
“ADB จึงจัดตั้งศูนย์กลางการเงิน Blue SEA (อาเซียน) เมื่อปี 2564 ศูนย์ดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากอาเซียน และยังมี Catalytic Green Finance Facility (ACGF) ที่ตั้งขึ้นเมื่อ 2562 เพื่อส่งเสริมการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานสีเขียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างยั่งยืน”
การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นสิ่งจำเป็นที่ระดับนโยบายในทุกประเทศ และประชาชนในท้องถิ่นต้องเร่งดำเนินการแต่หากกิจกรรมดังกล่าวสร้างผลเสียต่อพื้นที่ขนาดใหญ่ที่สุดของโลก อย่าง “มหาสมุทร” การพัฒนานั้นอาจเป็นการเร่งตัวเองไปสู่หายนะ “เศรษฐกิจสีน้ำเงิน” จึงเป็นเข็มทิศที่ดีที่จะไม่นำไปสู่ “การพัฒนาที่หลงทาง”
พิสูจน์อักษร....สุรีย์ ศิลาวงษ์