มาตรการภาษีและCBAM กลไก หนุนธุรกิจไทยยกระดับสู่ความยั่งยืน
สภาพอากาศที่เปลี่ยนไป กำลังส่งผลความเปลี่ยนแปลงมายังวงการธุรกิจ ดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง ก็ต้องมีการปรับตัว ซึ่งผู้ประกอบการไทยกำลังอยู่ท่ามกลางคลื่นลมแห่งการเปลี่ยนแปลงจะสามารถปรับตัวรับสถานการณ์ได้หรือไม่
รัชวิชญ์ ปิยะปราโมทย์อัครราชทูต (ฝ่ายการพาณิชย์)คณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลกและองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก(ปฏิบัติราชการประจำที่ส่วนกลาง) กล่าวในงานCOP26 a COP28 ผลกระทบและการ เตรียมตัวของผู้ประกอบ การในประเทศไทยจัดโดยสมาคมพลังงานหมุนเวียนแห่งประเทศไทย ว่าตั้งแต่ 1 ม.ค.2569 เป็นต้นไปจะเริ่มบังคับใช้ระเบียบการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism: CBAM) ของสหภาพยุโรป (EU) เต็มรูปแบบ ผู้นำเข้าต้องซื้อและส่งมอบใบรับรอง CBAM ตามปริมาณการปล่อยก๊าซฯและอาจขยายรายการสินค้าที่ครอบคลุม
อย่างไรก็ตาม ต.ค. 2566 CBAM จะเริ่มทดลอบใช้โดยผู้นำเข้าต้องรายงานข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่ยังไม่ต้องซื้อหรือส่งมอบใบรับรอง CBAM ครอบคลุมสินค้า ได้แก่ 1.ซีเมนต์ 2.ไฟฟ้า 3.ปุ๋ย 4.เหล็กและเหล็กกล้า 5.อะลูมิเนียม และ 6.ไฮโดรเจน ครอบคลุม Downstream products บางรายการด้วย เช่น เหล็กและเหล็กกล้า และสายเคเบิลที่ทำจากอะลูมิเนียม เป็นต้น
“อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ 1 ม.ค. 69 เป็นต้นไปเริ่มบังคับใช้เต็มรูปแบบ ผู้นำเข้าต้องซื้อและส่งมอบใบรับรอง CBAM ตามปริมาณการปล่อยก๊าซฯ อาจขยายรายการสินค้าที่ครอบคลุม ภาระการชื่อใบรับรอง CBAM จะทยอยเพิ่มขึ้นในแต่ละปีระหว่างปี พ.ศ. 2569-2577”
ไม่เพียงความเคลื่อนไหวในฝั่งยุโรป และอีกหลายพื้นที่ในโลกที่ดึงเอามาตรการด้านภาษีมาใช้เป็นกลไกลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคธุรกิจและการค้า สำหรับประเทศไทยก็มีแผนใช้กลไกภาษีเพื่อปูทางสู่เศรษฐกิจสีเขียวด้วย
ณัฐกร อุเทนสุด ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางสรรพสามิต กรมสรรพสามิต กล่าวว่า ภาษีคาร์บอน คือ การกำหนดอัตราภาษี โดยภาระภาษีจะแปรผันตาม ปริมาณการปล่อยมลพิษ ทิศทางโลกขับเคลื่อนเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำประเทศผู้นำของโลกต่างให้ความสำคัญอย่าง ยิ่งยวดในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน โดยได้ออก มาตรการด้านภาษี (Tariff Barrier) และมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Barrier) ที่มีผลต่อการจัดการด้านการผลิตของผู้ประกอบการทั้ง ภายในประเทศและการทำการค้ากับประเทศคู่ค้าจาก ต่างประเทศเป็นอย่างมาก
ยกตัวอย่างกรณีCBAM จะช่วยปรับราคาของสินค้านำเข้าให้สะท้อนถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนผลกระทบต่อภาคธุรกิจของไทยได้แก่ ราคาสินค้านําเข้าจากประเทศที่สามที่ไม่มีภาระการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่เทียบนกับของ EU จะมีราคา สูงขึ้นอาจส่งผลให้ปริมาณการนำเข้าสินค้าลดลง ส่วนผลกระทบอีกประการคือ ผู้ประกอบการหรือผู้บริโภคในประเทศสมาชิก EU อาจหันมาใช้สินค้าที่ผลิตใน EU เพิ่มมากขึ้น และผลกระทบต่อสินค้าราคาถูกกว่าจากประเทศที่สามที่มีมาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่ต่ำกว่าถูกกีดกันทางอ้อมไม่ให้เข้าสู่ตลาด EU
รสริน อมรพิทักษ์พันธ์ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการพิเศษ สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า การพัฒนากลไกตลาดคาร์บอนเครดิตในไทย โครงการ ขอรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจก จากโครงการ T-VER จำนวน 144 โครงการ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรองรวม 14.14 MtCO2eq การเพิ่มแหล่งกักเก็บและดูดกลับ ก๊าซเรือนกระจก ภาคประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในปี พ.ศ. 2565 ประมาณ 6 แสนไร่ ผู้พัฒนาโครงการ T-VER ร่วมปลูกและดูแล รักษาป่าในพื้นที่ของรัฐ โดยแบ่งปันเครดิต ให้แก่ ผู้พัฒนาโครงการ 90 % และ หน่วยงานของรัฐ 10 % หรือตามแต่ตกลงสิทธิประโยชน์ทางภาษี เพื่อส่งเสริมการลดก๊าซเรือนกระจก
“นอกจากตลาดคาร์บอนเครดิตแล้วยังมีงานที่ทำอีกหลายด้าน เช่น คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ กำหนดแผนแม่บท แผนลดก๊าซเรือนกระจก แผนการปรับตัว ฐานข้อมูลกลางด้านภูมิอากาศ การประเมินความเสี่ยงและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ ฐานข้อมูลก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย การรายงานข้อมูลและการเรียกข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ การสนับสนุนทางการเงินจากกองทุนสิ่งแวดล้อม รวมถึงการกำหนดราคาคาร์บอน (Carbon pricing)ด้วย”
ธาริทธิ์ ปั้นเปี่ยมรัษฎผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าสัดส่วนกิจกรรมสีเขียวสูงขึ้น ลดสัดส่วนกิจกรรมสีเหลืองและ แดงอย่างเป็นระบบ โดยไม่เกิดการสะดุดหรือ ชะงักงันของระบบเศรษฐกิจการเงิน
สอดคล้องกับเป้าหมายกำหนดไว้ 3 แนวทางคือ 1.เป้าหมายในภาพรวม (transition pathway) 2.เป้าหมายราย sector (sectoral pathway) 3.เป้าหมายรายลูกค้า (individual pathway)
มาตรการต่างๆเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังขีดเส้นให้ภาคธุรกิจ หรือ แม้แต่ภาครัฐต้องมุ่งหน้าสู่การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจสีเขียวที่จะส่งเสริมให้อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจขยายตัวต่อไปได้ขณะเดียวกันผลกระทบจากปัญหาโลกร้อนจะค่อยๆน้อยลงนี่คือแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ทุกคนต้องเข้าใจและปรับตัวรับมือให้ทันเวลา