สูตรการค้า“คาร์บอนเครดิต” พาณิชย์ชี้โอกาสใหม่เกษตรไทย
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ ได้ทำการติดตามตลาด “คาร์บอนเครดิต” พบว่า ในปี 2563 ที่ผ่านมา ตลาดคาร์บอนแบบภาคสมัครใจ (Voluntary Carbon Market)มีมูลค่าสูงถึง 1,980 ล้านดอลลาร์ แต่ในปี 2573 คาดว่ามูลค่าตลาดจะสูงถึง 25,000 ล้านดอลลาร์
ขณะที่ความต้องการคาร์บอนเครดิตอาจมีมูลค่าสูงถึง 30,000 - 50,000 ล้านดอลลาร์ สำหรับสถานการณ์ตลาดคาร์บอนในประเทศไทย ปัจจุบันการซื้อขายเครดิตโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย TVERs สัดส่วน7.61% ของโลก แต่มีแนวโน้มเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยในปี 2565 มีปริมาณ 1.19 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e) เพิ่มขึ้น 314.3% มูลค่า 128.50 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,222.7% และราคาเฉลี่ยต่อตันอยู่ที่ 108.22 บาท เพิ่มขึ้น 219.2%
"ความต้องการที่เพิ่มขึ้นของตลาดคาร์บอนเครดิต เป็นโอกาสในการเพิ่มมูลค่าให้ธุรกิจภาคเกษตรไทย เนื่องจากการปลูกพันธุ์ไม้ที่สามารถแปลงเป็นคาร์บอนเครดิต 58 สายพันธุ์ เช่น ต้นสะเดา ต้นนางพญาเสือโคร่ง ต้นนนทรี ต้นปีบ ต้นอินทนิลน้ำ ไม้สัก ต้นประดู่ พะยอม แคนา จามจุรี รวมถึงต้นไม้ ที่ช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG เช่น ไผ่ ปี 2563 พื้นที่ปลูกไผ่เพื่อการค้าราว 9.2 หมื่นไร่
ที่นอกจากปลูกเพื่อการค้าแล้ว ยังสร้างรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิต