เชื้อเพลิงอากาศยานที่ยั่งยืน มุ่งเป้าหมายคาร์บอนศูนย์ ปี 2593
การประชุมเชิงปฏิบัติการ โครงการ U.S. – Southeast Asia and Pacific Aviation Cooperation Program (SEAP ACP) ภายใต้หัวข้อ “เชื้อเพลิงอากาศยานที่ยั่งยืน” (Sustainable Aviation Fuel : SAF)
เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้แทนกระทรวงคมนาคม ไทยชี้ว่าปัจจุบันอุตสาหกรรมการบินทั่วโลก มีแนวโน้มเติบโตเพิ่มมากขึ้นตามนวัตกรรมที่ทันสมัย ทำให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากอุตสาหกรรมการบินเพิ่มมากขึ้น ตามนโยบายของรัฐบาลไทยที่ส่งเสริมให้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศ เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม และภาวะเรือนกระจกกระทรวงคมนาคม ได้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของประเทศ ระยะ 20 ปี ตั้งแต่ปี 2561 - 2580 โดยมีกรอบแนวคิดหลัก 3 ด้านคือ การขนส่งที่ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green and Safe Transport) การขนส่งที่มีประสิทธิภาพ (Transport Efficiency) และระบบคมนาคมขนส่งที่เข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมและเสมอภาค (Inclusive Transport) รวมถึงแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ตามที่ประชุมสมัชชาองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) สมัยที่ 41 เมื่อเดือนต.ค. 2565 ได้รับรองเป้าหมายการดำเนินการตามปณิธานระยะยาว (Long-Term Aspirational Goal : LTAG) สำหรับลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคการบินระหว่างประเทศให้เป็นศูนย์ภายในปี 2593
พิสูจน์อักษร....สุรีย์ ศิลาวงษ์