ม.หอการค้าไทยชี้ CBAM ทำการค้า ต้นทุนพุ่งเฉียด 5 แสนล้านดอลลาร์
อััทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวในการสัมมนาเรื่อง “ภาษีคาร์บอนข้ามพรมแดน (CBAM): ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไทยและการปรับตัว”ที่จัดโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับ ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ว่า มาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน(Carbon Border Adjustment Mechanism :CBAM)หรือซีแบมซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการภายใต้นโยบายกรีนดีลและอาจมองได้ว่าเป็นมาตรการกีดกันทางการค้าอีกประเภทหนึ่ง
โดยมาตรการซีแบม บังคับใช้กับสินค้า 6 ประเภทที่นำเข้ามาจำหน่ายในสหภาพยุโรป ได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม ซีเมนต์ ปุ๋ย ไฟฟ้า ไฮโดรเจน แม้ สินค้าภายใต้มาตรการซีแบมไทยส่งออกไปอียูน้อย แต่สินค้าอื่นๆส่งไปมากกว่าหากในอนาคตมีการขยายขอบเขตสินค้าไทยได้รับผลกระทบหนักแน่
ส่วนผลกระทบจาก CBAM ประเมินว่า จะมีผลกระทบใน 3 เรื่อง คือ 1. ผลกระทบต่อราคานำเข้าสินค้าจากไทยของอียู ให้ราคาสินค้าแพงขึ้น 2 .ผลกระทบต่อมูลค่าการนำเข้าสินค้าจากไทยของอียู ทำให้ส่งสินค้าไปอียูน้อยลงและ 3.ผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้าของไทยสูงขึ้นจากการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน
“สินค้าที่อยู่ภายใต้ CBAM รวมแล้วจะมีต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นเกือบ 5 หมื่นล้านดอลลาร์ สินค้าที่อียูนำเข้าจากไทยมากและในอนาคตอาจขยายมาตรการครอบคลุมจะมีต้นทุนสูงขึ้น 4.5 แสนล้านดอลลาร์”