World Bank แนะการจัดการและบรรเทาภาวะน้ำท่วมแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง

World Bank แนะการจัดการและบรรเทาภาวะน้ำท่วมแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง

ธนาคารโลกรับความท้าทายในการจัดการน้ำท่วมลุ่มน้ำเจ้าพระยาและเหตุผล การลงทุนและการจัดลำดับความสำคัญ รวมถึงอัปเดตเกี่ยวกับกรอบความร่วมมือและดำเนินการให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานน้ำแห่งชาติทรัพยากร (สทนช.) กล่าวในงาน Workshop on Lower Chao Phraya River Flood Risk Management and Mitigation ว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่สำคัญเป็นหนึ่งในแหล่งผลิตอาหารของโลก  ผลกระทบของน้ำท่วมในไทยเป็นระดับ 1ใน 9 ของโลกโดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มตอนล่าง ใกล้ทะเลในการจัดการบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพนั้นต้องมีการพิจารณาด้านต่างๆ เป็นจำนวนมากในการร่วมมือทางชุมชนในการร่วมมือกันของภาครัฐในการเตรียมพร้อมการรับมือรวมถึงมีแผนบริหารจัดการน้ำ 20 ปีสามารถบริหารจัดการน้ำได้อย่างยั่งยืนและเตรียมรับมือภัยแล้งน้ำท่วม เป็นเรื่องสำคัญเพราะส่งผลต่อสุขภาพความเป็นอยู่เศรษฐกิจและสังคมของประชาชนเป็นอย่างมาก

นายสาโรจ กุมาร จา ผู้อำนวยการ Water Global ธนาคารโลก กล่าวว่า ประเทศไทยในปี 2027 จะเป็นประเทศที่มีรายได้สูงและเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจถ้ามีน้ำท่วมในอนาคตอาจส่งผลต่อการลงทุนในประเทศไทยอย่างมหาศาล ในขณะเดียวกันการกักเก็บน้ำทั่วโลกนั้นมีอยู่ประมาณ 27,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งมากกว่าประชากร 50 เท่าโดยในอนาคตจะมีประชากรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาขาดแคนน้ำจะเป็นปัญหาที่ใหญ่ ดังนั้นการเตรียมพร้อมที่จะรับมือจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่นำไปสู่การเปลี่ยนผ่านอย่างยั่งยืน