'พลังงาน' คาด เวที COP28 ถกเข้ม เร่ง 'แผนพลังงานชาติ' รับกติกาโลก
"พลังงาน" จับตา เวที COP28 ถกเข้ม เร่งการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน แนะเอกชนปรับตัวรับกติกาโลก แม้จะต้องแลกกับต้นทุนที่สูงขึ้น พลิกวิกฤติสร้างธุรกิจใหม่
นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ในการปรับการเปลี่ยนเพื่อก้าวสู่ยุคการปรับเปลี่ยนพลังงานนั้น เนื่องจาก ปัจจุบันประเทศยังใช้เชื้อเพลิงหลักคือฟอสซิล และขณะนี้ ประเทศกำลังจะเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานในรูปแบบใหม่ที่คำนึงถึงความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม
อย่างไรก็ตาม เราคงเคยได้ยินคำว่า โลกเดือด ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญ ในเรื่องของพลังงานนั้น สนพ. จึงต้องดำเนินการจัดทำกรอบแผนพลังงานชาติ (National Energy Plan) ปี 2023-2037 ซึ่งรวมทั้ง 5 แผนพลังงานไว้ด้วยกัน ประกอบด้วย
1.แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP)
2.แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP)
3.แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP)
4.แผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ (Gas Plan) และ
5. แผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง (Oil Plan)
"ถือเป็นความท้าทายของประเทศ จากเดิมที่ใช้พลังงานจากฟอสซิล เมื่อสิ่งแวดล้อมสำคัญ ความเข้มข้นของการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 28 (UNFCCC COP 28) ระหว่างวันที่ 30 พ.ย.-12 ธ.ค.2566 ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จะเข้มข้นมากขึ้น อดีตเน้นเรื่องความมั่นคงพลังงาน วันนี้จะต้องเปลี่ยนผ่านเป็นพลังงานสะอาด เพราะถูกบังคับโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ เรามีซัพพลายตลอดเวลาแต่ต้องมีต้นทุน"
ทั้งนี้ หากประเทศจะเปลี่ยนผ่านพลังงานสะอาดอย่างน้อย 59% ความมั่นคงด้านพลังาานอาจจะมีปัญหา จากการที่ต้นทุนจะสูง ประสิทธิภาพการผลิตจึงต้องใช้เวลา เพราะเชื้อเพลิงด้านพลังงานในประเทศไทยยังต้องคำนึงในเรื่องของราคา เพราะยังไม่สามารถเปิดเสรีเพื่อสร้างการแข่งขันได้เหมือนต่างประเทศ ดังนั้น เมื่อต้องเปลี่ยนเป็นพลังงานสะอาดต้นทุนจึงต้งสูง ถือเป็นความยากลำบาก ในความท้าทนยความเปลี่ยนแปลงจะเป็นโอกาส
นอกจากนี้ ในด้านของเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ประเทศไทยก็สามารถก้าวสู่การเป็นผู้ผลิตได้ ส่วนในเรื่องของมาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน (CBAM) ที่กำหนดโดยสหภาพยุโรป อาจทำให้ประเทศไทยต้องเร่งปรับตัวและสร้างให้เกิดธุรกิจใหม่อย่างรวดเร็ว ทั้งเทคโนโลยีไฮโดรเจน, เทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ หรือ BESS (Battery Energy Storage System) และเทคโนโลยีการดักจับและการจัดเก็บคาร์บอน หรือ Carbon Capture and Storage (CCS) เป็นต้น
นายวัฒนพงษ์ กล่าวว่า ประเทศไทยยังต้องพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ ซึ่งปัจจัยที่กระทบปัจจุบันคือการเปลี่ยนผ่านพลังงาน แม้จะมีการรับรู้มาตั้งแต่ปี 2564 แต่ก็ต้องล่าช้าลงไป เนื่องจากปัจจัยโควิด และสงครามทางการเมืองทั้งรัสเซีย-ยูเครน จนปัจจุบันมีสงครามในอิสราเอล รวมถึงปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ เป็นต้น
ทั้งนี้ กระทรวงพลังงาน ได้พยายามเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนผ่านนโยบายต่างๆ อาทิน โยบาย 30@30 ถือเป็นแนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ของประเทศ แม้ตัวเลขการใช้งานรถอีวีจะเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังต่ำกว่าเป้า อาจเป็นเพราะสถานีชาร์จยังไม่ทั่วถึง โดยปัจจุบัน ประเทศไทยมีไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในสัดส่วน 14% แต่ความต้องการตามกรอบแผนพลังงานชาติที่ 50% สามารถทำได้
"การเพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาดทำได้ สิ่งที่จำเป็นสุด คือ การประหบัดพลังงาน จากแผนเดิม 30% ใหม่ 40% แต่ก็ยังน้อย ดังนั้นแผน PDP จะต้องเร่งเริ่มใช้ให้มากขึ้นจาก 14% ให้ถึง 50% ให้ได้ ดังนั้น ระบบสมาร์ทกริด การวางโครงสร้างพื้นฐานต้องมี เชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพแบบยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel) หรือ SAF อาจเป็นโอกาสเพื่อไม่ให้ธุรกิจเสียหายหริอผลกระทบต่อธุรกิจ"
นอกจากนี้ จากนโยบาย 30@30 รัฐบาลพยายามผลักดันให้เกิดการลงทุนแบตเตอรี่ในประเทศโดยดึงการลงทุนจากต่างประเทศ อีกตัวขับเคลื่อนที่สำคัญคือ เทคโนโลยีไฮโดรเจนจะคอมเมอร์เชียลในปี 2040 ซึ่งจะเป็นบลูไฮโดรเจน หรือ กรีนไฮโดรเจน ก็ได้
"การเปลี่ยนผ่านพลังงาน (Energy Transition) เราต้องมองภาคใหญ่ของประเทศ ดูแลทั้งภาคประชาชนและอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงาน มีหน้าที่เตรียม ยิ่งเป็นภาคที่ปล่อยคาร์บอนสูงถึง 70% จึงต้องหาพลังงานสะอาดมาช่วยลดปริมาณ ถือเป็นความท้าทาย สิ่งสำคัญคือราคา ภาคเอกชนโดยเฉพาะธุรกิจต้องปรับตัว รัฐจะค่อย ๆ ออกนโยบายมาสนับสนุน เพื่อเปลี่ยนตามโลก"