อนาคตในการสร้าง "ระบบอาหารใหม่" เพื่อความยั่งยืน
สภาพภูมิอากาศในปัจจุบันส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหารโภชนาการ และการดำรงชีวิตโดยประเทศที่กำลังพัฒนามีช่องว่างทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน และการรู้หนังสือขัดขวางความสามารถ
KEY
POINTS
- ความท้าทายทางเกษตรกรรมมีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากดิน การเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ และการขยายตัวของเมือง
- เอเชียมีความล้าหลังเล็กน้อยในกรอบการทำงานของการสร้างระบบอาหารใหม่ – ระบบอาหารที่สร้างใหม่ช่วยฟื้นฟูสภาพดินให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ได้อีกครั้ง ซึ่งจะเป็นการช่วยเหลือชุมชน
- สำหรับธุรกิจเทคโนโลยีอาหาร ยังไม่สามารถมองอนาคตให้เป็นภาพเดียวกันได้ชัดเจนนัก ยังคงมีช่องว่างด้านเงินทุนระหว่างประเทศในเอเชียแปซิฟิกและยุโรป
- เทคโนโลยีด้านเกษตรกรรมที่เรียบง่าย มาพร้อมอุปกรณ์ต่าง ๆ อาทิ เครื่องให้อาหารอัตโนมัติ การช่วยให้เข้าถึงข้อมูลด้านสภาพอากาศล่าสุด รวมถึงข้อมูลด้านการใช้ปุ๋ย
ในการส่งมอบความยั่งยืน และความมั่นคงทางอาหาร แนวทางในการเพิ่มความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาคได้อย่างยั่งยืน
ลิสซี่ สมิท ผู้บริหารระดับสูงของ Aqua Spark กล่าวในงาน Economist Impact's 3rd annual Sustainability Week Asia ว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นภูมิภาคที่สำคัญมากในการบริโภคอาหารทะเล มีทั้งโอกาส และความท้าทายมากมายทั้งในระดับภูมิภาค และระดับโลก
สำหรับนวัตกรรมใหม่ๆ บริษัทขนาดเล็กจำเป็นต้องขยายขนาดให้ทันเวลา ซึ่งอาจจะมีช่องว่างด้านเงินทุนระหว่างบริษัทขนาดใหญ่ และขนาดเล็ก
ซึ่งนวัตกรรมใหม่สามารถช่วยได้ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โมเดลคือ การช่วยให้เกษตรกรรายย่อยสามารถใช้ระบบดิจิทัลได้ พร้อมทั้งการสร้างแพลตฟอร์มเพื่อสร้างทักษะผ่านแพลตฟอร์ม ในแต่ละตลาดก็มีความแตกต่างกัน เอเชียไม่จำเป็นต้องกลายเป็น NA หรือ EU โดยยังคงเป็นในแบบของเอเชีย
ควรมีการผสมผสานระหว่างอุปกรณ์ และเทคโนโลยีชั้นสูง ในประเทศอินโดนีเซีย เริ่มต้นด้วยเครื่องป้อนอาหารอัตโนมัติ และข้อมูลเสริมศักยภาพเกษตรกรรายย่อย โดยการแก้ปัญหาด้วยเทคนิคต่างๆ อาจเป็นแอป และอุปกรณ์ที่ไม่ซับซ้อน
ในส่วนของความมั่นคงทางอาหารนั้น "เรามักจะคิดถึงการผลิตอาหารด้วยต้นทุนที่ต่ำ โดยอาจไม่ได้คำนึงถึงต้นทุนที่แท้จริง รัฐบาลสามารถสนับสนุนนวัตกรรม และเปลี่ยนแปลงวิธีที่ผลิตอาหารได้ ข้อเท็จจริงคือ การเกษตรยั่งยืนมักจะเป็นสิ่งที่ถูกกว่า" โดยความต้องการอาหารระดับพรีเมียมกำลังลดลงเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อ และความต้องการอาหารแบบเดิมๆ มีมากขึ้นในปัจจุบัน ทั้งนี้พันธมิตรทั้งหมดในอุตสาหกรรมต้องร่วมมือกัน
โอลิมเปีย ยาเกอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้ง Goterra กล่าวว่า ปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเล็กหรือใหญ่ ล้วนมีความท้าทายที่ยากขึ้นเรื่อยๆ โดยพิจารณาจากดิน การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และการขยายตัวของเมือง
โดยกฎระเบียบยังไม่รวดเร็วมากพอ เพื่อเป็นองค์ประกอบในการบริโภคของมนุษย์ เราจำเป็นต้องมีกฎระเบียบ เราสามารถสร้างแนวทางการออกกฎหมายที่หลากหลาย และมีพลวัตมากขึ้น ในสหภาพยุโรป มีข้อจำกัดมากมายเกี่ยวกับโปรตีน ที่จำเป็นต้องร่วมมือกับรัฐบาล ในฐานะผู้ผลิตอาหาร เนื่องด้วยเรารู้วิธีในการควบคุมอาหาร
ด้วยนวัตกรรมทางเทคโนโลยี และการประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ จะเกิดขึ้นในระยะเวลา 5 ปี สำหรับเกษตรกรในด้านเทคโนโลยีอาหาร ยังไม่เห็นภาพใหญ่ที่ตรงกัน กลับกันหากมองไปที่เทคโนโลยีทางการเงิน และเทคโนโลยีด้านสุขภาพ ล้วนแต่เห็นภาพใหญ่แล้วทั้งสิ้น แต่เรากลับยังไม่เห็นภาพแห่งอนาคตของการลงทุนด้านเทคโนโลยีอาหาร เราไม่เห็นว่าเอเชียแปซิฟิกมีการปรับปรุงอย่างที่เห็นในยุโรป ซึ่งเป็นช่องว่างในเรื่องของการระดมทุนของรัฐถ้าไม่มีข้อมูลก็ทำการเกษตรไม่ได้ เกษตรกรต้องการ การเชื่อมต่อเพื่อให้สามารถซื้อ และขายได้ การศึกษาที่เพิ่มมากขึ้นอาจก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีกว่า เมื่อผู้หญิงได้รับการศึกษาด้านการเกษตร ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นเสมอเพราะผู้หญิงมีความคิดสร้างสรรค์ เกษตรกรไม่ต้องการวิธีที่ซับซ้อน เพียงแค่โซลูชันการเชื่อมต่อที่เรียบง่าย
ทั้งนี้ก็อาหารเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการป้องกันประเทศ การลงทุนในภาคเกษตรกรรม และการเชื่อมโยงเป็นเสาหลักสู่อธิปไตย
ของที่มีราคาถูกจะเป็นของที่ทุกคนต้องการ เราต้องสร้างระบบการทำงานร่วมกันเพื่อให้เกษตรกรสามารถทำการเกษตรด้วยโครงสร้างพื้นฐาน และทรัพยากรที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลหรือบริษัทต่างๆ และจะต้องมีโอกาสสำหรับความเสมอภาค และความสามารถในการจ่าย ทั้งหมดนี้มีส่วนช่วยในส่วนแบ่งการตลาดและการเติบโต และขยายขนาดสำหรับกลุ่มเกษตรกรเพื่อได้ผลประโยชน์ร่วมกัน
มนุษย์ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงหรือสิ่งที่อยู่นอกวัฒนธรรมของตน กินสิ่งที่ปลอดภัย และมักจะไม่ยอมลองอะไรใหม่ๆ หากไม่เข้าตาจนจริงๆ
ฌอน ลี เดวีส์ ผู้บริหารระดับสูง Green is the new black กล่าวว่า เทคโนโลยีได้เติบโตขึ้น มีความก้าวหน้าเกิดขึ้นหลายประการ การเปิดตัวห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับไก่ในสิงคโปร์ แต่ความท้าทายอย่างหนึ่งคือ คนมักบอกว่าสนใจผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน แต่สินค้าเหล่านี้มีราคาแพง และนักลงทุนต้องการผลตอบแทนที่ไม่สมจริง ความหลากหลายจากตลาดจึงเป็นที่ต้องการมากขึ้น
ประเทศต่างๆ มีการนำแนวกฎหมายมาปรับใช้ เราต้องการการสนับสนุนจากรัฐบาล และโครงสร้างพื้นฐาน ไม่เพียงแค่จากบริษัทต่างๆ โปรตีนจากพืชมีส่วนช่วยในการฟื้นฟูสภาพดินได้ ทำให้ดินกลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง เติมสารอาหารให้ดิน สามารถช่วยชุมชน สตรี และการศึกษาได้ ทั้งหมดนี้เป็นประโยชน์เพื่อส่วนรวมทั้งสิ้น สำหรับระบบอาหารที่สร้างใหม่ มีวิธีแก้ไขอยู่ แต่เราต้องการกรอบการทำงานที่ช่วยให้ระบบอาหารใหม่เกิดขึ้นได้ ทั้งนี้ เอเชียยังตามหลังอยู่เล็กน้อย
การมีแอปในด้านของเทคโนโลยีการเงิน และเทคโนโลยีการเกษตรมากมาย เกษตรกรสามารถเข้าถึงการอบรมที่ทันสมัย อาทิ ด้านสภาพอากาศ ด้านการให้ปุ๋ยผ่านแอปต่างๆ ด้วยความช่วยเหลือของ AI เกษตรกรสามารถรับข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อปลูกพืชได้ดีขึ้น และใช้สารเคมีอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ เป็นปัญหาเร่งด่วนที่สุดในยุคนี้ เกษตรกรที่ผลิตอาหารได้รับค่าตอบแทนน้อย ต้องส่งเสริมความเท่าเทียมกันให้กับสังคม เพราะหากไม่มีอาหารเราทุกคนก็ตาย บริษัทเอกชนที่มีกำลังในการช่วยเหลือ ควรช่วยเหลือเกษตรกรอย่างรวดเร็ว
ซึ่งต้องสร้างความตระหนักรู้เป็นอันดับแรก ผู้บริโภคไม่ค่อยตระหนักในเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม เราจะทำอย่างไรให้ผู้คนเปลี่ยนไป สร้างผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้น มีรสชาติดีขึ้น และถูกกว่าเดิม สามารถทำได้แม้ว่าจะต้องใช้เวลาก็ตาม และควรเพิ่มมูลค่าในห่วงโซ่อุปทานเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนกว่าเดิม
พิสูจน์อักษร....สุรีย์ ศิลาวงษ์