EXIM BANK ยกระดับสู่องค์กร เปลี่ยนผ่านสู่การเงินที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
การเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจสีเขียวนั้นภาคการเงินเป็นส่วนช่วยสำคัญในการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านในการดำเนินด้านธุรกิจได้อย่างยั่งยืน
ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (Exim Bank) กล่าวในงาน Climate center grand opening จัดโดย ฐานเศรษฐกิจ หัวข้อ “Road to Green Finance” ว่า ปี 2566 โลกร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ 10 ปีที่ผ่านมา เป็นทศวรรษที่โลกร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ประชากรเกือบครึ่งโลก (3.6 พันล้านคน) ที่ได้รับผลกระทบ Climate Chang ใน “อนาคตต้องมุ่งสู่เส้นทางสีเขียวหรือไม่เช่นนั้น ก็จะไม่มีอนาคตเลย"
Exim Bank ได้มีการปรับตัวภายในองค์กร ให้เข้าสู่ Carbon Neutrality ในปี 2573 เร็วกว่าประเทศ 20 ปี ดังนี้ 1. เป็นสถาบันการเงินแห่งแรก ของไทยที่ออก Green Bond อ้างอิง THOR 2. จัดทำบัญชี ก๊าซเรือนกระจก SFIs แห่งที่สอง 3.ได้รับการรับรอง Carbon Footprint ขององค์กร SFIs แห่งเดียวที่ได้รับการรับรอง ในปี 2566 4.ภายในองค์กรมีการใช้รถ EV 100% ภายในปี 2576 ติดตั้ง Solar Rooftop ปรับปรุงประสิทธิภาพชิลเลอร์และหลอดไฟ LED
ทั้งนี้ยังได้มีการดูแลลูกค้าให้เข้าสู่ความยั่งยืนมากขึ้นดังนี้ 1. ตั้งเป้า 50% ของพอร์ตเป็นสินเชื่อที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในปี 2571 คิดเป็นเกือบ 3 เท่าจากปัจจุบัน 2. สนับสนุนโครงการ Renewable Energy ครอบคลุมทุกประเภท ของโรงไฟฟ้า 3.ให้ความสำคัญด้านพลังงานสะอาด 4.สนับสนุน Blue Bond ,Sustainable Linked Loan (SLL) , ผลิตภัณฑ์ทางการเงินครอบคลุม Scope 1-2-3 5.ให้สินเชื่อเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปี 2566 จำนวน 62,278 ล้านบาท 35% ของผลงาน และมีมาตรการส่งเสริมมาตรการ การเงินสีเขียว
นอกจากนี้ยังมีมาตรการรองรับการเปลี่ยนผ่านของผู้ประกอบการอย่าง สินเชื่อเครือข่ายธุรกิจครบวงจรเสริมสภาพคล่อง SMEs ในเครือข่ายธุรกิจ (Supply Chain) ของผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ SMEs ควบคู่กับการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่เครือข่ายธุรกิจของผู้ส่งออกสินค้า และบริการของไทย สัดส่วนเบิกกู้ สูงสุด 90% ของมูลค่า Invoice Sponsor กรอบวงเงิน 500 ล้านบาท Supplier วงเงินสูงสุด 30% ของยอดขายรวมปีล่าสุด หลักประกันเป็นไปตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด
Exim Bank ได้สนับสนุน Gray World เป็น Green World ดังนี้ 1. พลาสติกชีวภาพ เปลี่ยนไปใช้เม็ดพลาสติกชีวภาพซึ่งผลิตจากธรรมชาติ เช่น มันสำปะหลัง อ้อย เพื่อให้ได้พลาสติกที่ย่อยสลายง่ายขึ้น 2.ข้าวคาร์บอนต่ำ เปลี่ยนจากการปลูกข้าวที่ให้มีน้ำขังตลอดเวลาเป็นให้น้ำเฉพาะในช่วงที่จำเป็นเท่านั้น เพื่อลดการปล่อยมีเทน 3.เหล็กสีเขียว เปลี่ยนไปใช้เตาหลอมไฟฟ้าที่ใช้ Green Hydrogen แทนเตาหลอมแบบเก่าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล 4. ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก เพิ่มสัดส่วนวัสดุอื่น เช่น ยิปซัม หินปูน ประมาณ 10% เพื่อทดแทนปูนเม็ดที่ปล่อยคาร์บอนสูง
นอกจากนี้ในส่วนของภาคการเงินนั้น ภาครัฐ และภาคเอกชนทั่วโลกเริ่มตระหนัก และปรับตัวเพื่อรับมือกับวิกฤติดังกล่าวโดยมีภาคธนาคารเป็น Invisible Hand ในการจัดสรรเงินทุน และทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งภาครัฐไทย จะเป็น Net Zero 2608 โดยเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคม คาร์บอนต่ำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 นอกจากนี้ยังมีกฎระเบียบทางการเงินเพื่อลดโลกร้อนในไทย อย่าง Thailand Taxonomy ระยะแรกครอบคลุมภาคขนส่ง และภาคพลังงานปล่อย GHG รวมกัน 70% ซึ่งเป็นเป้าหมายไปสู่ภาคการเงินที่ทำให้ก้าวไปสู่ความยั่งยืนมากขึ้น
พิสูจน์อักษร....สุรีย์ ศิลาวงษ์