#มารักษ์กัน ชวนผู้ประกอบการ - ผู้บริโภค อย่างยั่งยืนด้วยฉลากสีเขียว

#มารักษ์กัน ชวนผู้ประกอบการ - ผู้บริโภค อย่างยั่งยืนด้วยฉลากสีเขียว

“สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย” เดินหน้าจัดงาน “มารักษ์กัน เพื่อการผลิต และการบริโภคที่ยั่งยืนด้วยฉลากเขียว” ชวนผู้ประกอบการ ผู้บริโภค สร้างความยั่งยืนผ่านเกณฑ์ของฉลากสิ่งแวดล้อม

KEY

POINTS

  • การลดอุณหภูมิประเทศไทยอยู่ในทิศทางที่จะลดลงมาอยู่ระหว่าง 1.6-1.7 องศาเซลเซียส ซึ่งถือเป็นเป้าหมายที่ท้าทาย
  • ภาครัฐได้มีพื้นที่แสดงนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของรัฐ ซึ่งถือเป็นมาตรการเชิงรุกที่สำคัญเพื่อให้เกิดตลาดผลิตภัณฑ์สีเขียว
  • #มารักษ์กัน ชวนภาคเอกชน ผู้ประกอบการ รวมถึงประชาชน ทำความเข้าใจให้รับรู้ถึงความหมายที่แท้จริง เพื่อผลดีของการเลือกซื้อเลือกใช้สินค้า และบริการที่มีฉลากเขียวกำกับ

ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบันการสร้างความยั่งยืนเป็นประเด็นที่ภาคเอกชนตื่นตัว และให้ความสำคัญมากขึ้นแต่ในขณะเดียวกันการดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืนผ่านเกณฑ์ของฉลากสิ่งแวดล้อม ก็ยังอยู่ในวงจำกัด เนื่องจากหลายสาเหตุ อาทิ การสร้างการรับรู้ที่ยังไม่ทั่วถึง การสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของฉลากสิ่งแวดล้อมยังไม่เพียงพอ รวมถึงข้อเสนอหรือแรงจูงใจในการสนับสนุนการใช้ฉลากสิ่งแวดล้อมยังไม่เอื้ออำนวยต่อภาคเอกชนเท่าที่ควร

สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย หรือ TEI ขับเคลื่อนนโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงรุกสู่การปฏิบัติร่วมกับภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม ด้วยหลักธรรมาภิบาล เปิดเวทีเสวนา ในหัวข้อ “มารักษ์กัน เพื่อการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนด้วย ฉลากเขียว” โดยมีตัวแทนจากภาครัฐ และเอกชนชั้นนำ อาทิ กรมควบคุมมลพิษกรมบัญชีกลาง กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

รวมทั้ง ผู้ประกอบการกลุ่มผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์สำหรับบ้านและที่อยู่อาศัย ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้สำนักงาน ผลิตภัณฑ์กระดาษ และผลิตภัณฑ์ยานยนต์ มาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงประเด็น“ฉลากสิ่งแวดล้อมกับการส่งเสริมธุรกิจ ทิศทางการผลิตที่ยั่งยืน (Sustainable Production) และการบริโภคที่ยั่งยืน (Sustainable Consumption)” ทั้งในเชิงนโยบายและการปฏิบัติเพื่อที่จะพัฒนาการผลิตที่สะอาดและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุล นำไปสู่การรักษาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

TEI จับตาสิ่งแวดล้อมโลก และสิ่งแวดล้อมไทย ปี 2567

'คุ้มค่า' แอป ยกระดับการจัดการขยะ

"ฉลากสิ่งแวดล้อม"จุดริเริ่มองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวว่า วันนี้ถือเป็นตลาดนัดพบกันระหว่างผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้กำหนดกฎระเบียบต่างๆ เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาโลกร้อน ซึ่งสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) เป็นเสมือนหน่วยงานกลางระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมให้กลุ่มต่างๆ มาร่วมกันแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม เพราะทำเพียงหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งไม่ได้  TEI ได้ทำการฝึกอบรมบุคลากรด้านต่างๆ ในการดูแลสิ่งแวดล้อม และรับรองฉลากสิ่งแวดล้อม หรือฉลากเขียว เป็นหนึ่งเดียวของไทยเชื่อมต่อฉลากสิ่งแวดล้อมของโลก

ทั้งนี้ ฉลากเขียว เป็นการริเริ่มองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และสภาอุตสาหกรรมของไทย ได้รับรองมาตรฐานแต่เป็นไปในลักษณะสมัครใจ ปีนี้ก้าวเข้าสู่ปีที่ 31 ของการดำเนินการฉลากสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผู้ผลิตหลายหน่วยที่ขอรับรองฉลากเขียวต่อเนื่องเป็นเวลา 20 ปี และนโยบายของรัฐให้ความสำคัญในเรื่องนี้ เราเป็นหน่วยรับรองฉลากสิ่งแวดล้อม

#มารักษ์กัน ชวนผู้ประกอบการ - ผู้บริโภค อย่างยั่งยืนด้วยฉลากสีเขียว

"ประเด็นปัญหา และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องที่หลายฝ่ายกังวล และต่างผนึกกำลังร่วมมือเพื่อหาทางรับมือ โดยประเทศไทย ได้กำหนดเป้าหมายไว้สามระยะคือ ระยะที่หนึ่ง ปี 2030 (พ.ศ.2573) ที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 40% หากได้รับความช่วยเหลือทางการเงิน และเทคโนโลยี ระยะที่สอง เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Carbon Neutrality ในปี 2050(พ.ศ.2593) และระยะที่สาม เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในปี 2065 (พ.ศ.2608) หลังเข้าร่วม COP26 ได้ประกาศเป้าหมายสำคัญคือประเทศไทยจะเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ตั้งเป้าปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065"

ชวนผู้ประกอบการ "ฉลากสิ่งแวดล้อม" สร้างธุรกิจยั่งยืน

ส่วนเรื่องการลดอุณหภูมิประเทศไทยอยู่ในทิศทางที่จะลดลงมาอยู่ระหว่าง 1.6 - 1.7 องศาเซลเซียส ซึ่งถือเป็นเป้าหมายที่ท้าทาย ในขณะเดียวกันการรณรงค์ให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตั้งแต่การผลิตจนถึงการบริโภคในรูปแบบยั่งยืนก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่หลายภาคส่วนตื่นตัว และให้ความสำคัญ โดยสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยในฐานะองค์กรชั้นนำด้านสิ่งแวดล้อม จึงเดินหน้าร่วมขับเคลื่อนนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวสู่การปฏิบัติร่วมกับภาครัฐ เอกชน และประชาสังคมด้วยการเปิดเวทีเสวนาในครั้งนี้

ปัญหาเรื่องของสิ่งแวดล้อมที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้น จะมี 4 เรื่องสำคัญ คือ

1.ปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

2.การปรับตัว

3.วิกฤติอากาศสุดขั้ว ร้อนมากแล้งมาก

4.ผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ

“การแก้ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม หรือสภาพภูมิอากาศไม่ใช่หน้าที่หลักของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หากแต่ประชากรของโลกจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องร่วมมือกันในทุกภาคส่วน ในฐานะสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย มีหน้าที่เผยแพร่ชุดข้อมูล สร้างการตระหนักรู้ โดยเฉพาะ “ฉลากเขียวและฉลากสิ่งแวดล้อม” ให้แก่ภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ รวมถึงประชาชน ในการทำความเข้าใจให้รับรู้ถึงความหมายที่แท้จริง เพื่อผลดีของการเลือกซื้อเลือกใช้สินค้า และบริการที่มีฉลากเขียวกำกับ”

#มารักษ์กัน ชวนผู้ประกอบการ - ผู้บริโภค อย่างยั่งยืนด้วยฉลากสีเขียว

"มารักษ์กัน" เพื่อการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนด้วยฉลากเขียว

ดร.ฉัตรตรี ภูรัต ผู้อำนวยการฝ่ายฉลากเขียวและฉลากสิ่งแวดล้อม สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศจำเป็นที่จะต้องทำควบคู่ไปกับการป้องกันรักษาสิ่งแวดล้อม ดังนั้นฉลากเขียว ฉลากที่ออกให้กับผลิตภัณฑ์ ซึ่งได้ผ่านการประเมิน และตรวจสอบว่าได้มาตรฐานทางด้านคุณภาพและสิ่งแวดล้อม จึงเป็นเสมือนเครื่องมือที่ช่วยป้องกันรักษาธรรมชาติผ่านทางการผลิตและการบริโภค

สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยจึงสนับสนุน และส่งเสริมผู้ประกอบการในการรังสรรค์ผลิตภัณฑ์ และบริการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า ปลอดภัย และไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพอนามัยของผู้ผลิต และผู้บริโภค พร้อมทั้งยังเป็นสื่อกลางเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากเขียว ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียว และเกิดผลลัพธ์คือ ความยั่งยืนในทุกมิติ

“การจัดงานมารักษ์กัน เพื่อการผลิต และการบริโภคที่ยั่งยืนด้วยฉลากเขียว ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีและเป็นอีกเรื่องที่ท้าทายไม่น้อย หากเราจะร่วมกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง และตรงจุดควรเริ่มที่การผลิต และการบริโภค เบื้องต้นเราอาจจะต้องถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้ประกอบการ เพื่อชี้ให้เห็นข้อดีของการผลิตสินค้า และบริการที่ไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อาจสำรวจกลุ่มสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการ และชักจูงให้ผู้ประกอบการผลิต และขอการรับรองฉลากเขียว"

#มารักษ์กัน ชวนผู้ประกอบการ - ผู้บริโภค อย่างยั่งยืนด้วยฉลากสีเขียว

ขณะเดียวกันภาครัฐก็ได้มีพื้นที่แสดงนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของรัฐ ซึ่งถือเป็นมาตรการเชิงรุกที่สำคัญเพื่อให้เกิดตลาดผลิตภัณฑ์สีเขียว ด้วยการกระตุ้นให้ผู้ผลิตหันมาใส่ใจผลิตภัณฑ์ที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและยังเร่งให้เกิดการแข่งขันในการปรับปรุงคุณภาพสินค้าหรือบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดและส่งผลตอบแทนทางเศรษฐกิจแก่ผู้ผลิตเองในระยะยาว

ทั้งนี้ ในส่วนของผู้บริโภค การสร้างความตระหนักรู้ และการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ของ ผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากเขียว ก็เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ซึ่งควรให้มีสื่อการสอนในชั้นเรียนมากขึ้น ทั้งในเรื่องของการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่จะส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม

ดร.มนูญ ใจซื่อ ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับดูแลและบริหารความเสี่ยง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(PEA )  กล่าวว่า PEA เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีการกำหนดเป้าหมาย และแนวทางในการมุ่งสู่ Carbon Neutrality เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนทั้งภายใน และภายนอกองค์กร ภายในปี 2580 และ PEA ขอเป็นส่วนหนึ่งในการทำให้โลกของเราน่าอยู่อย่างยาวนาน และยั่งยืน ซึ่งขณะนี้ PEA มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โครงการ สำนักงานสีเขียว Green Office โดยมีการไฟฟ้าทั้งหมด 496 แห่ง และเข้าร่วมแล้ว 434แห่ง โดยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จำนวน 7,833.37 tCO2e/ปี

"เรื่องการสื่อสารมีความสำคัญอย่างมาก ในการสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งตอนนี้องค์กรใช้สินค้า และบริการที่เป็นฉลากเขียวเกือบทั้งหมด ทำให้สามารถช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้จำนวนมาก"

#มารักษ์กัน ชวนผู้ประกอบการ - ผู้บริโภค อย่างยั่งยืนด้วยฉลากสีเขียว

#มารักษ์กัน ชวนผู้ประกอบการ - ผู้บริโภค อย่างยั่งยืนด้วยฉลากสีเขียว

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์