CAL รุ่น 3 ขับเคลื่อนภารกิจใหญ่ ส่งต่อโลกที่สมบูรณ์ให้คนรุ่นใหม่

CAL รุ่น 3 ขับเคลื่อนภารกิจใหญ่  ส่งต่อโลกที่สมบูรณ์ให้คนรุ่นใหม่

ในฐานะภาคีของเวที Climate Action Leaders Forum รุ่น 3 ได้ตระหนักว่า ภัยธรรมชาติที่รุนแรงจากผล กระทบของวิกฤติสภาพภูมิอากาศ เป็นภัยคุกคามอันยิ่งใหญ่ของโลก และของประเทศไทยที่ได้เข้ามา

ทั้งนี้ยังมีการรับอ่านร่างเอกสาร CAL #3 Communique โดย เกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) และ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็น ประธานในการรับมอบเอกสารประกาศร่างเอกสาร เอกสาร CAL #3 Communique และกล่าวปิดเวที CAL #3 อย่างเป็นทางการ

ซึ่งภัยคุกคามดังกล่าวนั้นได้ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ถึงตัวเรา ทุกคน ผู้คนทุกเพศ ทุกวัย  ซึ่งในปีที่ผ่านมา องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก พบว่า อุณหภูมิความร้อนในช่วงเดียวกันของเดือนกรกฎาคม 2566 ได้สูงทำลายสถิติ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของเดือนกรกฎาคมในเกือบร้อยปีที่ผ่านมา

เลขาธิการสหประชาชาติจึงได้ประกาศว่า โลกเราได้เปลี่ยนผ่านจาก“ช่วงที่ร้อนขึ้น” (Warming phase) ไปสู่​​“ยุคแห่งความร้อนขั้นเดือดทั่วโลกแล้ว” (Global boiling) และเรียกร้องให้ทุกประเทศ ดำเนินการทันทีต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้โลกเข้าสู่จุดพลิกผันของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อันจะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อมนุษยชาติในจุดที่มิอาจย้อนกลับคืนสู่สภาพปกติได้  

 ตระหนักถึง ความมุ่งมั่นที่ประชาคมโลก ประเทศไทย และภาคส่วนต่างๆ ร่วมต่อสู้ปัญหาวิกฤติสภาพภูมิอากาศ โดยต้องทำทันทีและเพิ่มระดับความมุ่งมั่นที่สูงขึ้น ในการมีส่วนร่วมลดก๊าซเรือนกระจกมุ่งสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality & Net Zero GHG Emissions และยกระดับการพัฒนาศักยภาพด้านการปรับตัวต่อผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน 

รับทราบว่า ในส่วนของประเทศไทยได้กำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกมุ่งสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality ไว้ภายในปี 2050 & Net Zero GHG Emissions ไว้ภายในปี 2065

CAL รุ่น 3 ขับเคลื่อนภารกิจใหญ่  ส่งต่อโลกที่สมบูรณ์ให้คนรุ่นใหม่

รับทราบว่า เวทีผู้นำ Climate Action Leaders Forum นี้ได้จัดขึ้นเป็นสมัยที่ 3 ในประเทศไทย โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ร่วมกับ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยผู้นำในเวที CAL Forum ได้ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์ ในประเด็นดังต่อไปนี้ 

CAL รุ่น 3 ขับเคลื่อนภารกิจใหญ่  ส่งต่อโลกที่สมบูรณ์ให้คนรุ่นใหม่

ตระหนักว่า ผลกระทบจากภัยพิบัติ

ความสูญเสียและความเสียหาย มีความถี่และความรุนแรงมากยิ่งขึ้น กระทบกับทุกผู้คน โดยไม่เลือกว่า จะยากจนหรือร่ำรวย มีขีดความสามารถมากหรือมีน้อย “การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” (Adaptation) จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งและสำคัญทัดเทียมกับการขับเคลื่อน “การลดก๊าซเรือนกระจก” (Mitigation) ไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ที่จะต้องทำทันที ไม่มีวันหยุด และจะเร่งเร็วขึ้น

การแก้ไขปัญหาที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน

ตัดสินใจว่า  นอกจากต้องเริ่มดำเนินงานในด้านนโยบายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ยังต้องให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความรู้และทักษะ ความเข้าใจ ความตระหนัก การพัฒนาศักยภาพเพื่อสร้างความพร้อมเพื่อให้เกิดการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ และดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วม ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการเงิน ภาคสื่อมวลชน ภาคการเมือง ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน บนหลักการพื้นฐานแห่งอนุสัญญา UNFCCC

ด้วยความรับผิดชอบร่วม ในระดับที่แตกต่าง และเป็นไปตามกำลังความสามารถ (Common but Differentiated Responsibilities and Respective Capabilities) ด้วยความเข้าใจและสอดคล้องกับบริบทของประเทศและประชาชน ด้วย

การดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ตัดสินใจว่า  ต้องอยู่บนแนวทางที่สร้างความโปร่งใส (Transparency) สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้ โดยส่งเสริมให้มีการรายงานข้อมูล และสื่อสารข้อมูล (Communication) (ตัวอย่าง เช่น National Communication, GHG Inventory, รายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก, รายงานการลดก๊าซเรือนกระจก) ที่จัดทำรายงานด้วยความโปร่งใส น่าเชื่อถือและตรวจสอบได้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับภาคประชาชน ภาครัฐ ภาคเอกชน นักลงทุน ตลอดจนภาคส่วนต่างๆ 

การพัฒนากฎหมาย และเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์

  • การสร้างความตระหนักของสาธารณชน (Public Awareness) สร้างความเข้าใจและความร่วมมือของทุกภาคส่วน ถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ที่จะทำให้ตัวบทกฎหมาย หรือนโยบายต่างๆ ประสบความสำเร็จได้ในท้ายที่สุด 
  • มีความจำเป็นต้องบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน และภาคส่วนต่างๆ 
  • เครื่องมือกลไกราคา ล้วนมีต้นทุน (Cost) และการบริหารจัดการ ที่แตกต่างกัน ซึ่งถือเป็นทางเลือกของการบริหารจัดการ
  • การเขียนกฎหมาย มิได้ถือเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ แต่ “ความร่วมมือของทุกภาคส่วน” ถือเป็นปัจจัยของความสำเร็จ 

ป่าไม้ เป็นมากกว่า

ตกลงว่า Mitigation” เพราะป่าไม้เป็นทั้ง Mitigation and Adaptation Synergy ซึ่งให้ประโยชน์ร่วมทางด้านต่างๆ มากมาย ทั้งเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ตามธรรมชาติ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต เป็นแหล่งอาหารของคนสัตว์พืช ป่าไม้สร้างออกซิเจนให้กับสิ่งมีชีวิตบนโลก ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นและเป็นแหล่งกักเก็บน้ำ ป่าไม้ช่วยลดปัญหาอุทกภัย ลดปัญหาดินถล่มและการสูญเสียหน้าดิน ช่วยลดปัญหาหมอกควัน PM 2.5 และเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับประเทศ นโยบายและการดำเนินงานจึงควรต้องให้ความสำคัญกับภาคป่าไม้เป็นลำดับแรกๆ 

ตระหนักถึงความสำคัญของการแสวงหาความร่วมมือ

ระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ รวมทั้งการสนับสนุนเชิงนโยบายจากภาครัฐ ในด้านต่างๆ เพื่อให้ภาคเอกชนสามารถเดินหน้าดำเนินงาน Climate Action อย่างเต็มกำลัง ทั้งการตั้งเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจก มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ อาทิ

  • กองทุน แรงจูงใจการสนับสนุนทางการเงินการคลัง อาทิ  การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
  • การสนับสนุนมาตรการทางสังคม ยกย่องชื่นชม และสร้างแนวปฏิบัติอันเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคม อาทิ ภาคธุรกิจเอกชนช่วยเหลือชุมชนเกษตรกร ให้ความรู้ความเข้าใจ เปลี่ยนวิธีคิด รวมถึงเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ จะทำให้เกษตรกรรู้และวางแผนได้ สามารถลดค่าใช้จ่ายในการเพาะปลูกได้ ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ โดยใช้เทคโนโลยีที่มีความทันสมัย ฉลาด และยั่งยืนมากยิ่งขึ้น
  • สร้างมาตรการและแรงจูงใจ (Incentive) ที่จะช่วยสนับสนุนให้ภาคธุรกิจเอกชน เข้าไปช่วยเหลือชุมชน มากยิ่งขึ้น อาทิ กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเพื่อสังคมต่างๆ

การแก้ไขปัญหา

ตกลงว่า Climate Change เป็นการกระทำเพื่อส่งต่อโลกใบนี้ให้กับคนรุ่นต่อไปในสภาพที่สมบูรณ์ จึงจำเป็นต้องมีความต่อเนื่อง และต้องมุ่งมั่นดำเนินการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

CAL รุ่น 3 ขับเคลื่อนภารกิจใหญ่  ส่งต่อโลกที่สมบูรณ์ให้คนรุ่นใหม่ CAL รุ่น 3 ขับเคลื่อนภารกิจใหญ่  ส่งต่อโลกที่สมบูรณ์ให้คนรุ่นใหม่