การส่งเสริม 'การลงทุน' เพื่อการลดก๊าซเรือนกระจกอย่างยั่งยืน
ภาพรวมและยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนนั้น มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะเรื่องของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืน
ศุธาศินี สมิตร ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงานรักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการลงทุน(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนผู้ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กล่าวในงานสัมมนาเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย"การบริหารจัดการ ก๊าซเรือนกระจกด้วยนโยบาย การเงิน การคลัง" ว่า ภาพรวมและยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนนั้น โดยภารกิจของ BOI การกำหนดนโยบายและมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อให้สิทธิประโยชน์ ทั้งด้าน Tax & Non-tax และให้คำปรึกษาในการประกอบธุรกิจ การบริการจับคู่และเชื่อมโยงผู้ประกอบการไทย-ต่างชาติ รวมถึงอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ และการนำเข้าบุคลากรต่างชาติ ตลอดจนช่วยแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการลงทุน
โดยมีเครื่องมือส่งเสริมการลงทุนนั้นแบ่งเป็น Tax Incentives ยกเว้นอากรยาเป้าเครื่องจักร สุด 15 ปี ยกเว้น/ลดหย่อนอากรขาเข้าวัตถุดิบ และยกเว้นอากรของที่นำมาทำ R&D Non-Tax Incentives การถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน การนำเข้าบุคลากรต่างชาติโดยอำนวยความสะดวกด้านวีช่าและใบอนุญาตทำงาน รวมถึงอนุญาติให้ต่างชาติถือหุ้นข้างมากหรือทั้งสิ้น Financial Incentives สนับสนุนการลงทุน การวิจัยและพัฒนาการส่งเสริมนวัตกรรม และการพัฒนา บุคลากรเฉพาะด้านในอุตสาหกรรมเป้าหมาย
นอกจากนี้การส่งเสริมการลงทุนเพื่อการลดก๊าซเรือนกระจก แบ่งเป็น
- ภาคอุตสาหกรรม ส่งเสริมอุตสาหกรรม BCG และเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้มาตรการยกระดับอุตสาหกรรมไปสู่ Smart & Sustainable Industry
- ภาคพลังงาน ส่งเสริมการผลิตพลังงานสะอาด ร่วมผลักดันกลไกจัดหา พลังงานสะอาด (UGT)
- ภาคการขนส่ง โดยการส่งเสริมรถยนต์ EV ทุกประเภทแบบครบวงจร
- ภาคชุมชน มีมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและ สังคม เช่น เกษตรยังยืน, ลดฝุ่น PM2.5
ซึ่งสอดคล้องกับการส่งเสริมการลงทุนตามแนวคิด BCG แนวคิดเศรษฐกิจ BCG ที่เป็นการพัฒนาความเข้มแข็งจากศักยภาพภายในประเทศ ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพโดยนำความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปพัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรที่มีอยู่ในประเภทกิจการดังนี้ 1.กิจการผลิตเชื้อพลิงจากเศษวัสดุ หรือ ขยะหรือ ของเสียที่ได้จากผลผลิตทางการเกษตร เช่น Biomass to Liquid (BTL) ก๊าซชีวภาพจากน้ำเสีย 2.กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้า หรือพลังงานไฟฟ้าและไอน้ำจากพลังงานหมุนเวียน 3.กิจการผลิตเคมีภัณฑ์ หรือพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือผลิตภัณฑ์จากพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 4.กิจการผลิตอาหารทางการแพทย์ (Medical Food)หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Food Supplement) 5.กิจการโรงงานผลิตพืช (Plant Factory) 6.กิจการขยายพันธ์สิตว์และเลียงสัตว์ และ 7.กิจการศูนย์กลางการค้าสินค้าเกษตร
โดยสถิติคำขอรับการส่งเสริม กิจการกลุ่ม BCG ช่วงปี 2558 - มีนาคม 2567 รวม 4,688 โครงการ เงินลงทุน 974,219 ล้านบาท
ทั้งนี้ยังการให้การส่งเสริมประเภทกิจการเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรม ดังนี้
1.อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร และเทคโนโลยีชีวภาพ
- การสารทำความเย็นที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยใน กิจการห้องเย็นกรณีใช้ Natural Refrigerants : ยกเว้นภาษีเงินได้ 3 ปี และกรณีใช้ แอมโมเนีย/ ไม่ใช่ Natural Refrigerants (ต้องมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย) ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
- กิจการผลิตเชื้อเพลิงจากเศษวัสดุหรือของเสียที่ได้จาก ผลผลิตทางการเกษตร ก๊าซชีวภาพจากน้ำเสีย ไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้ว : ยกเว้นภาษีเงินได้ 8 ปี และกิจการผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัด : ยกเว้นภาษีเงินได้ 5 ปี
2. อุตสาหกรรมเคมี ปิโตรเคมี และพลาสติก สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดักจับและใช้ ประโยชน์คาร์บอน (Carbon Capture Utilization and Storage: CCUS)
- กิจการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี กรณีใช้เทคโนโลยี CCUS : ยกเว้นภาษีเงินได้ 8 ปี และกรณี ทั่วไป : ยกเว้นภาษีเงินได้ 5 ปี
- กิจการโรงแยกก๊าซธรรมชาติ กรณีใช้เทคโนโลยี CCUS : ยกเว้นภาษีเงินได้ 8 ปี และกรณี ทั่วไป : ยกเว้นภาษีเงินได้ 5 ปี
3.อุตสาหกรรมยานยนต์ ที่ใช้พลังงานไฟฟ้น
- ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 – 13 ปี
- ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์
- ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิตเพื่อการส่งออก เงื่อนไข: จะต้องมีการผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้าที่เริ่มจากขั้นตอน การผลิต MODULE ภายใน 3 ปี นับจากวันออกบัตรส่งเสริม
รวมถึงการให้การส่งเสริมประเภทกิจการเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกสาธารณูปโภค
- กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้า หรือพลังงานไฟฟ้าและไอน้ำจากขยะหรือเชื้อเพลิงจากขยะ (Refuse Derived Fuel)
- กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้า หรือ พลังงานไฟฟ้าและไอน้ำจาก พลังงานหมุนเวียน เช่น แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล ก๊าซชีวภาพเป็นต้น ยกเว้นขยะ หรือ เชื้อเพลิงจากขยะ
- กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้า หรือพลังงานไฟฟ้าและไอน้ำจากไฮโดรเจน
- กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าหรือ พลังงานไฟฟ้าและไอน้ำจากพลังงานอื่นๆ
- กิจการบริการด้านจัดการพลังงาน (Energy Service Company: ESCO)
- กิจการผลิตเชื้อเพลิงจากขยะ (Refuse Derived Fuel)
มีสิทธิและประโยชน์ดังนี้
- ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 – 8 ปี
- ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์
- ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิตเพื่อการส่งออกสิทธิ์และประโยชน์อื่นที่มิใช่ภาษี
สถิติการขอรับการส่งเสริมการลงทุนผลิตไฟฟ้าจาก พลังงานหมุนเวียน ในปี 2561 - 2566จำนวน 1,975 โครงการ เงินลงทุนรวม 192,784 ล้านบาทในปี 2566 มีการขอรับส่งเสริมรวมมูลค่า 70,691 ล้านบาท สูงกว่าปี 2565 ถึง 3 เท่า ซึ่งสอดคล้องกับมาตรการยกระดับอุตสาหกรรม (Smart & Sustainable Industry) สิทธิประโยชน์ปรับปรุงประสิทธิภาพ
- โครงการเดิม ยกเว้นภาษีเงินได้ฯ 3 ปี สำหรับรายได้ของกิจการ ที่ดำเนินการอยู่เดิม เป็นสัดส่วน 50% หรือ 100% (ขึ้นกับเงื่อนไข) ของเงินลงทุนในการปรับปรุง
- ยกระดับกิจการกลุ่ม B ที่ลงทุนโครงการใหม่ ยกเว้นภาษีเงินได้ฯ 3 ปี เป็นสัดส่วน 50% หรือ 100% (ขึ้นกับเงื่อนไข) ของเงินลงทุนในระบบอัตโนมัติ และหุ่นยนต์ หรือระบบการผลิตแบบอุตสาหกรรม 4.0
มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทนหรือการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่ส่งเสริมการลงทุนปรับเปลี่ยนเครื่องจักร เพื่อการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน หรือการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมดังนี้
- ปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อลดการใช้พลังงาน
- ปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อนำพลังงานทดแทน มาใช้ในกิจการ
- ปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของเสีย น้ำเสีย อากาศเสีย
- ปรับเปลี่ยนเครื่องจักร เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนและรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) ทั้งหมดนี้เป็นมาตราการส่งเสริมการลงทุนนั้น มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศซึ่งจะสามารถเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านได้อย่างยั่งยืนต่อไป