‘ภาวะโลกร้อน’ ถล่ม ‘กรีซ’ เจอ ‘คลื่นความร้อน-ไฟป่า-สภาพอากาศสุดขั้ว’

‘ภาวะโลกร้อน’ ถล่ม ‘กรีซ’ เจอ ‘คลื่นความร้อน-ไฟป่า-สภาพอากาศสุดขั้ว’

“กรีซ” เผชิญกับคลื่นความร้อนเร็วที่สุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนนี้ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและหายตัวไปจำนวนมาก รวมถึงปิดโรงเรียนและสถานที่ท่องเที่ยว กลายเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุดในโลก

KEY

POINTS

  • “ยุโรป” เป็นทวีปที่ร้อนเร็วที่สุดในโลก มีอุณหภูมิสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกถึง 2 เท่า โดยพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากภาวะโลกร้อน คือ ยุโรปตอนกลางและตะวันออกเฉียงใต้ และรอบ ๆ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
  • ลักษณะภูมิประเทศของ “กรีซ” ทำให้ได้รับลมจากทุกทิศทาง และมีความเสี่ยงต่อภัยพิบัติมากขึ้น นอกจากนี้ยังได้รับลมร้อนจากทวีปแอฟริกา ที่พัดเอาฝุ่น คลื่นความร้อนมา ทำให้เกิดไฟป่าบ่อยยิ่งขึ้น
  • “สภาพอากาศสุดขั้ว”  ที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ ในปี 2553-2562 กลับมีสภาพอากาศสุดขั้วเกิดขึ้นมากถึง 90 ครั้ง

กรีซ” เข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการแล้ว โดยคลื่นความร้อนส่งผลให้มีอุณหภูมิทะลุ 43 องศาเซลเซียส จนรัฐบาลสั่งปิดโรงเรียนหลายแห่งและสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญอย่าง “อัครปุระเอเธนส์” หรือที่คุ้นในชื่อ “อะโครโพลิส” (The Athens Acropolis) แหล่งมรดกโลก

ด้วยอากาศร้อนสูงในกรีซส่งผลให้มีนักท่องเที่ยวเสียชีวิตและหายตัวไปหลายคน หนึ่งในนั้นคือ ไมเคิล มอสลีย์ แพทย์และพิธีกรชื่อดังของสหราชอาณาจักร ถูกพบว่าเสียชีวิตเมื่อต้นเดือนนี้ หลังจากการเดินป่าท่ามกลางอุณหภูมิที่ร้อนจัดบนเกาะไซมีของกรีซ

รูปแบบการหายตัวและเสียชีวิตของนักท่องเที่ยวเหล่านี้ “มีรูปแบบที่เหมือนกัน” พบว่า ทุกคนเสียชีวิตหรือหายตัวไประหว่างเดินป่าท่ามกลางอุณหภูมิสูง ทั้งหมดนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้เกิดคลื่นความร้อนที่ยาวนานและรุนแรงมากขึ้น

ขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและคลื่นความร้อน ทำให้เกิดไฟป่าทั่วประเทศกรีซ อีกทั้งลมกระโชกแรง ทำให้เกิดไฟลุกขึ้นใหม่ทุก 10 นาที และทำให้ไฟโหมกระหน่ำ นักดับเพลิงควบคุมไฟได้ยากขึ้น ประชากรหลายเมืองต้องอพยพออกจากหมู่บ้านเพื่อหนีไฟป่า

‘ภาวะโลกร้อน’ ถล่ม ‘กรีซ’ เจอ ‘คลื่นความร้อน-ไฟป่า-สภาพอากาศสุดขั้ว’

“กรีซ” เผชิญหน้า “ภาวะโลกร้อน” รุนแรงที่สุดในโลก

ยุโรป” เป็นทวีปที่ร้อนเร็วที่สุดในโลก มีอุณหภูมิที่นี่สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกถึง 2 เท่า ตามข้อมูลจากองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก หรือ WMO และ สถาบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโคเปอร์นิคัสของสหภาพยุโรป หรือ C3S โดยพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากภาวะโลกร้อน คือ ยุโรปตอนกลางและตะวันออกเฉียงใต้ และรอบ ๆ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

“ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็นจุดพีคของวิกฤติสภาพภูมิอากาศ ” ดร.คอสตาส ลากูวาร์โดส จากหอดูดาวแห่งชาติเอเธนส์ หรือ NOA กล่าว พร้อมชี้ให้เห็นว่าทางตอนใต้ของอิตาลี ไซปรัส ตุรกี และประเทศในแอฟริกาตอนเหนือได้รับผลกระทบหนักจากคลื่นความร้อนรุนแรง

พื้นที่ทางตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกำลังร้อนขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นพิเศษ ในช่วง 30-40 ปีที่ผ่านมา การวิจัยของ NOA แสดงให้เห็นว่า กรีซมีอุณหภูมิโดยรวมที่เพิ่มขึ้นสูงกว่า 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งถือเป็นอุณหภูมิสูงขึ้นแบบก้าวกระโดดในระยะเวลาเพียงไม่กี่สิบปี

เมื่อปีที่แล้วกรีซเจอ “คลื่นความร้อน” ถึง 16 วัน ซึ่งยาวนานเป็นประวัติการณ์ ทำให้เกิดไฟป่าครั้งใหญ่ที่สุดในสหภาพยุโรป กินพื้นที่ใหญ่กว่ากรุงเอเธนส์ 2 เท่า จนเกิดควันขนาดใหญ่ปกคลุมยาวนานตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 28 ราย และบาดเจ็บหลายสิบคน

หลังจากนั้นในเดือนกันยายน กรีซก็ถูกพายุดาเนียลพัดถล่ม หลายพื้นที่เกิดน้ำท่วมรุนแรง ฝนตกหนักทั้งวัน ทำให้มีปริมาณน้ำฝนมากกว่าค่าเฉลี่ยฝนโดยเฉลี่ยทั้งปีเสียอีก

‘ภาวะโลกร้อน’ ถล่ม ‘กรีซ’ เจอ ‘คลื่นความร้อน-ไฟป่า-สภาพอากาศสุดขั้ว’

ภูมิประเทศเอื้อให้เกิดภัยพิบัติอันตราย

กรีซเป็นประเทศที่มีแนวชายฝั่งที่ยาวที่สุดในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และมีเกาะนับพันอยู่ทั่วภูมิภาค ดร.ลากูวาร์โดส กล่าวว่าด้วยลักษณะภูมิประเทศเช่นนี้ทำให้กรีซได้รับลมจากทุกทิศทาง และมีความเสี่ยงต่อภัยพิบัติมากขึ้น 

ทะเลและภูมิอากาศมีความสัมพันธ์กันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อมีปัจจัยใดอุ่นขึ้น ก็จะทำให้อีกส่วนอุ่นขึ้นด้วยเช่นกัน เมื่อปีที่แล้ว คลื่นความร้อนในฤดูร้อนทำให้อุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูงขึ้นทำลายสถิติ จนเกิดพายุดาเนียล ไซโคลนที่มีความรุนแรงกว่าปรกติ (cyclogenesis) 

นอกจากนี้ กรีซอยู่ใกล้กับทวีปแอฟริกา ทำให้คลื่นลมร้อนจากแอฟริกาเคลื่อนตัวข้ามมหาสมุทรมายังกรีซ และพัดพาฝุ่นทำให้เกิดคลื่นความร้อน ในตอนนี้กรีซกำลังโดนลมทางต้นเหนือ “เอเทเซียน” ที่มีกำลังลมแรงและแห้งแล้ง พัดผ่านทะเลอีเจียน ส่งผลกระทบต่อหมู่เกาะและทางตะวันออกของกรีซ รวมถึงกรุงเอเธนส์ ซึ่งปีนี้มาเร็วกว่ากำหนด ปรกติแล้วลมนี้จะมาในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม แต่ปีนี้มาตั้งแต่เดือนมิถุนายน

ดร.ลากูวาร์โดส ลมชนิดทำให้เกิดการรวมกันของสภาพอากาศที่แห้ง ร้อน และลมแรง จนเกิดสถานการณ์ไฟป่าที่เลวร้ายที่สุด และตราบใดที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังคงมีอยู่ ไฟป่าในกรีซจะเกิดขึ้นบ่อยมากกว่าภูมิภาคอื่น ๆ 

‘ภาวะโลกร้อน’ ถล่ม ‘กรีซ’ เจอ ‘คลื่นความร้อน-ไฟป่า-สภาพอากาศสุดขั้ว’

 

สภาพอากาศสุดขั้วได้เพิ่มขึ้นในกรีซ

ปัจจุบันกรีซได้ก่อตั้งเครือข่ายสถานีอุตุนิยมวิทยาบนพื้นผิวอัตโนมัติหลายร้อยแห่งทั่วประเทศ เพื่อติดตามสภาพอากาศภายในประเทศ ช่วยให้การแจ้งเตือนความร้อนในพื้นที่มากขึ้นและติดตามแนวโน้มว่าส่วนใดของประเทศจะร้อนขึ้นเร็วที่สุด ซึ่งพื้นที่ที่ร้อนที่สุดกลับไม่ใช่ทางตอนใต้ของกรีซ แต่เป็นพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ ที่ส่วนใหญ่เป็นเกาะ และมีแนวโน้มประสบกับภาวะโลกร้อนที่สูงขึ้นในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา

NOA เก็บข้อมูลเหตุการณ์ “สภาพอากาศสุดขั้ว”  ที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ พบว่า ตั้งแต่ปี 2543-2552 เกิดสภาพอากาศสุดขั้ว 60 ครั้ง แต่ในปี 2553-2562 กลับมีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นมากถึง 90 ครั้ง เพิ่มขึ้น 50%

เพื่อแก้ไขปัญหาสภาพอากาศสุดขั้วและไฟป่าที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงในฤดูร้อนปี 2564 กรีซได้ก็ตั้งกระทรวงสภาพภูมิอากาศขึ้น เนื่องด้วยกรีซเผชิญหน้ากับปัญหาสภาพภูมิอากาศทำให้ผู้นำประเทศให้ความสนใจกับปัญหานี้มากกว่าการทำสงคราม ซึ่งแตกต่างจากประเทศส่วนใหญ่ในยุโรป

“วิกฤติสภาพภูมิอากาศมาถึงกรีซแล้ว และบังคับให้เรามองทุกสิ่งแตกต่างออกไป” ไคเรียคอส มิตโซเทคิส นายกรัฐมนตรีกรีซกล่าวในปี 2023


ที่มา: CNNEuro NewsOutlook