กระทรวงเกษตรฯ ประกาศ 2 เดือน ปัญหาปลาหมอคางดำคลี่คลาย เปิดรับซื้อ 15 บาท/กก.

กระทรวงเกษตรฯ ประกาศ 2 เดือน ปัญหาปลาหมอคางดำคลี่คลาย เปิดรับซื้อ 15 บาท/กก.

กระทรวงเกษตรฯ ประกาศปัญหาปลาหมอคางดำคลี่คลาย 2 เดือน เปิด 73 จุด รับซื้อปลาหมอคางดำ กิโลกรัมละ 15 บาท ครอบคลุมทั่วประเทศ ดึงคนไทยร่วมแก้ปัญหาหลังแพร่พันธุ์ไปหลายพื้นที่

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตลาดคลองด่าน ต.คลองด่าน อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ เพื่อพบปะเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและชาวประมง พร้อมมอบเครื่องมือประมงใช้จับปลาหมอคางดำ

นายอรรถกร กล่าวว่า กระทรวงเกษตรฯ มีจุดรับซื้อทั่วประเทศ 73 จุด โดยไม่ต้องใช้เอกสารและไม่ต้องผ่านกระบวนการมากมาย

“ผมมาวันนี้เพื่อจะมาขอความร่วมมืออีกครั้ง และผมเชื่อว่าวันนี้จะไม่ใช่วันสุดท้าย ผมในฐานะตัวแทนของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์"

ทัง้นี้ กระทรวงเกษตรฯ ขอความร่วมมือชาวประมงร่วมจับปลาหมอคางดำ เพราะถ้าปล่อยให้ระบาดจะส่งผลต่ออนาคต

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า กรมประมง กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ร่วมกันในการทำงานครั้งนี้ โดยสำนักงานประมงจังหวัดสมุทรปราการ ต้องขอความร่วมมือผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ

รวมทั้งได้รับการยืนยันจากนายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม หากพื้นที่ใดมีปลาหมอคางดำชุกชุม ให้ประสานกำลังทหารเพื่อมาช่วยจับได้

"ผมเชื่อว่าอีก 1-2 เดือน สถานการณ์การปลาหมอคางดำจะต้องดีขึ้น ถ้าพวกเราช่วยกันก็จะแก้ไขปัญหาได้เร็วยิ่งขึ้น"

สำหรับจุดรับซื้อปลาหมอคางดำเปิดจุดรับซื้อวันที่ 1–31 สิงหาคม 2567 โดยมีจุดรับซื้อ 73 จุด ดังนี้

  • จังหวัดจันทบุรี มีจุดรับซื้อทั้งหมด 4 จุด
  • จังหวัดระยอง 2 จุด
  • จังหวัดฉะเชิงเทรา 3 จุด
  • จังหวัดสมุทรปราการ 6 จุด
  • จังหวัดนครปฐม 1 จุด
  • จังหวัดนนทบุรี 1 จุด
  • จังหวัดสมุทรสาคร 6 จุด จังหวัด
  • สมุทรสงคราม 3 จุด
  • จังหวัดราชบุรี 1 จุด
  • จังหวัดเพชรบุรี 10 จุด
  • จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 13 จุด
  • จังหวัดชุมพร 14 จุด
  • จังหวัดสุราษฎร์ธานี 3 จุด
  • จังหวัดนครศรีธรรมราช 5 จุด
  • จังหวัดสงขลา 1 จุด

ทั้งนี้ ผู้ขายรายย่อย (เกษตรกร ชาวประมง) ไม่มีหลักเกณฑ์การรับซื้อ โดยรับซื้อกิโลกรัมละ 15 บาท ไม่จํากัดจํานวน

ส่วนเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ํา (ทบ.1) จับจากบ่อตนเองให้แจ้งข้อมูล ทบ.1 ที่จุดรับซื้อเพื่อฐานข้อมูล

นายอรรถกร กล่าวว่า ได้รับความร่วมมือจากการยางแห่งประเทศไทยเรื่องเงินทุน 50 ล้านลาท เพื่อระดมนำปลาหมอคางดำออกจากระบบนิเวศให้มากที่สุด รวมทั้งกระทรวงเกษตรฯ ประกาศ 7 มาตรการ ดังนี้

1.มาตรการกำจัดและนำปลาหมอคางดำออกจากระบบนิเวศให้มากที่สุด 

2.มาตรการรอการกำจัด โดยต้องรอให้ปลาหมอคางดำลดลง หลังจากนั้นจะใช้วิธีธรรมชาติบำบัดโดยปล่อยปลานักล่า อาทิ ปลากะพง ปลาอีกง โดยแต่ละพื้นใช้ปลานักล่าไม่เหมือนกัน ซึ่งจะช่วยลดปริมาณปลาหมอคางดำได้

3.การนำปลาหมอคางดำที่จับขึ้นมาได้ไปด้านอื่น โดยตั้งเป้าภายในปี 2567 ถึงกลางปี 2568 จับให้ได้ไม่ต่ำกว่า 4,000 ตัน

4.มาตรการเฝ้าระวังไม่ให้มีการแพร่ระบาดไปพื้นที่อื่น 

5.การทำความเข้าใจเรื่องการแพร่พันธุ์ในพื้นที่ 17 จังหวัด

6.การใช้การวิจัย นวัตกรรมเข้ามาช่วย เช่น การเหนี่ยวนำโครโมโซม จาก 2n เป็น 4n ซึ่งจะทำให้ปลาเป็นหมัน และใช้ฟีโรโมนหรือสารคัดหลั่งดึงดูดทางเพศ ในการนำแสงสีไปล่อให้ปลาหมอคางดำมารวมบริเวณเดียวกันเพื่อง่ายต่อการจับและกำจัด ซึ่งเป็นแนวคิดเดียวกับการใช้แสงสีเขียวล่อหมึก 

7.กระทรวงเกษตรฯ จะศึกษาแหล่งน้ำที่พบปลาหมอคางดำในปัจจุบันมีปลา ปู กุ้ง หอย อะไรบ้าง เพื่อเป็นข้อมูลให้กรมประมงเตรียมเพาะพันธุ์สัตว์เพื่อคืนระบบนิเวศ