เปิดไทม์ไลน์ 'CPF' แจงประเด็นปลาหมอคางดำ ยันไม่ได้หลุดจากฟาร์มยี่สาร

เปิดไทม์ไลน์  'CPF' แจงประเด็นปลาหมอคางดำ ยันไม่ได้หลุดจากฟาร์มยี่สาร

CPF แจงประเด็นปลาหมอคางดำ ไม่ได้หลุดจากฟาร์มยี่สาร ย้ำโครงการวิจัยทำตามขั้นตอนระเบียบและกฎหมายอย่างเคร่งครัด

ประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ชี้แจงกับ “กรุงเทพธุรกิจ” ว่า แผนการวิจัยปลาหมอคางดำนั้นมีวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยเพื่อปรับปรุงพันธุ์ปลานิลให้ลดการเกิดเลือดชิดของสายพันธุ์เดิมที่มีอยู่ เป็นที่มาของการขออนุญาตนำเข้าปลาจากกานา  ในปีที่ขออนุญาต 2549 ปลาชนิดนี้ยังไม่มีชื่อภาษาไทย จึงระบุชื่อว่า “ปลานิล” ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sorotherodon melanotheron และชื่อสามัญว่า “Blackchin Tilapia”

ไทม์ไลน์การนำเข้าและดูแลปลาหมอคางดำ

ในปี 2549 มีการนำเข้าลูกปลาจากประเทศกานา แต่ไม่สามารถรวบรวมปลาให้ได้ 5,000 ตัว จึงทำให้ต้องนำเข้าจริงในปี 2553 แต่ก็ได้เพียง 2,000 ตัวเท่านั้น และเมื่อลูกปลาขนาด 1 กรัม มาถึงสนามบินสุวรรณภูมิ ขั้นตอนต่างๆก็เป็นไปตามที่ได้ชี้แจงไปยังคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กมธ.อว.) และคณะอนุกรรมาธิการฯ  ผ่านการควบคุมและตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ตามข้อกำหนด จากการตรวจสอบคุณภาพ

22 ธ.ค. 2553 เวลาประมาณ 20.00 น. CPF เดินทางไปรับลูกปลาหมอคางดำ ในด่านตรวจสัตว์น้ำสุวรรณภูมิ พบว่าปลาได้รับความเสียหายจากการขนส่ง ซึ่งมีลูกปลาตายจำนวนมากถึงกว่า 70% เนื่องจากลูกปลาขนาดเล็กมากและเดินทางไกลจากกานา เนื่องมาจากระยะเวลาในการขนส่งปลาจากกานามาถึงเมืองไทย คาดว่าระยะเวลามากกว่า 35 ชั่วโมง และนำปลาทั้งหมดไปที่ฟาร์มปลายี่สาร จ.สมุทรสงครามทันทีและทำการตรวจสอบพบว่ามีปลาตายในถุงจำนวน 1,400 ตัว คงเหลือ 'ปลาที่อ่อนแอจำนวนเพียง 600 ตัว'

เปิดไทม์ไลน์  \'CPF\' แจงประเด็นปลาหมอคางดำ ยันไม่ได้หลุดจากฟาร์มยี่สาร

เวลาประมาณ 23.00 น. นำปลาที่มีสภาพอ่อนแอจำนวน 600 ตัว เข้ากักกันโรคในบ่อซิเมนต์กลมขนาด 8 ตัน 1 บ่อ ในระบบปิด ในฟาร์มยี่สาร กระบวนการนี้เป็นช่วงเวลาของการกักกันโรค (Quarantine) ตามมาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพ (Bio-Securities)  และนำปลาจำนวน 1,400 ตัวที่ตายแช่ฟอร์มาลีนก่อนนำไปทำลายโดยการฝังกลบ และมั่นใจว่าไม่มีปลาหมอคางดำหลุดไปอย่างแน่นอน

เปิดไทม์ไลน์  \'CPF\' แจงประเด็นปลาหมอคางดำ ยันไม่ได้หลุดจากฟาร์มยี่สาร

ระหว่างวันที่ 24 ธ.ค. 53 - 2 ม.ค. 54 ผู้ดูแลได้มีการปรึกษาเจ้าหน้าที่กรมประมงว่าลูกปลาไม่แข็งแรงและไม่เพียงพอต่อการวิจัย เจ้าหน้าที่ให้เก็บ ตัวอย่างปลาใส่ขวดโหลแช่ฟอร์มาลีนมาส่งที่กรมประมง

ในสัปดาห์ที่ 2 เก็บตัวอย่างปลา 50 ตัวดองฟอร์มาลีนเข้มข้น เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานและสัปดาห์ที่ 3 วันที่ 6 ม.ค. 54 นำตัวอย่างปลาไปส่งและแจ้งปิดโครงการแก่เจ้าหน้าที่กรมประมง

การวิจัยของ CPF ถูกยุติทั้งหมดเมื่อปี 54

เนื่องจากลูกปลาในบ่อกักกัน ทยอยตายลงทุกวันตั้งแต่ 22 ธ.ค. 2553 – 6 ม.ค. 2554 ขั้นตอนตามแผนวิจัยจึงต้องล้มเลิก เนื่องปลาไม่เพียงพอสำหรับการวิจัย โดยนักวิจัยของบริษัทได้ขออนุญาตทำลายลูกปลาด้วยคลอรีนเข็มข้นและยุติโครงการ จากนั้นได้แจ้งกรมประมงและนำซากปลาส่งให้เจ้าหน้าที่กรมประมง

ทั้งนี้ CPF ได้ปฎิบัติตามเงื่อนไขการนำเข้าของคณะกรรมการด้านความหลากหลายและความปลอดภัยทางชีวภาพ (IBC) ดังนี้

เงื่อนไขที่ 1 เมื่อสิ้นสุดการทดลองให้แจ้งผลการทดลองต่อกรมประมง เนื่องจากลูกปลาเสียหายทั้งหมดในขณะกักกันเพียง 16 วัน ไม่เป็นไปตามเป้าหมายการวิจัยและบริษัทไม่ประสงค์ทำการศึกษาต่อ จึงทำลายปลาชุดดังกล่าวทั้งหมดและแจ้งเจ้าหน้าที่กรมประมงในวันที่ 6 ม.ค. 2554

 

เงื่อนไขที่ 2 กรมประมงเก็บตัวอย่างครีบ โดยไม่ทำให้ปลาตายอย่างน้อย 3 ตัว การเก็บครีบปลาจะทำเมื่อเข้าสู่ช่วงวิจัย และปลามีขนาดโตเหมาะสมแล้วเท่านั้น แต่เนื่องจากปลาไม่แข็งแรงและเสียหายทั้งหมดในขณะกักกันเพียง 16 วัน จึงยังไม่ถึงขนาดที่จะทำการเก็บครีบปลาโดยไม่ทำให้ปลาตายได้

และเข้าใจได้ว่าหน้าที่การเก็บครีบปลาตามข้อสรุปของคณะกรรมการด้านความหลากหลายและความปลอดภัยทางชีวภาพ (IBC) นั้นเป็นหน้าที่ของกรมประมง เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นครีบปลาชนิดนั้นจริง และเป็นโอกาสให้เจ้าหน้าที่ได้เห็นสถานที่จริงในการทำวิจัย

เงื่อนไขที่ 3 หากผลการศึกษาไม่เป็นไปตามเป้าหมายและไม่ประสงค์จะศึกษาต่อ ให้ทำลายปลาชุดดังกล่าวทั้งหมด และแจ้งกรมประมงเพื่อส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวสอบการทำลายต่อไป  ในข้อนี้บริษัทได้แจ้งกรมประมงในวันที่ 6 ม.ค. 2554

พร้อมส่งซากปลาจำนวน 50 ตัว ให้กรมประมงทำการตรวจสอบ โดยได้ทำลายปลาที่เสียหายทั้งหมดด้วยการใส่คลอรีนเข้มข้น 100 ppm ในบ่อกักกัน เก็บซากปลาทั้งหมดออกมาแช่ฟอร์มาลีน และฝังกลบโดยขุดหลุมลึกประมาณ 50 ซม. โรยปูนขาวที่ก้นหลุม ใส่ซากปลาลงไป แล้วโรยปูนขาวปิดตัวปลา ก่อนเอาดินกลบ

เปิดไทม์ไลน์  \'CPF\' แจงประเด็นปลาหมอคางดำ ยันไม่ได้หลุดจากฟาร์มยี่สาร

เปิดไทม์ไลน์  \'CPF\' แจงประเด็นปลาหมอคางดำ ยันไม่ได้หลุดจากฟาร์มยี่สาร

การตั้งข้อสังเกตของ CPF เกี่ยวกับงานวิจัยปลาหมอคางดำ ปี 2563 และ 2565

ประสิทธิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า  การอ้างอิงถึงเอกสารทั้ง 2 ฉบับนั้น เพื่อเป็นการให้ข้อมูลตามผลการศึกษาเท่านั้น ไม่ได้ ต้องการจะสรุปประเด็นการศึกษา ความหลากหลายพันธุกรรมของประชากรปลาหมอคางดำ และการวิเคราะห์เส้นทางการแพร่ระบาดของปลาหมอสีคางดำ

งานวิจัยในปี 2563 ของกรมประมงสรุปไว้ว่า การแบ่งกลุ่มปลาหมอคางดำในประเทศไทย แบ่งได้เป็น 2-3 กลุ่มย่อย แต่ละกลุ่มย่อยมีความแตกต่างทางพันธุกรรมสูง โดยสรุป คือปลามีแหล่งที่มาจากหลายแหล่ง

งานวิจัยในปี 2565 ซึ่งใช้วิธีวิจัยที่แตกต่างกัน พบว่าปลาหมอคางดำในประเทศไทย สามารถแบ่งได้ถึงหลายกลุ่มย่อย และทุกกลุ่มย่อย “มีระยะห่างทางพันธุกรรมไม่ต่างกันมากนัก” จึงสรุปในเบื้องต้นว่าน่าจะมาจากแหล่งเดียวกัน แต่ในงานวิจัยชิ้นเดียวกันนี้กลับพบอีกว่า ระยะห่างทางพันธุกรรมไม่แปรผันตามระยะห่างทางภูมิศาสตร์

เนื่องจากปลาที่พบในจังหวัดเพชรบุรีกับจังหวัดสมุทรสงครามซึ่งมีพื้นที่ติดกัน กลับมีระยะห่างทางพันธุกรรมสูงสุด ในขณะที่ปลาที่พบในพื้นที่จังหวัดระยองซึ่งห่างไกลกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กลับมีระยะห่างทางพันธุกรรมใกล้กันมาก

จึงเป็นไปได้ว่าการกระจายตัวของปลาชนิดนี้ เกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์ การแพร่กระจายที่เกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์ เป็นไปได้หมดไม่ว่าเกิดจากการลักลอบเพาะเลี้ยง หรือการนำไปเป็นปลาเหยื่อ หรือเป็นอาหารให้กับปลาชนิดอื่น