9 แบบอย่างแนวปฏิบัติดี เกาะลันตา ส่งต่อการจัดการขยะมูลฝอยที่ยั่งยืน
เส้นทางการก้าวเดินของงานความร่วมมือและภารกิจปฏิบัติดีที่เกาะลันตา เกิดขึ้นจากกระบวนการเรียนรู้และปฏิบัติ (Learning-by-doing) ที่ได้ร่วมกันบ่มเพาะ ความคิด การหารือ การชักชวนกันทำตัวอย่างอย่างจริงจัง จนเป็นสารตั้งต้นของการปฏิบัติดี
เกิดการส่งต่อและขยายวงแนวปฏิบัติที่หลากหลาย และขยายความร่วมมือการจัดการขยะมูลฝอยที่กาะลันตากันต่อมา
กว่า 2 ปี ที่สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย หรือ TEI มีส่วนร่วม คลุกคลีทำงานกับภาคส่วนต่าง ๆ ภายใต้ดำเนินงานการศึกษาและพัฒนาโมเดลความร่วมมือห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) การจัดการมูลฝอยและพลาสติก ด้วยแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่เกาะลันตา เมื่อปลายปี 2564
ด้วยการสนับสนุนของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) และกลุ่ม PPP Plastics ในช่วงต้นปี 2565-2566 ทำให้ TEI ได้เรียนรู้ เกิดความเข้าใจในวิถีและพฤติกรรมการจัดการที่มีต่อปัญหาขยะของเกาะลันตา ว่ามีการคัดแยกขยะและวัสดุบางส่วน แต่ไม่ครอบคลุม จึงจัดการได้ยาก ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทวัสดุเหลือใช้
จึงต้องเพิ่มการเรียนรู้และลงมือสาธิตอย่างเข้มข้นในการจัดการต้นทาง เสริมระบบอำนวยความสะดวกกลางทาง ส่งต่อไปยังปลายทางที่ถูกต้อง นำใช้ประโยชน์ที่เหมาะสม ปรับเปลี่ยนวิถีการปฏิบัติบางเรื่อง เริ่มจากกิจกรรมที่ง่าย ร่วมทำด้วยกันได้ ไม่ฝืนวิถีมากไป
แต่ต้องสอดคล้องและสนับสนุนต่อการแก้ปัญหาการจัดการมูลฝอยและสิ่งแวดล้อมโดยรวมของพื้นที่ ยึดหลักข้อมูล ปริมาณและสัดส่วนขององค์ประกอบมูลฝอย เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับกำหนดเป้าหมาย ออกแบบลดปริมาณมูลฝอยและพลาสติกที่ต้นทาง เกิดบทเรียนและการเรียนรู้และการปฏิบัติ (Area Based) ร่วมกัน
วันนี้ จึงอยากจะบอกเล่าการทำงาน สะท้อนผลการก้าวย่างที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเรียนรู้และปฏิบัติในพื้นที่ ถึงผลความเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรม การแก้ไขปัญหา ลดปริมาณขยะที่ครัวเรือน ชุมชน หน่วยงาน โรงเรียน ท้องถิ่น เพื่อลดยังปัญหายังหลุมฝังกลบ กลับมาใช้และหมุนเวียนใช้ประโยชน์
ผ่านแนวปฏิบัติดี 9 แบบอย่าง เกาะลันตา เพื่อส่งต่อการจัดการขยะมูลฝอยที่ยั่งยืน
• การจัดทำฐานข้อมูลองค์ประกอบมูลฝอยของพื้นที่ มีความสำคัญต่อการจัดการและวางแผนบริหารจัดการต้นทาง กลางทาง และปลายทาง รวมถึงการออกแบบแนวปฏิบัติดี ที่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ร่วมสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมและการปฏิบัติให้เกิดผลรูปธรรม ตลอดจนเทียบผลการดำเนินทั้งก่อนและหลัง
• การส่งเสริมและสนับสนุนศูนย์ Lanta Plas Center ศูนย์ 1: ลันตาราช และศูนย์ 2: ต้นทัง สนับสนุนและส่งเสริมบทบาทโรงเรียนและชุมชนให้เป็นฐานในการจัดการและลดปริมาณมูลฝอย ริเริ่มคัดแยก รวบรวม นำวัสดุมาแปรรูปเป็นของใหม่
เช่น กระถางต้นไม้ ของที่ระลึก สร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการอัพไซคลิ่ง (Upcycling) ฝาพลาสติกเบอร์ 2, 5 เกิดความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ ในเกาะ คัดแยก รวบรวม และส่งต่อศูนย์ฯ หมุนเวียนนำไปใช้ประโยชน์ เพิ่มคุณค่า และมูลค่าจากพลาสติกในพื้นที่
• ชุมชน ท้องถิ่น ไร้ถุง ไร้ถัง ไร้หลุม การจัดการและลดมูลฝอยที่ต้นทาง แนวคิด “ไร้ถุง ไร้ถัง ไร้หลุม” ถูกนำมาปรับและประยุกต์ใช้สำหรับครัวเรือน ชุมชน ท้องถิ่น โรงเรียน และหน่วยงานในพื้นที่อำเภอเกาะลันตาในการจัดการมูลฝอยที่ต้นทางด้วยการจัดการตนเอง
เพื่อลดปริมาณขยะกำจัดยังหลุมฝังกลบ คัดแยกวัสดุที่ใช้ประโยชน์ได้ รวบรวมและส่งต่อการใช้ประโยชน์ไปยังผู้เกี่ยวข้อง และการจัดการขยะ (ใช้ไม่ได้ เป็นพิษ ติดเชื้อ) และกำจัดให้ถูกต้องตามเทคโนโลยีต่อไป และทำให้ถังขยะสาธารณะไม่มีความจำเป็น
• โรงพยาบาล ไร้ถุง ไร้ถัง มุ่งการจัดการตนเอง โรงพยาบาลอำเภอเกาะลันตา หน่วยบริการด้านสาธารณสุขที่มีความสำคัญของประชาชนในพื้นที่และถือเป็นอีกแหล่งกำเนิดมูลฝอยและขยะ แนวคิด “โรงพยาบาล ไร้ถุง ไร้ถัง” ถูกนำมาประยุกต์ใช้ขับเคลื่อนเพื่อแก้ปัญหาการจัดการมูลฝอยที่ต้นทางภายในโรงพยาบาล
เพื่อลดปริมาณขยะ ลดภาระ ของท้องถิ่น ในรูปแบบ Waste Station ด้วยการคัดแยกวัสดุที่ใช้ประโยชนได้ รวบรวมและส่งต่อใช้ประโยชน์ไปยังผู้เกี่ยวข้องและการจัดการขยะ (ใช้ไม่ได้ เป็นพิษ ติดเชื้อ) กำจัดให้ถูกต้องตามเทคโนโลยีต่อไป
• การรณรงค์คัดแยกมูลฝอยในงาน ด้วย Waste station การจัดงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ มักจะมีผู้คนมารวมตัวกันเป็นจำนวนมาก เกิดการบริโภคและอุปโภคตามมา การจัดให้มี Waste station เพื่อให้มีภาชนะรองรับวัสดุ แยกตามวัสดุที่คาดว่าจะเกิดขึ้น โดยไม่ทิ้งปะปนกัน แยก /ถัง / ถุง แต่ละประเภท เพื่อความสะดวกในการรวบรวมและนำไปจัดการแต่ละประเภทและง่ายต่อการรวบรวมข้อมูลปริมาณที่เกิดขึ้นและนำมาวางแผนการบริหารจัดการได้ด้วย
• การจับคู่ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเศษอาหาร ปริมาณมูลฝอยที่เกิดขึ้นกว่า 40 ตันต่อวัน ในจำนวนนั้นเป็นเศษอาหารราวร้อยละ 50 ได้ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและภาระค่าใช้จ่ายของท้องถิ่นทั้ง 6 แห่่ง ร่่วมกันแก้ไขปัญหาเศษอาหารที่เกิดขึ้นจำนวนมาก โดยร่วมกับร้านอาหาร ผู้ประกอบการที่พัก ตลาดสด ครัวเรือน
ด้วยการจับคู่ใช้ประโยชน์ระหว่างผู้ประกอบการร้านอาหาร โรงแรม ส่งเสริมให้เกิดการคัดแยก รวบรวมไปเป็นอาหารให้สัตว์ ลดต้นทุนปัจจัยการผลิตของเกษตรกรผู้้เลี้ยงเป็ดและไก่่ โดยมีข้อตกลงและกำหนดการปฏิบัติระหว่่างกัันในแต่ละวัน
• การส่งเสริมบทบาทผู้ประกอบการรับซื้อของเก่า หนึ่งในการพัฒนาและยกระดับกลุ่มผู้ประกอบการร้านรับซื้อของเก่ารายย่อย รวมทั้งกลุ่มซาเล้งในพื้นที่ ให้เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการจัดการวัสดุรีไซเคิลให้เกิดจัดการที่เป็นระบบ
ส่งเสริมความตระหนัก บทบาทและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาที่สอดคล้องกับนโยบายของอำเภอเกาะลันตา เพื่อเพิ่มมูลค่าในระบบห่วงโซ่การจัดการปลายทางกับภาคส่วนต่าง ๆ
• การส่งเสริมรณรงค์เก็บขยะชายหาดให้เป็นระบบและวิถี เกาะลันตาได้รับอิทธิพลจากมรสุมพัดผ่านปีละ 2 ครั้ง รวมถึงลมประจำถิ่นที่มีผลต่อปริมาณขยะทะเลที่เกยหาดต่าง ๆ เป็นปัญหาสะสมให้กับพื้นที่ มูลฝอยที่ถูกคลื่นและลมพัดพามา ไม่ได้รับการจัดการและมูลฝอยจากแหล่งกำจัดไม่เหมาะสม จะลงสู่แม่น้ำ คูคลอง และไหลออกสู่ทะเล ส่งผลกระทบต่อเกาะอื่นๆ
อำเภอเกาะลันตา สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวเกาะลันตา และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ จึงได้ร่วมกันรณรงค์ ประสานการจัดเก็บขยะชายหาดต่าง ๆ ให้เป็นแนวปฏิบัติที่ดีและเป็นวิถีร่วมกันในช่วง 2 เดือน ก่อนเปิดบ้านต้อนรับฤดูการท่องเที่ยวในปลายปีของเกาะ
• การสื่อสาร สร้างการรับรู้ และสร้างความตระหนัก การสื่อสารและการรับรู้มีความสำคัญและจำเป็นมาก เพราะการสื่อสารด้วยรูปแบบที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายจะมีส่วนช่วยให้เกิด Awareness หรือ การรับรู้ ที่จะทำให้ผู้เกี่ยวข้องเกิดการจดจำ และรับรู้ในระยะยาว
รวมถึงความเชื่อมั่นและโอกาสสร้างความร่วมมือระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้เกิดการปฏิบัติร่วมกัน สังเคราะห์ข้อมูล ทำแล้วต้องบอกต่อ ถ่ายทอดสู่สาธารณะ การสื่อสารอย่างง่าย ด้วยข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ปลูกให้เป็นกระแสและต่อเนื่อง
กระบวนการเรียนรู้้และปฏิบัติดี บทเรียนทั้ง 9 แนวทางการจัดการมูลฝอยและพลาสติิกในพื้นที่่อำเภอเกาะลัันตา ข้างต้น อาจไม่ใช่เรื่องใหม่และยากเกินจะดำเนินการได้
โดยเริ่มต้นกิจกรรมง่ายๆ และค่อยขยายความร่วมมือ สำคัญต้องมองเห็นปัญหาร่วมกัน ต้องช่วยกันทำ ช่วยกันส่งต่อเพื่อให้เกิดระบบการจัดการที่ครอบคลุมทั้งต้นทาง กลางทาง นำส่งไปจัดการและใช้ประโยชน์ยังปลายทางได้อย่างเหมาะสม
ภารกิจการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน ไม่ใช่เพียงใครคนใดคนหนึ่งจะทำได้โดยลำพัง ดังนั้น การริเริ่มแนวปฏิบัติที่ดี มีความเหมาะสมกับพื้นที่ จะเป็นตัวอย่างที่ดี ช่วยสร้างการรับรู้ จดจำ สู่การปฏิบัติมั่นใจได้เพียงพอ การขยายผลได้ไม่ยาก.