ไทยรับมือ 'โลกรวน' ตั้ง พรบ. โลกร้อน เตรียมปรับใช้
สภาพภูมิอากาศปัจจุบันทำให้โลกรวนด้วยก๊าซเรือนกระจกทำให้พายุรุนแรงมากขึ้น ทำให้มีความเสียหายเป็นวงกว้างต่อระบบเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม การรับมือเป็นเรื่องที่สำคัญที่จะลดความสูญเสีย
ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กล่าวในงาน Road To NET ZERO 2024 : The Extraordinary Green ในช่วง Action Green Transition จัดโดย ฐานเศรษฐกิจ ว่าการขับเคลื่อน Net zero ของไทย ในเรื่องของสภาพภูมิอากาศทำให้โลกรวนด้วยก๊าซเรือนกระจกทำให้พายุรุนแรงมากขึ้นอย่างพายุต่างๆเกิดขึ้นบ่อยๆกว่าที่ผ่านมา ทำให้มีความเสียหายเป็นวงกว้างต่อระบบเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม การรับมือเป็นเรื่องที่สำคัญที่จะลดความศูนย์เสีย ดังนั้นการเงินก็มีความสำคัญในการควบคุมอุณหภูมิใช้ไปแล้ว 83% ในการลดอุณหภูมิ เหลืออีก 17% ซึ่งจะถูกใช้หมดภายในปี 2030 ซึ่งไทยและ 179 ทั่วโลกนั้นต้องการจำกัดการเพิ่มของอุณหภูมิ
ประเทศไทยทำอะไรบ้างตอนนี้
เป้าหมายในไทยมีความท้าทายมากยิ่งขึ้น แผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (Thailand's National Adaptation Plan: NAP) โดยกรอบการดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่การมีภูมิคุ้มกัน และสามารถปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และให้ภาคส่วน ที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปเป็นแนวทางในการบูรณาการประเด็นด้านการปรับตัวฯ ในแผนและยุทธศาสตร์ในรายสาขา และในเชิงพื้นที่ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีภูมิคุ้มกัน และสามารถปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนมากขึ้น
โดยแผนการปรับตัวฯ ระดับโลกแบ่งเป็นดังนี้
- การเกษตร : รักษาไว้ซึ่งการผลิตอาหารและการเกษตรที่มีภูมิคุ้มกัน
- น้ำ : ลดความขาดแคลนน้ำที่เป็นผลจาก Climate Change
- ทรัพยากร : ลดผลกระทบต่อระบบนิเวศน์และความหลากหลายทางชีวภาพ
- สาธารณสุข : ลดผลกระทบต่อสุขภาพ ที่เป็นผลจาก Climate Change
- ตั้งถิ่นฐาน : เพิ่มภูมิคุ้มกันในการตั้งถิ่นฐาน
- ความมั่นคงของมนุษย์ : ลดความยากจนของมนุษย์
ทั้งหมดนี้ต้องสร้างภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในการพัฒนาประเทศเสริมสร้างศักยภาพและความตระหนักรู้ของภาคีการพัฒนาในทุกระดับ
นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายของ (ร่าง) พระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอาการ มีความสำคัญดังนี้
- สร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการพัฒนาประเทศสู่เศรษฐกิจสังคมคาร์บอนต่ำ และยั่งยืน
- สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย ต่อการลงทุนที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำและยั่งยืน
- พัฒนากลไก เครื่องมือในภาคบังคับและภาคสมัครใจให้ครอบคลุม และเพียงพอ ต่อการลดก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัว ฯ
- เพื่อพัฒนาระบบติดตามและประเมินผลการลดก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- พัฒนากลไกทางการเงินสนับสนุนการดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวฯ แก่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ในระดับนานาชาตินั้นไทยได้ให้ความสำคัญกับ COP 29 ที่กำลังจะมาถึงโดยมีประเด็นสำคัญใน COP 29 ในเรื่องของการเงิน (Climate Finance) พิจารณากำหนดเป้าหมายทางการเงินใหม่ เพื่อสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายความตกลงปารีสประมาณ 1.1-1.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ยังมีในอีกหลายด้านดังนี้
Global Stocktake (G51)
- เชื่อมโยงผลการทบทวนสถานการณ์และการดำเนินงานระดับโลก ไปสู่การยกระดับเป้าหมาย NDC 2035 ที่สอดคล้องกับแนวทาง 1.5 °C
Technology
- บูรณาการกลไกการสนับสนุนทางเทคโนโลยี และกลไกทางการเงิน เพื่อเสริมสร้างภาพประเทศกำลังพัฒนา
การปรับต้วฯ (Adaptation)
- หารือการกำหนดตัวชี้วัดของเป้าหมายการปรับตัวฯ ระดับโลก และกระจายสู่ระดับภูมิภาคและระดับพื้นที่
Loss and Damage
- หารือรายละเอียดการดำเนินงานของกองทุนเพื่อการสูญเสียและความเสียหาย ครอบคลุมทั้ง Rapid และ onset ที่ส่งผลกระทบในทุกมิติที่จะทำให้โลกมีความยั่งยืนมากขึ้น