นฤมล สั่งตั้งบอร์ดขับเคลื่อนEUDR ดึงอียูที่ปรึกษาตั้งรับการค้ายั่งยืน

นฤมล สั่งตั้งบอร์ดขับเคลื่อนEUDR ดึงอียูที่ปรึกษาตั้งรับการค้ายั่งยืน

“นฤมล” เร่งตั้งบอร์ดระดับชาติขับเคลื่อน EUDR หวั่นกระทบส่งออก ดึงอียู เป็นที่ปรึกษา แก้กฎหมายดันส่งออกสินค้าสินค้าเกษตรอันดับ1

นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าได้สั่งการให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ( สศก.) ยกร่างองค์ประกอบคณะกรรมการระดับชาติเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสินค้าไทยปลอดการตัดไม้ทำลายป่า ( EU Deforestation Regulation ) หรือ EUDR ยกระดับ 7 สินค้าด้านการเกษตร ที่ส่งออกไปตลาดสหภาพยุโรป (อียู) ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน วัว ไม้ กาแฟ โกโก้ ถั่วเหลือง ซึ่งทั้งหมดรวมถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสินค้าเหล่านี้ เมื่อ EUDR มีผลบังคับใช้ในปี 2568

นฤมล สั่งตั้งบอร์ดขับเคลื่อนEUDR ดึงอียูที่ปรึกษาตั้งรับการค้ายั่งยืน

 ทั้งนี้สหภาพยุโรป(อียู) เป็นผู้เริ่มนำมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมมาผนวกกับการค้าระหว่างประเทศ เช่น มาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (CBAM) ซึ่งสร้างแรงสั่นสะเทือนแก่ภาคธุรกิจทั่วโลกรวมทั้งไทยอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา สำหรับ EUDR หากไม่มีการเตรียมรับมืออาจส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการไทยด้วยเช่นกัน

 

ดังนั้นเรื่องนี้กระทรวงเกษตรฯต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพราะ EUDR จะประกาศใช้ในปี 2568 หากเตรียมตัวให้พร้อมรับมือ EUDR มีอาจส่งออกไทยครองส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นเบอร์หนึ่ง 1 ของโลกในเรื่องสินค้าเกษตรโลก โดยเฉพาะยาง EUDR

นฤมล สั่งตั้งบอร์ดขับเคลื่อนEUDR ดึงอียูที่ปรึกษาตั้งรับการค้ายั่งยืน

“EUDR คือกฎระเบียบของคู่ค้าที่ไทยต้องปฏิบัติ หาก สศก.ร่างองค์ประกอบคณะกรรมการระดับชาติแล้ว ให้นำเสนอ รัฐมนตรีว่าการ ก่อนนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป ซึ่งขั้นตอนอาจต้องมีการหรือกับ EU และรอรับการสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญมาเป็นที่ปรึกษา และไทยอาจต้องปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ระเบียบที่เป็นอุปสรรคในการรับมือ ระเบียบการค้าที่ EU จะประกาศใช้ เพราะในแต่ละปีไทยส่งออก 7 สินค้าที่เข้าเกณฑ์ติดระเบียบ EUDR หลายหมื่นล้านโดยปี 2566 ไทยส่งออกทั้งสิ้น 1,850 ล้านดอลลาร์ โดยยางพาราและผลิตภัณฑ์เป็นอันดับ 1”

นางนฤมล กล่าวว่า หากรัฐและเอกชนไทยไม่เร่งเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือ อาจส่งผลกระทบในเชิงลบผู้ผลิตและผู้ส่งออกต้องเผชิญกับต้นทุนที่สูงขึ้น ผู้ประกอบการรายย่อยอาจสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน และไทยอาจค่อยค่อยหลุดจากห่วงโซ่อุปทานของโลกได้ แต่หากไทยมีความพร้อมรับการตรวจสอบตามระเบียบ EUDR มากกว่าประเทศคู่แข่ง จะเป็นแนวการยกระดับการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน จากการบังคับใช้กฎหมายไม่ว่าจะเป็นกฎหมายที่ดิน แรงงาน สิทธิมนุษยชน และสิ่งแวดล้อม

 

อย่างไรก็ตาม สำหรับระยะบังคับใช้กฎหมาย EUDR มีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2566 แต่ EU ได้กำหนดระยะเวลาเปลี่ยนผ่านอีก 18 เดือนจนกว่าจะเริ่มนำกฎหมายมาสู่การปฎิบัติ สำหรับผู้ประกอบการรายใหญ่ในวันที่ 30 ธ.ค. 2567 และจะนำมาใช้กับกลุ่มกลุ่มผู้ผลิตผู้นำเข้าและผู้ส่งออกรายย่อยในวันที่ 30 มิ.ย. 2568