‘ก้าวสำคัญของไทย’ ขึ้นเวที COP29 แสดงศักยภาพแก้วิกฤติสภาพอากาศสู่สายตาโลก
ความยั่งยืนในไทยจะประสบความสำเสร็จได้ต้องมีความร่วมมือทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ cop 29 ถือเป็นการยกระดับความยั่งยืนในไทย ให้เข้าใกล้คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์มากขึ้น
ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย กล่าวคำแถลงในประชุมระดับสูง (Resumed high-level segment) ในห้วงการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 29 (COP29) ว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อประเทศไทยเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศที่ร้อนจัดและน้ำท่วมสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประเทศไทยรวมถึงการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพทำให้ ประเทศไทยจำเป็นต้องลดการใช้พลังงานและส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน
การดำเนินการเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประเทศไทยตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากทุกภาคส่วนของการพัฒนาเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นการเร่งดำเนินการบรรจุ NDC (Nationally Determined Contribution) เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการลงทุนสีเขียวเพื่อรองรับการประชุมเอเปค และเร่งดำเนินการปลูกป่าไม้ 100 ล้านต้น
ทั้งนี้ยังมีการจัดการน้ำการเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร ไม่ว่าจะเป็นการจัดการน้ำการเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร การท่องเที่ยว การรักษาสุขภาพ การจัดการซับซ้อนธรรมชาติ การตั้งถิ่นฐานและความมั่นคงของมนุษย์
ในการประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในครั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการเงินใหม่ รวมถึงกำหนดแนวทางการลงทุนเพื่อลดการสูญเสียและความเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอีกด้วย
นอกจากนี้ไทยยังได้มีเป้าหมายเพื่อความยั่งยืนดังนี้
1. การจัดการเป้าหมายทางการเงินครั้งใหม่ (New Collective Quantified Goal: NCQG)
2.การจัดทำ NDC 3.0 หรือเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก ในปี ค.ศ. 2035
3.ความสูญเสียและความเสียหาย
4.ความชัดเจนของตัวชี้วัด (Indicators) ด้านปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
5. ความร่วมมือภายใต้กลไกข้อ
6 ข้อของความตกลงปารีส เพื่อเสริมสร้างความยั่งยืน ให้กับประเทศไทยทั้งในปัจุบันและอนาคตต่อไป