เกาะติดการประชุม COP29 'ไทยได้อะไรจากการประชุมครั้งนี้บ้าง'
การบรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศ ให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับทุกประเทศทั่วโลก ในส่วนของไทยมีเป้าหมายที่ชัดเจน และให้ความสำคัญกับการได้รับเงินสนับสนุนจากต่างประเทศ เพื่อใช้ในแผนงานต่อสู้กับภาวะโลกร้อนได้มีประสิทธิภาพ
ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ ‘กรุงเทพธุรกิจ’ ระหว่างการประชุม COP29 ณ บากูประเทศ ประเทศอาเซอร์ไบจาน ว่า ประเทศไทยตั้งเป้าลดการเรือนกระจกในปี 2573 ให้ได้ 3.4% และเตรียมความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีหน่วยงานและเป้าหมายที่ชัดเจน
รวมถึงติดตามผลการดำเนินงานการลดก๊าซเรือนกระจกจากภาคอุตสาหกรรมภาคการเกษตรรวมถึงของเสียต่างๆ ซึ่งตัวเลขอยู่ที่ 65 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ในปี 2565 ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่ประเทศไทยกำหนดไว้
นอกจากนี้รัฐบาลไทยได้รับเงินสนับสนุนจากโครงการสีเขียวเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากกองทุนภูมิอากาศสีเขียว (Green Climate Fund: GCF) จัดสัดส่วนการเงินให้กับที่ประเทศที่กำลังพัฒนา โดยเงินสนับสนุนแบ่งเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่
- เงินสำหรับเตรียมความพร้อมของประเทศ
- เงินสำหรับการดำเนินโครงการต่างๆ
โดยรัฐบาลไทยได้รับเงินสนับสนุนทั้งหมด 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นเงินให้เปล่า สามารถดำเนินการโครงการต่างๆ ได้ 8-9 โครงการ เงินที่ได้มาสามารถนั้นจะมาพัฒนาขีดความสามารถ ในการทำแผนของประเทศไทย
เพื่อดูว่าต้องการเงินสนับสนุนอะไรบ้าง รวมถึงสร้างขีดความสามารถกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำเสนอโครงการเพื่อของเงินสนับสนุน และสร้างเครื่องมือกลไก ในการศึกษาทางเทคนิคเพื่อเตรียมเรื่องของ พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
และมีการจัดสรรปรับเปลี่ยนงบประมาณสำหรับการพัฒนาประเทศกำลังพัฒนาอย่างไทย เดิมทีไทยได้รับงบประมาณ 7 ล้านบาทต่อปี แต่กำลังมีการปรับเปลี่ยนให้ได้รับงบประมาณทุก 4 ปี ในปี 2025 จะได้รับงบประมาณ 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นเงินเตรียมความพร้อม
ในส่วนของเงินสนับสนุนการทำโครงการ ประเทศไทยได้เงินมา 2 โครงการเป็นเงินให้เปล่าทั้งคู่ ได้แก่
- โครงการ สร้างภูมิคุ้มกันและการจัดการน้ำและการเกษตร โดยได้จัดสรรงบประมาณเพื่อการเตรียมความพร้อมด้านการเกษตรและการจัดการน้ำในภาคเหนื่อตอนล่างซึ่งได้งบประมาณ 16 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ
- โครงการที่ 2 ปลูกข้าวลดโลกร้อน ระบบ ฟาร์มอัจฉริยะ ได้งบประมาณ 43 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยทำงานร่วมกับ GIZ ซึ่งรัฐบาลได้ร่วมมือกับองค์กรต่างๆ เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการเกษตรอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ยังมีการเตรียมการบริหารจัดการงบประมาณ 4 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เพื่อศึกษาและปรับตัวการจัดการน้ำท่วมและภัยแล้งที่เชื่อมโยงกับความเสี่ยง ประมาณ 7 แสนดอลล่าร์สหรัฐ ก็จะเหลือ 3 ล้านกว่าดอลล่าร์สหรัฐซึ่งต้องบริหารจัดการให้เหมาะสมกับระยะเวลา 4 ปี
ในปัจจุบันกองทุนอากาศสีเขียวมีเงินอยู่ 3,600 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเงินเหล่านี้จะถูกใช้กับประเทศที่กำลังพัฒนา แต่การประชุม COP29 นั้นพูดถึงเป้าหมายทางการเงินใหม่ ที่จะกำหนดให้ประเทศพัฒนาแล้ว มีส่วนร่วมในการช่วยประเทศที่กำลังพัฒนาโดยมีการกำหนดวงเงิน ตั้งแต่ 1 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อไปไปจนถึง 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อไป ในส่วนของการระดมเงินทุนจะเริ่มตั้งแต่ปี 2568-2569 ไปจบในปี 2573 ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงหารือ
ในส่วนของเครื่องมือทางการเงินนั้นจะเป็น 4 ส่วนคือ
- เงินให้เปล่า
- เงินกู้เงื่อนไขการผ่อนสูง
- ตราสารหนี้
- ธนาบัตร
ซึ่งเงินเหล่านี้จะช่วยให้ไทยขับเคลื่อนเป้าหมาย NDC โดยแบ่งเป็นสิ่งที่ประเทศทำเองได้ 3.4% และสิ่งที่ต้องการความช่วยเหลือจากต่างประเทศ อีก 6.7% และต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนเพื่อขอรับเงินสนับสนุนจากต่างประเทศ
ทั้งนี้ความร่วมมือระหว่างไทยกับญี่ปุ่น หารือแนวทางความร่วมมือระหว่างไทยกับญี่ปุ่นเตรียมนำระบบการแจ้งเตือนล่วงหน้า ระบบดาวเทียมที่ใช้ก๊าซมาช่วยยกระดับการรายงาน และเร่งรัดการซื้อขายและเครดิตระหว่างสองประเทศ
ทั้งหมดนี้ เป็นความคืบหน้าในการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทยโดยมีเป้าหมายที่สำคัญรวมถึงการเงินเพื่อความยั่งยืนที่จะสนับสนุนให้ไทยนั้นเข้าสู่คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ได้เร็วมากขึ้น